วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Skincare Basic 10.1

Moisturizers Revealed!!!

ปัจจุบันมี Moisturizers ออกวางขายอย่างมากมาย บ้างก็โฆษณาว่าช่วยลดเลือนริ้วรอย มีสารสกัดสุดหายาก มีความพิเศษไม่เหมือนใคร เมื่อผสมเข้ากับคำโฆษณา กลยุทธ์ทางการตลาด ทำให้เกิดความสับสนกับผู้บริโภค... สรุปแล้วทุกคนจำเป็นต้องใช้ Moisturizers รึไม่? Moisturizers ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร แล้ว Moisturizers ที่เหมาะกับ สภาพผิวจริง ๆ ต้องมีลักษณะแบบไหน? Moisturizers ช่วยเติมน้ำได้ลึกถึงผิวชั้นในได้จริงหรือ?




เพื่อที่จะตอบคำถามที่เกิดขึ้นในใจเหล่านี้ เราต้องย้อนกลับไป Basic เพื่อทำความเข้าใจว่าผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้อย่างไร? และเรียนรู้เรื่องพื้นฐานการทำงานของ Moisturizers กันก่อนดีกว่า


“ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นไปได้อย่าไร?”


ถ้าจะอธิบายเรื่องนี้ก็ต้องเท้าความถึงผิวชั้นขี้ไคลหรือ Stratum Corneum ซึ่งเป็นชั้นของเซลล์ผิวเสื่อมสภาพที่ยึดเกาะกันเป็นเกราะป้องกันผิวจากสิ่งภายนอกและช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว

ผิวชั้น Stratum Corneum ที่มีสภาพปกติจะมีกลุ่มของสารที่เรียกว่า Intercellular Matrix ซึ่งประกอบไปด้วยสารที่เป็นน้ำมัน (Lipid) และสารที่ละลายน้ำ อาธิเช่น Ceramides, Cholesterol, Fatty Acids (Linoleic Acid, Triglycerides, Glycerin, Phospholipids, Lecithin), Glycosaminoglycans (Hyaluronic Acid, Sodium PCA) เป็นเสมือนเกราะปกป้องผิวและเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้

เมื่อชั้น Intercellular Matrix ถูกทำร้ายให้เสียหาย ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจาก แสงแดด มลภาวะ ความชื้นในอากาศน้อย หรือการใช้เครื่องสำอางที่ก่อการระคายเคืองผิว (อย่างสบู่ก้อน หรือ Toner ที่ผสม Alcohol) เซลล์ผิวก็จะสูญเสียสิ่งที่ยึดเหนี่ยวส่งผลให้เซลล์ผิวเรียงกันไม่เป็นระเบียบไม่เรียบเนียนและลอกเป็นขุย ผิวจึงสูญเสียความสามารถในการเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้ในผิว

Moisturizers คืออะไร และ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?


คำว่า “Moisturizers” แปลตรงตัวก็คือ “ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้น” แต่หลักการทำงานจริง ๆ ของมันนั้นไม่ได้ให้ความชุ่มชื้นโดยตรงแต่จะ “เคลือบผิวเอาไว้เพื่อลดการสูญเสียน้ำของผิว” เมื่ออัตราการสูญเสียน้ำของผิวลดลง ผิวก็จะมีความชุ่มชื้นมากขึ้นนั่นเอง

องค์ประกอบหลัก ๆ ของ Moisturizers มีอยู่ 4 ส่วนก็คือ

1. Occlusives

แปลสรุปความหมายได้ประมาณว่า “สารเคลือบผิว” Occlusives เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวด้วยการเคลือบปิดผิวชั้น Stratum Corneum เพื่อลดหรือชะลอการระเหยของน้ำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติของ Occlusives สูงสุด เราจึงควรทามอยซ์เจอไรเซอร์ขณะที่ผิวยังมีเปียกหรือมีความชื้นอยู่เพื่อเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้

ตัวอย่างสารที่มีคุณสมบัติเป็น Occlusives ซึ่งพบได้บ่อยในเครื่องสำอางมีดังนี้





2. Emolients

แปลสรุปความหมายได้ประมาณว่า “สารทำให้ลื่นผิว / สารเติมเต็มผิว” Emolients ทำหน้าที่ไปเติมเต็มช่องว่างของผิวที่เกิดขึ้นจากแห้งลอก ผลคือทำให้ผิวชั้นขี้ไคล (Stratum Corneum) นุ่ม ลื่น ขึ้นทันทีที่ใช้

ตัวอย่างสารที่มีคุณสมบัติเป็น Emolients ซึ่งพบได้บ่อยในเครื่องสำอางมีดังนี้

 







3. Humectants

แปลสรุปความหมายได้ประมาณว่า “สารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น” Humectants จะช่วยอุ้มน้ำและดึงน้ำจากชั้น Dermis (ชั้นหนังแท้) ขึ้นไปสู่ชั้น Epidermis (ชั้นหนังกำพร้าหรือผิวชั้นนอกนี่แหล่ะ) ผลที่ได้ก็คือผิวชั้นนอกของเรามีความชุ่มชื้นมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อความชื้นในอากาศมากกว่า 70% ขึ้นไป สารพวก Humectants จะทำการดึงความชื้นในอากาศเข้ามาสู่ผิวชั้น Epidermis ด้วย

ในวงการเครื่องสำอาง บ่อยครั้งที่ Humectants จะถูกใช้แทนด้วยคำว่า Natural Moisutrizing Factor (NMF) หรือ Water-Binding Agent

ตัวอย่างสารที่มีคุณสมบัติเป็น Humectants ซึ่งพบได้บ่อยในเครื่องสำอางมีดังนี้





Tips : ถ้าสังเกตุดูดี ๆ จะพบว่า สารบางตัวมีคุณสมบัติได้หลายอย่าง เช่น Propylene Glycol นั้นเป็นได้ทั้ง Occlusives, Emolients และ Humectants ในหนึ่งเดียว

4. Miscellaneous Additives

แปลสรุปความหมายได้ประมาณว่า “สารเติมแต่ง” เพื่อเสริมคุณสมบัติต่าง ๆ ให้กับ Moisturizers อย่างเช่น น้ำหอม, สี, สารกันเสีย, สารสกัดจากพืช, วิตามิน และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มอายุการเก็บรักษา หรือเพิ่มความน่าสนใจ ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ถูกใจของตลาด

ตัวอย่างสารที่มีคุณสมบัติเป็น Miscellaneous Additives ซึ่งพบได้บ่อยในเครื่องสำอางมีดังนี้


(รูปจาก http://dermatology.about.com)



สรุป

Moisturizers ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผิวชั้นที่สองของเราโดยก่อชั้นฟิล์มบาง ๆ เคลือบปกป้องผิวเอาไว้เพื่อลดการระเหยของน้ำควบคู่ไปกับส่วนผสมที่ช่วยอุ้มน้ำและดึงน้ำเข้าสู่ผิวชั้นนอกทำให้ผิวชุ่มชื้น นอกจากนี้ยังทำให้ผิวชั้นนอกที่เสียหายมีเวลาที่จะเยียวยาซ่อมซ่อมแซมตัวเองได้

ส่วนจะมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ ยังไงก็ขึ้นอยู่กับว่าจะใส่ Additives อะไรมา บ้างก็ใส่สีและน้ำหอมเพื่อให้กลิ่นและรูปลักษณ์น่าใช้ (แต่ไม่มีประโยชน์ในการบำรุงผิว แถมกระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองและแพ้ได้) บ้างก็ใส่พวกสารที่ให้ผลทางคอสเมติคอย่างทำให้ผิวเรียบลื่นหรือช่วยสะท้อนแสงให้ผิวดูกระจ่างขึ้นในทันที (แต่ล้างออกก็หลุดหมดแล้ว) ดีที่สุดคือใส่สารบำรุงพวกแอนติออกซิแดนท์ สารต้านการระคายเคือง และ Natural Moisutrizing Factor (NMF) (ซึ่งส่งผลดีกับผิวในระยะยาว)

ยังมีหลายคนที่ยึดติดว่ามอยซ์เจอไรเซอร์ต้องอยู่ในรูปแบบของ Gel, Cream, Lotion หรือ Balm แต่จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์ที่เหลวเป็นน้ำอย่าง Toner หรือมีเนื้อบางเบาอย่าง Serum ก็สามารถเป็น Moisturizers ชนิดบางเบาได้ ซึ่งเหมาะกับผิวมันหรือเป็นสิวง่ายที่ไม่ต้องการความเหนอะหนะจากสารจำพวก Occlusives Emolients ที่มีอยู่เยอะในเนื้อผลิตภัณฑ์แบบ Cream, Lotion หรือ Balm




มี Moisturizers ที่ช่วย “เติมน้ำ” ให้กับผิวได้ลึกถึงผิวชั้นในได้จริงหรือ?




ผิวของเราไม่ได้ประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่อย่างที่บางคนเข้าใจผิดกัน... ผิวชั้น stratum corneum ที่มีสุขภาพดีจะมีความชื้นอยู่เพียง 30% เท่านั้น ส่วนผิวชั้นในจะได้รับน้ำและพลังงานจากภายในร่างกายอยู่แล้ว (นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ) และอย่าลืมว่าผิวขาดความชุ่มชื้นเพราะว่าผิวชั้นนอกไม่มีประสิทธิภาพในการเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้ การทำงานของ Moisturizers ทุกชนิดจะเน้นไปที่ผิวชั้นนอก (Epidermis) โดยจะไปช่วยเคลือบผิวชั้น Stratum Corneum ให้สามารถเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้ได้


ผิวชั้นนอกของเรานั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นปราการปกป้องร่างกายจากปัจจัยต่าง ๆ ภายนอก ไล่ตั้งแต่ขนาดใหญ่อย่างฝุ่นละออง ไปจนถึงขนาดที่เล็กมาก ๆ อย่างแบคทีเรีย รวมไปถึง “น้ำ” ไม่ให้สามารถแทรกซึมเข้าไปสู่ผิวหนังชั้นในได้


การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแห้งได้จริงหรือ?




อย่างที่ได้ทราบมาแล้วว่าผิวแห้งเกิดขึ้นจากการที่ชั้นเคลือบปกป้องผิวนั้นเสียหายจึงไม่สามารถเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้ได้ ถึงแม้ว่าผิวจะมีกลไกในการดึงน้ำจากเซลล์ที่อยู่ลึกลงไปขึ้นมา แต่หากผิวชั้นนอกไม่สามารถเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้ได้ก็ไม่มีประโยชน์

การดื่มน้ำมาก ๆ แต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาผิวแห้งได้ แต่ต้องทำควบคู่ไปกับการใช้มอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อช่วยเคลือบปกป้องผิวและเก็บกักความชุ่มชื้น รวมถึงหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะไปทำลายชั้น Intercellular Matrix ด้วย


ผิวแห้ง (Dry Skin) กับ ผิวขาดความชุ่มชื้น (Dehydrated Skin) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?





“ผิวแห้ง” กับ “ผิวขาดน้ำ” นั้นไม่เหมือนกันแต่มีความเกี่ยวข้องกัน

“ผิวแห้ง” (Dry Skin) เกิดจากการที่ผิวขาดน้ำมัน (lipid) มาเคลือบผิว ซึ่งมาได้จากหลายสาเหตุ เช่นพันธุกรรม (ผิวแห้งแต่กำเนิด) โรคผิวหนัง และการเผชิญปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำลาย Intercellular Matrix ส่งผลให้ผิว “แห้ง” “ลอก” และมีประสิทธิภาพในการเก็บกักความชุ่มชื้นได้ลดลง ส่งผลให้ผิวขาดความชุ่มชื้น (Dehydrated Skin)


“ผิวขาดความชุ่มชื้น” (Dehydrated Skin) ที่ส่วนใหญ่จะพูดกันว่า “ผิวขาดนั้น” นั้นก็คือการที่ผิวชั้น Stratum Corneum มีความชุ่มชื้นต่ำซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดน้ำจนส่งผลมาถึงผิวชั้นนอก (เพราะปกติผิวจะดึงน้ำจากผิวชั้นในขึ้นมาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวชั้นนอก) รวมถึงการที่ผิวชั้นนอกแห้งกร้านจนไม่สามารถเก็บกักความชุ่มชื้นได้ นอกจากนี้สภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำก็จะดึงน้ำออกจากผิวออกไป และการอาบน้ำเป็นเวลานานก็ทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้นไปได้เหมือนกัน


“มีผิวมันแต่ดันขาดน้ำ” ซวยซ้ำซวยซ้อนหรือเพราะทำตัวเอง?



ปกติแล้วคนผิวมันจะไม่ประสบปัญหาเรื่องขาดความชุ่มชื้นเลย เพราะมีน้ำมันช่วยเคลือบผิวในปริมาณที่เรียกได้ว่า “เกินความจำเป็น” แต่เหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผิวมันเยิ้มแต่รู้สึกว่าขาดความชุ่มชื้นนั้น สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการดูแลผิวอย่างผิดวิธี

ผู้ที่มีผิวมันเยิ้มมักจะสรรหาทุกวิธีมาขจัดหรือลดความเงามันบนใบหน้าให้ออกไป และบริษัทเครื่องสำอางก็ได้ออกสินค้าต่าง ๆ มาตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นสบู่หรือ Cleanser ที่ทำความสะอาดมากเกินไป หรือ Toner ที่มีส่วนผสมของ Alcohol ในปริมาณสูง

Cleanser หรือสบู่ที่มีสารทำความสะอาดรุนแรงเกินไปจะทำขจัดน้ำมันทั้งส่วนที่จำเป็นและเกินความจำเป็นออกจนหมด ส่วนผสมแอลกอฮอล์ใน Toner ที่บางแบรนด์พยายามหลอกลวงผู้บริโภคว่าเป็นแอลกอฮอล์ที่อ่อนโยนกับผิวและช่วยขจัดเพียงน้ำมันส่วนเกินบนใบหน้าเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ว่าเป็น Alcohol แบบใด จะเป็น Ethanol, Alcohol Denat. หรือ SD Alcohol ต่างก็ทำลายชั้น Intercellular Matrix และพรากความชุ่มชื้นออกไปจากผิวไปพร้อมกันในขณะที่แอลกอฮอล์ระเหยออกไป (พร้อมทั้งก่ออนุมูลอิสระด้วย)

เมื่อความมันถูกชะออกไปมากเกินความจำเป็น ผิวก็จะผลิตน้ำมันออกมามากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำมันที่ถูกขจัดออกไป ในขณะเดียวกันผิวก็สูญเสียความสามารถในการเก็บกักความชุ่มชื้นไปเนื่องจากชั้น Intercellular Matrix ที่คอยปกป้องผิวถูกทำลายไปแล้ว

ถ้าเรากลับดูแลผิวอย่างถูกวิธีและอ่อนโยน หลีกเลี่ยง Skincare ที่มีสารก่อการระคายเคือง และใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมเพิ่มความชุ่มชื้นแต่ไม่เพิ่มความมันบนผิวอย่าง Hyaluronic Acid หรือ Sodium PCA ก็จะช่วยแก้ปัญหาผิวขาดความชุ่มชื้นได้โดยไม่ต้องเพิ่มความมันให้กับผิว



ทุกคนจำเป็นต้องใช้ Moisturizers รึเปล่า?



ตามหลักการแล้ว Moisturizers ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน (โดยเฉพาะ Moisturizers แบบ โลชั่น ครีม หรือ บาล์ม) เพราะไม่ใช่ทุกคนจะขาดความชุ่มชื้นหรือขาดน้ำมันที่ช่วยเคลือบผิว

บริษัทเครื่องสำอางพยายามทำให้ผู้บริโภคคิดว่า “ทุกคนจำเป็นต้องใช้ Moisturizers” ไม่ว่าจะมีผิวแห้งหรือมันเยิ้มก็ตาม บางทีถึงขนาดให้ใช้ Moisturizers ของชุดพื้นฐาน และไปใช้ Moisturizers บำรุงเพิ่มเติมเข้าไปอีก แต่ในความเป็นจริงแล้วการทา Moisturizers ที่ไม่เหมาะกับผิว ใช้ซ้ำซ้อน หรือมากเกินไปจะก่อผลเสียมากกว่าผลดี

ผู้ที่มีผิวแห้งนั้นจำเป็นต้องใช้ Moisturizers อย่าง Lotion, Cream หรือ Balm เพื่อช่วยทดแทนน้ำมันเคลือบผิวตามธรรมชาติที่หายไป ถ้ามีผิวธรรมดาหรือผิวมัน ปริมาณน้ำมันบนผิวก็มีมากพอ (หรือเกินพอ) อยู่แล้ว การใช้ Moisturizers จึงเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็น…

แต่ Moisturizers ปัจจุบันใช่แต่จะเคลือบผิวหรือเพิ่มความชุ่มชื้นเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันมีเทคโนโลยีซิลิโคนที่ช่วยให้ Moisturizers สมัยใหม่สามารถมีเนื้อบางเบา และอาจมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยดูดซับความมันส่วนเกิน หรือทำให้ผิวหน้าดูไม่มันเยิ้มซึ่งเป็นผลทางคอสเมติคชั่วคราว จึงทำให้ผิวมันมีทางเลือกมากขึ้นในการบำรุงผิว




Moisturizers สำหรับผิวรอบดวงตา หรือ Eye Cream นั้นจำเป็นหรือไม่?


บรรดาแบรนด์เครื่องสำอาง ผู้เชี่ยวชาญความงาม หรือ Guru บางคนจะบอกคุณว่า Eye Cream เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะมีความอ่อนโยน มีส่วนผสมที่ดูแลผิวรอบดวงตาเป็นพิเศษหรือจะช่วยขจัดรอยคล้ำหรือลดถุงใต้ตาได้อะไรก็ว่ากันไป... แต่กระผมจะขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน อย่างหนักแน่นว่า Eye Cream เป็นสิ่งที่ไร้สาระและทำคุณเสียเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น!!!

คุณอาจจะคิดว่าได้ทำอะไรพิเศษ ๆ ให้แก่ผิวรอบดวงตาด้วยการใช้ Eye Cream แต่ด้วยความเป็นจริงที่ว่า ส่วนผสมของ Face Cream กับ Eye Cream ไม่มีความแตกต่างกันเลย (นอกจากขนาดและราคา) แล้วก็ไม่มีผลการวิจัยไหน ๆ ด้วย ที่สามารถพิสูจน์ว่า ครีมบำรุงรอบดวงตาจะพิเศษต่อผิวบริเวณนั้นแตกต่างจากครีมบำรุงผิวหน้า

ถ้าบอกว่าผิวรอบดวงตานั้นบอบบางจึงต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารก่อการระคายเคือง กระผมเห็นด้วย 100% และก็อยากบอกว่า ผิวส่วนอื่นบนใบหน้าก็สมควรจะได้ใช้ผลิตภัณฑ์อ่อนโยนและปราศจากสารก่อการระคายเคืองเช่นเดียวกับผิวรอบดวงตา รังสี UV ก็เป็นอีกสิ่งที่ทำอันตรายต่อผิวทุกส่วนรวมถึงผิวรอบดวงตาด้วย แต่ 95% ของ Eye Cream ที่ขายอยู่ในท้องตลาดนั้น “ไม่มีสารกันแดด!!!”

นอกจากนี้ปัจจุบันยังไม่มีส่วนผสมตัวใดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยขับไล่แพนด้าออกจากใต้ตาออกไปได้ (นอกจากจะพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ใช้สายตาอย่างหนัก และไม่ขยี้ตาหรือทำให้เกิดการระคายเคือง) และถ้าต้องการขจัดถุงใต้ตาก็ควรควรเสียเงินให้แพทย์ผ่าตัดเอาไขมันส่วนเกินใต้ตาออกดีกว่าจะเอาเงินมาทิ้งกับ Eye Cream เพราะการทา Moisturizers ลงไปบนผิวไม่สามารถขจัดไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ใต้ผิวได้

กรณีเดียวที่เราต้องการ Moisturizers เป็นพิเศษสำหรับรอบดวงตา ก็คือ “การมีผิวมัน” Moisturizers เนื้อบางเบาคงไม่เหมาะกับผิวรอบดวงตาที่แห้งเนื่องจากไม่มีต่อมน้ำมัน เราจึงต้องหา Moisturizers ที่มีเนื้อเข้มข้นมากพอที่จะช่วยเคลือบผิวรอบดวงตา (แต่ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ Eye Cream อยู่ดี หาซื้อ Face Cream ที่มีส่วนผสมอ่อนโยนใช้แทนก็ได้)

ถ้าการใช้ Eye Cream จะทำให้คุณสบายใจกว่า ก็แนะนำว่าควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการระคายเคืองอย่างแท้จริงจะดีที่สุด (ไม่งั้นอาจจะต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะตาระคายเคือง)




Day Moisturizers VS. Night Moisturizers



สิ่งเดียวที่ทำให้ Day Moisturizers แตกต่างจาก Night Moisturizers นั่นคือ Day Moisturizers ควรจะมีส่วนผสมของสารกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป และต้องปกป้องผิวได้ครบทั้ง UVA/UVB ด้วย...

คำพูดไร้สาระที่บริษัทเครื่องสำอางหรือ BA มักจะพูดกรอกหูคุณก็คือ “ผิวต้องการสารบำรุงที่ต่างกันในตอนกลางวันและกลางคืน...” ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่สามารถหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ได้

ไม่มีเอกสารใดระบุได้ว่าส่วนผสมในเครื่องสำอางตัวใดควรจะอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กลางวัน ตัวไหนที่ควรจะอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ในตอนกลางคืน (นอกจากสารกันแดด ที่ตามตรรกะแล้วควรจะอยู่แต่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตอนกลางวัน)

ทุกช่วงเวลาของวันไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน... ผิวก็ต้องการสารแอนติออกซิแดนท์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา... ต้องการ Cell-Signailing Substance ที่จะช่วยส่งสัญญาณให้เซลล์ผิวทำงานได้เป็นปกติ... ต้องการ Natural Moisturizing Factors ที่จะช่วยเสริมชั้นเคลือบปกป้องผิวให้แข็งแรง...

ผิวคนคนเราซ่อมแซมและแบ่งตัวใหม่อยู่ตลอดเวลา คำพูดที่ว่าผิวจะซ่อมแซมตัวเองในตอนกลางคืนนั้นจึงเป็นความจริงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น...

Night Moisturizers ก็เป็นมอยซ์เจอไรเซอร์ธรรมดา ๆ ตัวหนึ่งที่ไม่ได้ช่วยบำรุงผิวคุณล้ำลึกเป็นพิเศษอย่างที่บริษัทเครื่องสำอางพยายามทำให้คุณเข้าใจผิด และ Day Moisturizers ที่ไม่มีสารกันแดดก็ทำให้คุณต้องเสียเงินซ้ำซ้อนเพื่อซื้อครีมกันแดดมาใช้เพิ่ม....




Moisturizer ที่ระบุไว้ว่าเป็น Oli-Free หรือ Non-Comedogenic นั้นไม่ทำให้ผิวมันและไม่ทำให้เกิดสิวจริงหรือ?



ไม่จริงเลย เพราะถึงจะไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน แต่ส่วนผสมพวก Thickeners, Wax หรือ Emollients บางตัวก็ทำให้ผิวมันเยิ้มได้เช่นเดียวกัน เราจึงไม่ควรซื้อ Moisturizer เพียงเพราะมีคำว่า Oli-Free แปะอยู่

ส่วนคำว่า Non-Comedogenic นั้นเป็นคำที่พึ่งพาไม่ได้ เพราะบ่อยครั้งไปที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า Non-Comedogenic แต่กลับเกิดสิวอุดตันและหน้ามันเยิ้มทั่วหน้า



Comedogenic / Non-Comedogenic Ingredients


รูปที่แนบด้านล่างนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ที่บอกเราว่าส่วนผสมตัวใดที่มีโอกาสอุดตันผิวได้ง่ายหรือไม่อุดตันผิว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ใน Ingredients List


ตัวอย่างส่วนผสมที่มีโอกาสอุดตันผิวได้ง่าย





ตัวอย่างส่วนผสมที่มีโอกาสอุดตันผิวได้บ้าง





ตัวอย่างส่วนผสมที่ไม่อุดตันผิวหรือมีโอกาสอุดตันผิวได้น้อย



แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ยังมีข้อขัดแย้งกันเอง(เช่นบางแหล่งก็บอกว่า Mineral Oil กับ Petrolatum อุดตัน แต่บางแหล่งก็บอกว่าไม่อุดตัน)และมีจุดบอดอยู่บ้างเนื่องจากผิวของคนมีโอกาสอุดตันได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพผิว ขั้นตอนการดูแลผิว และความเข้มข้นของสารที่ใส่ ต่อให้เป็นสารที่อุดตันผิวได้ง่ายแต่ถ้ามีในปริมาณน้อยก็มีโอกาสที่จะอุดตันผิวต่ำ บางทีส่วนผสมที่ระบุไว้ว่าไม่ก่อให้เกิดการอุดตันอย่าง Zinc Oxide หรือ Titanium Dioxide ก็สามารถอุดตันผิวได้ถ้าใส่มาในปริมาณสูงหรือทำความสะอาดออกไม่หมด

ข้อมูลเรื่องสารที่อุดตันหรือไม่อุดตันผิวช่วยทำให้เราคัดกรองผลิตภัณฑ์ได้อย่างคร่าว ๆ ท้ายที่สุดเราก็ยังคงต้องทดลองใช้ด้วยตนเองไปจนกว่าจะเจอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผิวของเราเองอยยู่ดี (แต่ก็ดีกว่าลองมั่วล่ะนะ)




Moisturizers สามารถช่วยควบคุมหรือลดการผลิตน้ำมันได้จริงรึเปล่า?


อาจจะเป็นไปได้... แต่มีอุปสรรคมากมายเพราะเรายังไม่เข้าใจกระบวนการนี้อย่างแท้จริง...

ปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันออกมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฮอร์โมน androgens และ estrogen (ฮอร์โมนเพศชายและหญิง) ซึ่งเครื่องสำอาง (หรือเวชสำอาง) ก็ไม่มีส่วนผสมตัวใดที่เมื่อทาลงบนผิวแล้วจะสามารถไปควบคุมฮอร์โมนเหล่านี้ได้จากภายนอก ในทางกลับกัน ส่วนผสมของเครื่องสำอางที่ก่อการอักเสบหรือระคายเคืองกับผิว จะสามารถไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมากผิดปกติได้...

ปัจจุบันนี้ ทางเลือกทีได้ผลและเป็นที่ยอมรับแล้วว่าช่วยในการลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันได้จริงจะจัดอยู่ในรูปของยา อย่างยาคุมที่ไปช่วยลดฮอร์โมนเพศชาย หรือยา Isotretinoin (Roaccutane) ที่เป็นยากลุ่มกรดวิตามินเอที่ใช้รับประทาน เป็นต้น

มีการวิจัยบางชิ่นบ่งชี้ว่า Niacinamide หรือวิตามิน B3 ที่ใส่ในเครื่องสำอางสามารถช่วยลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันได้ แต่ยังไม่มีใครเข้าใจกระบวนการทำงานของมัน จึงไม่สามารถ Confirm ได้...

Moisturizers ที่โฆษณาว่าช่วยลดความมัน ควบคุมความมัน จะใส่ส่วนผสมพวก Absorbent ที่ดูดซับน้ำมันส่วนเกิน หรือใช้ซิลิโคนชนิดแห้งไวที่ไม่ทิ้งคราบมันบนผิว ซึ่งเป็นผลทางคอสเมติคชั่วคราว เมื่อสารดูดวับความมันที่ใช้อุ้มน้ำมันจนเต็มที่แล้ว หน้าก็จะยังคงมันเยิ้มอีกอยู่ดี

สิ่งที่คุณสามารถทำได้คือการหลีกเลี่ยงส่วนผสมหรือผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ปัญหาหน้ามันเยิ้มที่เป็นอยู่นั้นแย่ลงกว่าเดิม อย่างการใช้ Cleanser ที่รุนแรงเกินไปจนผิวระคายเคือง เช็ด Toner ที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง หรือใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ที่เพิ่มความมันเยิ้มบนผิวเป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถซับความมันส่วนเกินด้วยแป้งฝุ่น กระดาษซับมัน หรืออาจจะใช้มาสค์โคลนช่วยดูดซับความมันที่ไม่มีส่วนผสมก่อการระคายเคืองก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดยความถี่ในการใช้จะต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล บางคนที่หน้ามันมาก ๆ อาจจะใช้ได้ทุกวัน ส่วนที่ผิวมันน้อยหน่อยก็อาจจะใช้สัปดาห์ละครั้ง โดยให้ใช้หลังล้างหน้า ทาทิ้งเอาไว้ 10 – 15 นาทีและล้างออกด้วยน้ำอุ่น


Moisturizers ช่วยลดเลือนริ้วรอยได้จริงหรือ?


คุณสมบัติที่ Moisturizers มีร่วมกันไม่ว่าจะมีราคาถูกหรือแพง ต่างก็เน้นไปในการให้ความชุ่มชื้น ผ้าผิวชั้นนอก (Epidermis) แห้งกร้านก็จะเกิดริ้วรอยเล็ก ๆ ขึ้น (เรียกว่า Fine Line) การทา Moisturizers จะทำให้ผิวชุ่มชื่นขึ้นเซลล์ผิวก็จะอวบอิ่ม ทำให้ริ้วรอยเล็ก ๆ เหล่านี้จางลง

แต่ถ้าพูดถึงริ้วรอยลึก (Wrinkle) หรือ ริ้วรอยจากการแสดงอารมณ์ (Expression Line) ที่เกิดขึ้นในผิวชั้นใน (Dermis) และลึกกว่านั้น Moisturizers ไม่สามารถขจัดออกไปได้ไม่ว่าจะมีราคาแพงกี่หมื่นกี่แสนก็ตาม ต้องพึ่งการทำ Treatment โดยแพทย์ หรือใช้สารที่ขึ้นทะเบียน “ยา” เท่านั้น



Skincare Basic 9.5

Vitamin E
หาน้อยมากที่จะมีคนไม่รู้จักว่าวิตามินอีคืออะไรมีประโยชน์ยังไง ดังนั้นบทนี้จึงมีความยาวไม่มากนัก แค่เพิ่มเติมรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ กับอัพเดทข่าวใหม่เรื่องวิตามินอีกันสักนิดพอหอมปากหอมคอ ส่วนผลิตภัณฑ์แนะนำ กระผมจะขอข้ามไปนะขอรับ เนื่องจากวิตามินอีเป็นวิตามินที่หาได้ทั่วไปตามตำรับเครื่องสำอางที่วางขายอยู่ ขอให้ทุกท่านเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารก่อการระคายเคืองและมีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมก็พอแล้ว






Vitamin E เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมัน โดยรูปแบบที่นิยมใช้กันก็คือ d-Alpha-Tocopherol Acetate กับ dl-Alpha Tocopherol Acetate ถ้ามีตัวอีกษร “d” นำหน้าแปลว่าวิตามินอีตัวนั้นได้มาจากธรรมชาติ ถ้ามี “dl” นำหน้าแปลวิตามินอีตัวนั้นว่ามาจากการสังเคราะห์ (ซึ่งไม่ค่อยมาใน Ingredients List เท่าไหร่ แต่มักจะบอกในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)

ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกวิตามินอีที่ได้จากธรรมชาติจะดีกว่า เนื่องจากมีผลการวิจัยออกมาว่า “วิตามินอีที่มาจากธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินอีที่ได้จากการสังเคราะห์” น้ำมันจากพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินอีก็อย่างเช่น Almond Oil, Olive Oil สาว ๆ คนใดที่ “ไดอด” อดอาหารและหลีกเลี่ยงน้ำมันไขมันเหมือนกับเป็นตัวเสนียดก็เสี่ยงที่จะขาดวิตามินอีได้ ลองรับประทาน Almond หรือ Cashew Nut (เม็ดมะม่วงหิมพานต์) แบบอบและไม่โรยเกลือเป็นของว่าง นอกจากจะช่วยลดความอยากอาหารแล้วยังช่วยเพิ่มวิตามินอีและกรดไขมันจำเป็นที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย

ประโยชน์ที่จะได้จากการทาวิตามินอีลงไปบนผิวก็คือ


- เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ

- ลดการเกิด Lipid Peroxidation ปกป้องชั้น Lipid ที่เคลือบผิว ผลคือชั้นเคลือบผิวแข็งแรงขึ้น ช่วยลดการสูญเสียน้ำจากเซลล์ได้เป็นอย่างดี

- ลดความเสียหายจากรังสี UVB ซึ่งเป็นการเสริมประสิทธิภาพของครีมกันแดด

- มีคุณสมบัติเป็น Emollients เคลือบผิวให้นุ่มลื่น (แต่ก็สามารถอุดตันผิวได้เหมือนกัน)

- ช่วยเยียวยาผิวที่ไหม้เกรียมแดดจากรังสี UVB

แน่นอนว่าวิตามินอีก็ค่อนข้าง Sensitive ต่อแสงและออกซิเจนเหมือนกับวิตามินตัวอื่น ๆ เราจึงควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อเก็บรักษาคุณค่าในการเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ของมันเอาไว้

ปัจจุบันมีการใช้วิตามินอีรูปแบบใหม่ก็คือ Tocotrienols ที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นแอนติออกซิแดนท์ได้ดีกว่า Tocopherol แต่การทดสอบนี้ใช้วิธีการ “รับประทาน” จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า Tocotrienols จะให้ผลดีเมื่อทาลงไปบนผิวเหมือนกับรับประทานรึเปล่า โดยน้ำมันจากพืชธรรมชาติที่อุดมไปด้วย Tocotrienols ก็คือ Rice Barn Oil (น้ำมันรำข้าว) และ Palm Oil (น้ำมันปาล์ม)


Vitamin E ช่วยรักษาแผลเป็นได้จริงหรือ?




ความเชื่อที่ว่าการทา Vitamin E ลงไปบนผิวจะช่วยเยี่ยวยาลดรอยแผลเป็นได้นั้นมีมาตั้งแต่ปี 1922 (จากเวปไซท์ของ The New York Times) แต่ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงใน Dermatologic Surgery เมื่อปี 1999 นั้นบอกเรื่องราวที่ตรงกันข้าม

ผลการศึกษานี้พบว่าการทาวิตามินอีลงไปบนรอยแผลเป็น ไม่ได้ช่วยรักษาหรือลดรอยแผลเป็นได้ แต่อาจจะทำให้อาการย่ำแย่ลงไปอีกเสียด้วยซ้ำ และ 33% ของกลุ่มทดลองก็เกิด Contact Dermatitis เพราะ Vitamin E


(Source : The Effects of Topical Vitamin E on the Cosmetic Appearance of Scars., Dermatologic Surgery, Volume 25, Number 4, April 1999 , pp. 311-315(5), Fading From Sight: New Advances to Minimize Surgical Scars : American Academy of Dermatology)


ข้อสรุปในปัจจุบันนี้คือ Vitamin E เพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาแผลเป็นได้ขอรับ



คงมีหลายท่านอ่านแล้วคิดในใจว่า "อ้าว ทำไมชั้นใช้ครีมผสมวิตามินอีแล้วรอยแผลเป็นจางลงได้ล่ะ" กระผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะความชุ่มชื้นจากมอยซ์เจอไรเซอร์ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนนุ่มลงมากกว่าขอรับ ไม่น่าจะเป็นเพราะวิตามินอีอย่างเดียว

อีกอย่าง รอยแผลชนิดที่ไม่สาหัสมากนัก เวลาผ่านไปมันก็จะจางลงเองนะขอรับ (กระผมเคยซิ่งจักรยานล้มจนเป็นแผลเป็นที่ข้อศอกเมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบันมันจางลงจนแทบสังเกตไม่เห็น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรกับมันเป็นพิเศษ)

Skincare Basic 9.4

Vitamin C


หนึ่งในวิตามินยอดนิยมตลอดกาลคงจะหนีไม่พ้นวิตามินซี เราสามารถหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามิซีได้ไม่ยาก แต่การจะหาผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินซีในรูปแบบปละปริมาณเข้มข้นจริง ๆ นั้นเหมือนการงมเข็มในโอ่งทั่วราชบุรี (ก็ยังดีที่หาง่ายกว่าหาในทะเล) เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือวิตามินซีมีอยู่หลายรูปแบบ ซึงมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพมากน้อยไม่เท่ากัน ยังมีปัจจัยเรื่องความเข้มข้น ค่า pH และความเหมาะสมของบรรจุภัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย




เรามักจะนึกถึง "ส้ม" เป็นอันแรกถ้าถามถึงผลไม้ที่มีวิตามินซี แต่จริง ๆ แล้ว "ฝรั่ง" หรือ "บล็อคโคลี่" นั้นมีวิตามินซีมากกว่าส้มอีกนะ

การที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากวิตามินซีนั้นไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วเดินสุ่มเข้าไปซื้อที่เคาเตอร์ตามคำโฆษณาก็จะได้ของดีมีประสิทธิภาพมาใช้ แต่จำเป็นต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานกันสักหน่อยว่า Vitamin C ตัวไหนที่เราควรมองหา และคาดหวังประสิทธิภาพอะไรได้บ้าง


ประเภทของ Vitamin C

   
Vitamin C ในรูปแบบดั้งเดิมก็คือ Ascorbic Acid / L- Ascorbic Acid ซึ่งไม่เสถียรและเสื่อม ( Oxidize) ได้ง่ายเมื่อโดนแสง ออกซิเจน รวมถึง “น้ำ” ด้วย จึงมีการพัฒนาวิตามินซีรูปแบบอื่นขึ้นมาเรียกว่า “อนุพันธ์วิตามินซี” หรือ Vitamin C Derivatives ซึ่งมีอยู่มากมายหลายตัว คุณสมบัติก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ซึ่งจะขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง



Vitamin C (Ascorbic Acid / L- Ascorbic Acid)


ว่ากันว่าวิตามินซีแบบ Ascorbic Acid เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งให้ประโยชน์กับผิวได้หลากหลายเริ่มตั้งแต่

- Antioxidant ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอริ้วรอย

- ลดความเสียหายจากรังสี UV

- กระตุ้นการสร้างคอลาเจน ช่วยลดเลือนริ้วรอยเล็ก ๆ ได้

- ลดเลือนจุดด่างดำ ทำให้ผิวขาวขึ้น

แต่การที่จะได้ประโยชน์จาก Ascorbic Acid จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


ค่า pH


ค่า pH ของผลิตภัณฑ์ก็มีความสำคัญมากกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Ascorbic Acid หรือ L-ascorbic Acid เนื่องจากวิตามิซีในรูปแบบดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพเมื่อค่า pH ของผลิตภัณฑ์ เป็นกรด (3.5 หรือต่ำกว่า) ซึ่งค่า pH ที่เป็นกรดนี้อาจทำให้เกิดการระคายเคือง แดง และ แสบยิบ ๆ เล็กน้อยชั่วคราวเมื่อใช้แรก ๆ บริษัทเครื่องสำอางบางยี่ห้อจึงหลีกเลี่ยงการถูกผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาการแดงแสบยิบ ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้คืออาการแพ้ จึงทำการปรับค่า pH ของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นจนเป็นกลาง (4.5 – 7 ) ซึ่งไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองแต่ก็ทำให้วิตามินซีไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน



ความเข้มข้น


ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการผลลัพธ์ในด้านใดบ้าง ถ้าหวังแค่เรื่องแอนติออกซิแดนท์ ความเข้มข้น 2 % ก็ถือว่าโอเคแล้ว แต่ถ้าหวังว่าจะให้วิตามินซีช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนหรือลดเลือนจุดด่างดำได้ ก็ต้องใช้ที่ความเข้มข้น 5% ขึ้นไป ระดับความเข้มข้นที่แนะนำจริงๆ ก็คือ 10 % หรือมากกว่า... แต่ก็ไม่ควรเกิน 20 %

ความเข้มข้นที่เหมาะจะเริ่มก็คือ 10% ถ้าสามารถรับได้ จะขยับขยายเพิ่มไปเป็น 12 หรือ 15% ก็ได้ แต่ถ้ารู้สึกระคายเคืองก็ต้องลดความเข้มข้นลงมาหน่อย



เนื้อผลิตภัณฑ์


วิตามินซีในรูป Ascorbic Acid หรือ L-ascorbic Acid นั้นมีประสิทธิภาพมากแต่ก็ไม่ค่อยเสถียรสักเท่าไหร่ เมื่อเจออากาศและแสงจะเกิดการ Oxidize จนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งจะทำให้วิตามินซีไร้ประสิทธิภาพใด ๆ และอาจก่ออันตรายให้ผิวได้อีกด้วย บริษัทเครื่องสำอางเลยใช้วิธีขี้โกงด้วยการผสมสีให้เนื้อผลิตภัณฑ์มีสีเหลือง จะได้ดูไม่ออกว่าวิตามินซีในนั้นมันเสื่อมรึยัง ซึ่งเป็นเรื่องที่แย่มาก ดังนั้นคุณจึงควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะใส ไม่ผสมสี เพื่อที่จะตรวจได้ว่าวิตามินซีเสื่อมสภาพรึเปล่า



บรรจุภัณฑ์


การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคงทราบกันดีแลวว่าวิตามินซีเสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อเจอออกซิเจนและแสง บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระปุกจะทำให้วิตามินซีเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่เปิดฝาตักครีมขึ้นมาใช้ หลอดบีบหรือขวดปั้มที่ใสหรือโปร่งแสงก็ทำให้วิตามินเสื่อมไปได้เรื่อย ๆ อีกเหมือนกัน

บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาวิตามินซีควรจะลดโอกาสที่วิตามินจะสัมผัสกับแสงหรือออกซิเจนให้ได้มากที่สุด


Vitamin C Derivatives


เนื่องจากวิตามินซีรูปแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องค่า pH ที่อาจก่อการระคายเคืองผิวได้ ความเสถียรต่ำเกิดการ Oxidize ได้ง่ายจึงทำให้อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้อยลง (ต้นทุนของผลิตภัณฑ์จึงสูงขึ้น) จึงได้มีการพัฒนาวิตามินซีรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา

ข้อดีหลัก ๆ ของอนุพันธ์วิตามินซี ก็คือเรื่องความเสถียรและคงทนต่อแสงและออกซิเจนมากกว่า Ascorbic Acid (แต่ก็ยังคงต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมอย่างหลอดบีบทึบแสงหรือขวดปั้มทึบแสงเพื่อลดโอกาสที่วิตามินจะสัมผัสออกซิเจนให้มากที่สุดอยู่ดี) ข้อดีอีกประการหนึ่งคือไม่มีข้อจำกัดเรื่องค่า pH ทำให้ค่า pH ของผลิตภัณฑ์ที่ผสมอนุพันธ์วิตามินซี สามารถเป็นกลาง ( 4.5 – 5.5) จึงไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและอ่อนโยนกับผิวมากกว่า

สารในกลุ่ม Vitamin C Derivatives ที่พบได้บ่อยก็มีดังนี้


Magnesium Ascorbyl Phosphate /Magnesium l-ascorbic acid-2-phosphate


ชื่อย่อของ Magnesium Ascorbyl Phosphate ก็คือ MAP เป็นอนุพันธ์วิตามินซีตัวที่มีประสิทธิสูง มีความเสถียรมากพอสมควร คงตัวได้ดีแม้แต่ในสูตรผสมที่มีน้ำ (Ascorbic Acid แค่โดนน้ำก็เริ่มเสื่อมแล้ว) ไม่มีข้อจำกัดเรื่องค่า pH จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผิว sensitive หรือผู้ที่ไม่สามารถใช้วิตามินซีแบบ Ascorbic Acid ได้ (แต่ราคาต้นทุนของ MAP ก็แพงกว่า Ascorbic Acid 4 เท่าแน่ะ)

นอกจากคุณสมบัติร่วมในการเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ดีแล้ว MAP มีประสิทธิภาพในด้านการกระตุ้นการสังเคราะห์คอลาเจนในผิวได้เหมือนกับ Ascorbic Acid แม้จะใช้ในความเข้มข้นที่น้อยกว่า ส่วนเรื่องการลดเลือนจุดด่างดำจากเมลานินก็ต้องใช้ในความเข้มข้นระหว่าง 5 – 10% นอกจากนี้ MAP ยังช่วยลดการอักเสบของผิวได้อีกด้วย



Tetrahexyldecyl Ascorbate / Ascorbyl Tetraisopalmitate


อนุพันธ์วิตามินซีตัวใหม่นี้กำลังมาแรงใช่ย่อย คุณสมบัติที่แตกต่างหลัก ๆ ก็คือวิตามินซีตัวนี้ละลายใน “น้ำมัน” (วิตามินซีปกติจะละลายในน้ำ) แล้วละลายในน้ำมันนั้นดียังไงน่ะหรือ???

วิตามินซีเสื่อมได้เมื่อโดนน้ำ การทำวิตามินซีที่สามารถผสมในสูตรที่ปราศจากน้ำได้ นอกจากจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวในการเก็บรักษามากกว่า แน่นอนว่าแม้ขณะทาลงไปบนผิวก็ยังเสถียรกว่าด้วย ทางผู้ผลิตยังอวดอ้างสรรพคุณว่า Tetrahexyldecyl Ascorbate มีประสิทธิภาพมากกว่า Ascorbic Acid แต่เนื่องจากวิตามินตัวนี้ยังใหม่อยู่มาก จึงยังไม่มีการทดสอบใด ๆที่จะชี้ชัดหรือสรุปได้ว่า Tetrahexyldecyl Ascorbate จะดีกว่า Ascorbic Acid

นอกจากนี้ ข้อดีของการเป็นวิตามินซีที่ละลายในน้ำมันได้ จึงช่วยลดการเกิด Lipid Peroxidation ได้เหมือนกับวิตามินอีอีกด้วย



Ascorbyl Glucoside


ชื่อก็บอกใบ้เอาไว้อยู่แล้วว่าเป็นการเอา L-Ascorbic Acid มาเกี่ยวกับ Glucose เพื่อเพิ่มความเสถียร วิตามินตัวนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายมาก (โดยเฉพาะ Skincare จากญี่ปุ่น) ตามทฤษฏีที่ผู้ผลิตสารตัวนี้บอกมา เจ้า Ascorbyl Glucoside จะแตกตัวเป็น L-Ascorbic Acid กับ Glucose เมื่อทาลงบนผิว จึงทำให้ได้รับประโยชน์เช่นเดียวกันกับ L-Ascorbic Acid โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเสถียร

แต่... มีเอกสารที่ยืนยันประสิทธิภาพของ Ascorbyl Glucoside ที่ทำขึ้นโดยหน่วยงานอิสระอยู่น้อยมาก (มีแต่เอกสารจากผู้ผลิต ซึ่งเชื่อถือไม่ค่อยได้เท่าไหร่) Ascorbyl Glucoside มีประสิทธิภาพในการเป็นแอนติออกซิแดนท์แน่นอน เรื่องกระตุ้นคอลาเจนหรือลดเลือนจุดด่างดำในทางทฤษฏีแล้วก็เป็นไปได้ แต่ในทางปฏิบัติยังคงไม่แน่ชัดนัก



Ascorbyl Palmitate


เป็นวิตามินซีเสถียรที่ละลายในน้ำมันและใช้กันอย่างแพร่หลายอีกเหมือนกัน ยังไม่มีข้อดูใดมาสนับสนุนว่าจะมีประโยชน์ในด้านอื่นนอกจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์และสารกันบูดให้กับผลิตภัณฑ์



สรุป


ถ้าเราต้องการได้รับประโยชน์จาก Vitamin C Derivatives ก็ควรมองหา Magnesium Ascorbyl Phosphate จะชัวร์สุด ส่วน Tetrahexyldecyl Ascorbate ก็น่าสนใจมิใช่น้อย รองลงมาก็คงเป็น Ascorbyl Glucoside ทางด้าน Ascorbyl Palmitate ก็อย่าไปหวังอะไรมากนอกจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์

Vitamin C เสริมประสิทธิภาพของ Vitamin E ถ้าผสมหรือใช้ร่วมกัน
 


วิตามินซีจะเสริมประสิทธิภาพผิวในการลดความเสียหายจากรังสี UVA ส่วนวิตามินอีจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก UVB การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินทั้งสองตัวนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพของครีมกันแดดอย่างไม่ต้องสงสัย

นอกจากนี้วิตามินซียังเป็นวิตามินที่แสนใจดี แจกอิเลคตรอนของตนเองให้กับโมเลกุลของวิตามินอีที่ผ่านการใช้งานแล้วให้กลับมา Active มีประสิทธิภาพอีกครั้ง


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Vitamin C


ถาม : “ทาอะไรก่อนดี ระหว่าง AHAs กับ Vitamin C”

ตอบ : ตามหลักแล้วควรทา AHAs / BHA ก่อน Vitamin C โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินซีแบบ Ascorbic Acid ที่มีปัจจัยเรื่องค่า pH เข้ามาเกี่ยว เหตุผลที่แนะนำให้ใช้ AHAs หรือ BHA ก่อนก็เพื่อปรับค่า pH ของผิวให้เป็นกรดอ่อนเสียก่อน เมื่อทา Ascorbic Acid ลงไปจะได้มีประสิทธิภาพเต็มที่ แต่ถ้าใช้ Vitamin C Derivatives ก็ไม่ต้องกังวลขอรับ จะสลับกันก็ได้ไม่เป็นอะไร


ถาม : "ซื้อ Vitamin C ผงมาผสมกับน้ำหรือมอยซ์เจอไรเซอร์ใช้เองได้รึเปล่า?"

ตอบ : ถ้าเป็น Vitamin C แบบ Ascorbic Acid ก็ต้องระวังเรื่องประมาณที่ใช้และค่า pH กันสักหน่อย ถ้าใช้มากไปก็มีโอกาสที่จะระคายเคืองได้เหมือนกัน ถ้าเป็นผง Vitamin C Derivatives อย่าง Magnesium Ascorbyl Phosphate ก็ปลอดภัยกว่า

ขอเสนอแนะว่าไม่ควรละลายในน้ำเปล่า เพราะมันจะซึมลงผิวได้ไม่ดีนัก ควรละลายใน Toner, Serum หรือมอยซ์เจอไรเซอร์ที่เป็น Water Base เพราะมีส่วนผสมของ Slip Agent หรือ Penetration Enhancer ช่วยทำให้วิตามินซีซึมลงผิวได้ดีขึ้น และควรผสมใช้เป็นครั้ง ๆ ไป หรือผสมในปริมาณน้อย ๆ เพราะถ้าผสมเยอะ ๆ แล้วใช้ไม่ทันมันก็จะเสื่อมหมด ทำให้เสียของไปเปล่า ๆ


ถาม : "ทำไมถึงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ผสม Vitamin C ที่เสื่อมแล้ว"

ตอบ : วิตามินซีที่เสื่อมหรือ Oxidize ไปแล้วจะไม่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระหรือมีประโยชน์ด้านอื่น ที่แย่กว่านั้นคือ วิตามินซีที่เสื่อมแล้วจะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นเมื่อทาลงไปบนผิว

เราจึงควรไม่ควร “งก” โดยการทนใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นต่อไป เพราะถือเป็นการประหยัดที่ติดลบ...


ถาม : "ทำไมผลิตภัณฑ์ที่มี Vitamin C เข้มข้นถึงได้แพงจัง"

ตอบ : เนื่องจาก Ascorbic Acid นั้นเสื่อมได้ง่าย ทำให้ Shelf-Life ก็ต่ำลงไปด้วย เป็นสาเหตุให้ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ราคาขายก็เลยได้แพ๊ง~แพง อย่างที่เห็นกันนี้

ต้นทุนของวิตาิมินซีเสถียรอย่าง MAP ก็แพงใช่ย่อย ถึงจะมี Shelf-Life ที่นานกว่า ก็ไม่ได้ช่วยให้ราคามันถูกลงแต่อย่างใด ถ้าสามารถผสมใช้เองได้ก็จะประหยัดเงินไปได้โข

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ


นี่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์บางส่วนที่กระผมเลือกมาเป็นตัวอย่างเนื่องจากมีคุณลักษณะที่ของผลิตภัณฑ์ที่ดีตรงตามมาตรฐานของปูเป้นั่นก็คือ

- มีปริมาณ Vitamin C ในระดับที่น่าประทับใจ

- บรรจุภัณฑ์เหมาะสม

- มีสารก่อการระคายเคืองต่ำ หรือแทบไม่มีเลย

- มีเนื้อค่อนข้างเบา เหมาะที่จะใช้เป็น Treatment และใช้ได้กับเกือบทุกสภาพผิว

แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายที่ไม่ได้อยู่ใน List ที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบ Ingredient List ด้วยตัวเองและเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม



ชื่อผลิตภัณฑ์ รีวิว และส่วนผสม เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา


La Roche-Posay : Active C

Price : $40 / 30 ml.

ถ้าคุณยังใหม่กับการใช้ Vitamin C แบบ Ascorbic Acid หรือมีผิวที่ค่อนข้าง Sensitive แล้ว La Roche-Posay : Active C ที่มี Ascorbic Acid 5% ก็ดูจะเป็นก้าวแรกที่ปลอดภัย

ส่วนผสมโดยรวมไม่มีอะไรมากไปกว่าเบสเซรั่มที่ทำจากน้ำและซิลิโคน ตัวนี้ผิวมันก็สามารถใช้ได้เพราะว่ามี Nylon-12 ช่วยดูดซับความมัน บรรจุภัณฑ์ก็เหมาะสม ข้อเสียก็คือมีส่วนผสมของน้ำหอมและนอกจากวิตามินซีแล้วก็ไม่มีอะไรแถมมาให้เลย

ส่วนผสมของสูตรสำหรับผิวแห้งและผิวธรรมดาไม่ได้ต่างกันขอรับ อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างก็ได้เพราะกระผมไม่เคยใช้สูตรสำหรับผิวแห้งนะ...

Ingredients :
Water, Glycerin, Cyclopentasiloxane, Ascorbic Acid, Propylene Glycol, Nylon-12, Sodium Hydroxide, Citric Acid, Peg/Ppg-18/18 Dimethicone, Disodium Edta, Acrylates Copolymer, Isobutane, Methylparaben, Propylparaben, Fragrance


La Roche-Posay : Biomedic Potent-C 10.5 Concentrate

Price : $60 / 30ml.

เซรั่มปราศจากน้ำที่มีส่วนผสมเรียบง่ายโดยใช้ Propylene Glycol ในการทำละลาย Ascorbic Acid และเสริมด้วยซิลิโคนให้เนื้อผลิตภัณฑ์นุ่มลื่นทาได้ง่ายขึ้น ความเข้มข้นของวิตามินซีคือ 10.5% ซึ่งก็มากพอที่จะกระตุ้นการสร้างคอลาเจนรวมถึงช่วยลดเลือนจุดด่างดำได้

Ingredients :
Propylene Glycol, Cyclopentasiloxane, Ascorbic Acid, Glycerin, Cetyl Peg/Ppg-10/1 Dimethicone, Dimethicone Crosspolymer, Lauroyl Lysine, Acrylates Copolymer, Adenosine


Cellular Skin Rx : C+ Firming Serum

Price : $38 / 30 ml.

เซรั่มตัวนี้มี L-Ascorbic Acid เข้มข้น 12% โดยละลายใน Butylene Glycol ที่เป็น Penetration Enhancer (ช่วยให้สารต่าง ๆ ซึมลงผิวได้ดีขึ้น) ค่า pH ของผลิตภัณฑ์ก็เป็นกรดเหมาะสมดี จึงมั่นใจในประสิทธิภาพของวิตามินซีได้

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดสีชาก็ช่วยป้องกันวิตามินซีจากแสงได้เป็นอย่างดี แต่ก็เปิดโอกาสให้อากาศเข้าไปเพิ่มทุกครั้งที่เปิดขึ้นมาใช้ ซื้อมาแล้วก็ต้องรีบใช้ให้หมดภายใน 1 -2 เดือนขอรับ เพราะถ้านานไปกว่านั้นก็เสื่อมแล้วล่ะ...

Ingredients :
Butylene Glycol, L-Ascorbic Acid


SkinCeuticals : C E Ferulic Combination Antioxidant Treatment

Price : $122 / 30 ml.

ทาง SkinCeuticals ได้จดสิทธิบัตรสูตรผสมที่มี 15% L-ascorbic acid + 1% Alpha Tocopherol + Ferulic Acid โดยบอกว่า Ferulic Acid ทำหน้าที่เป็น Antioxidant Stabilizer ช่วยเสริมประสิทธิภาพและความคงทนของวิตามินซีและอี

ผลก็คือสูตรผสมจดสิทธิบัตรนี้มีราคาแพงมหาโหดขึ้นมาทันใด แต่ก็ยังมั่นใจได้ในเรื่องของประสิทธิภาพ บรรจุภัณฑ์ตัวนี้เหมือนกับ Cellular Skin Rx C+ Firming Serum ที่เปิดโอกาสให้อากาศเข้ามาได้ จึงควรรีบใช้ให้หมดก่อนเช่นเดียวกัน

PS. จะเป็นการประหยัดมากถ้าไปประมูลขนาด Sample จาก Ebay มาใช้ เพราะถูกกว่าขนาดเต็มอื้อเลย (ส่วนจะสั่งยังไงนั้นรบกวนไปหาทางกันเอาเองนะขอรับ กระผมไม่ขอเป็นธุระเรื่องนี้ให้)

Ingredients :
Water, Ethoxydiglycol, L Ascorbic Acid, Propylene Glycol, Glycerin, Laureth 23, Alpha Tocopherol, Phenoxyethanol, Triethanolamine, Ferulic Acid, Panthenol, Sodium Hyaluronate


Cellex-C : Advanced-C Serum

ถ้าคิดว่า Ascorbic Acid 12% หรือ 15% ไม่กระเทือนผิวคุณ Cellex-C ก็นำเสนอสูตรผสมที่มี Ascorbic Acid 17.5% ที่เข้มข้นสะใจ

ข้อเสียเดิมก็คงไม่พ้นเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่น่าจะใช้เป็นขวดปั้มสุญญากาศมากกว่า และส่วนผสม Zinc Sulphate ก็อาจก่อการระคายเคืองได้บ้าง แต่โดยรวมก็ถือว่าโอเคขอรับ

Ingredients :
Ascorbic Acid, Acetyl Tyrosine, Zinc Sulphate, Glycine, Resveratrol, Grape Seed Extract, L-Ergothioneine, Sodium Hyaluronate, Green Tea Extract


MD Skincare : Hydra-Pure Vitamin C Serum

Price : $90 / 30ml.

เซรั่มเบสซิลิโคนที่ปราศจากน้ำตัวนี้ช่วยรับประกันความเสถียรของ Ascorbic Acid ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมี Sodium Ascorbyl Phosphate กับ Ascorbyl Palmitate และ Tocopheryl Acetate (วิตามินอี) มาช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านแอนติออกซิแดนท์ด้วย Linoleic Acid กับ Palmitoyl Oligopeptide ทำหน้าที่เป็น Cell-Signaling Substance ส่วน Salicylic Acid ก็มีปริมาณไม่มาก คงคาดหวังเรื่องการ Exfoliate ผิวไม่ค่อยได้ จึงให้ผลในการต้านการอักเสบของผิวได้เหมือนกับ Willow Bark Extract มากกว่า

ถึงราคาแพงไปบ้างแต่ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับทุกสภาพผิว

Ingredients :
Cyclopentasiloxane, Cyclomethicone, Ascorbic Acid, Dimethicone Crosspolymer, Peg/Ppg-18/18 Dimethicone, Squalane, Sodium Ascorbyl Phosphate, Ascorbyl Palmitate, Quercetin Caprylate, Tocopheryl Acetate, Linoleic Acid, Sodium Chondroitin Sulfate, Sodium Hyaluronate, Salicylic Acid, Lactic Acid, Palmitoyl Oligopeptide, Pueraria Lobata Root Extract, Salix Nigra (Willow) Bark Extract, Acrylates/Carbamate Copolymer, Butylene Glycol, Panthenol, Pentasodium Pentetate, Phytic Acid, Potassium Citrate, Potassium Gluconate, Tetrasodium Edta, Purified Water, Phenoxyethanol


Philosophy : Save Me

Price : $60 / 30ml.


ด้วยส่วนผสมของวิตามินซีแบบ MAP ที่มาเป็นอันดับสอง รับรองได้ว่ามันต้องมีอยู่เยอะพอที่จะก่อประโยชน์มากมายให้กับผิว ไม่ว่าจะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจน(Anti-Aging) ลดเลือนเมลานิน (Whitening) ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และลดการอักเสบของผิวได้อีกด้วย (Anti-Inflammatory)

แต่สิ่งที่แย่คือหลังจาก MAP แล้วก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า Thickeners กับ Emollients หลายต่อหลายตัว จึงค่อยมีเปปไทด์ เรตินอล และสารแอนติออกซิแดนท์ตัวอื่นตามมา...

ก็ถือว่าดีและน่าใช้มากตัวหนึ่ง (แต่ไม่ถึงขนาดแบบ วู้ว~ว้าว เลิศเลอเพอร์เฟค) เนื้อผลิตภัณฑ์ก็ใช้ได้กับเกือบทุกสภาพผิว เว้นแต่ผิวมันอาจจะไม่ Happy เท่าไหร่นัก... บรรจุภัณฑ์แบบขวดปั้มทึบแสงก็รักษาสารบำรุงได้ดีไม่มีที่ติ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้จึง Save ผิวคุณได้จริง (แต่ไม่ Save เงินในกระเป๋าเท่าไหร่...)

Ingredients :
Water, Magnesium Ascorbyl Phosphate, Peg-45 Palm Kernel Glycerides, Glycerin, C13-14 Isoparaffin, Isostearyl Isostearate, Sodium Polyacrylate, Polyacrylamide, Polysorbate 60, Glyceryl Polymethacrylate, Propylene Glycol, Oleyl Alcohol, Butylene Glycol, Glyceryl Stearate, Peg-100 Stearate, Lecithin, Peg-6, Carthamus Tinctorius (Safflower) Seed Oil, Urea, Palmitoyl Hydrolyzed Wheat Protein, Palmitoyl Pentapeptide 3, Peg-60 Almond Glycerides, Retinyl Palmitate, Retinol, Triethanolamine, Xanthan Gum, Hydroxyethylcellulose, Sodium Hydroxymethylglycinate, Fragrance, Trisodium Edta, Carbomer, Diazolidinyl Urea, Butylparaben, Methylparaben, Ethylparaben


Dermalogica : AGE Smart Map-15 Regenerator

Price : $85 / 8g.

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของแบรนด์ Dermalogica ก็ว่าได้ เพราะมันปราศจากสารก่อการระคายเคืองอย่าง Fragrance Oil ที่มักจะผสมมาในผลิตภัณฑ์ Dermalogica ส่วนใหญ่

MAP-15 ก็สื่อเอาไว้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีความเข้มข้นของ Magnesium Ascorbyl Phosphate ถึง 15% ตามมาด้วยสารแอนติออกซิแดนท์ สารต้านการระคายเคือง และ Cell-Signaling Substance อีกหลายตัว

เนื้อผลิตภัณฑ์ตัวนี้พิเศษตรงผงแป้งที่แปรเปลี่ยนไปเป็นโลชั่นเมื่อทาลงบนผิว จึงไม่ต้องผสมกับผลิตภัณฑ์อื่นก่อนใช้ให้ยุ่งยาก ฟังดูดีนะขอรับ แต่พอลองใช้เข้าจริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์แบบผงลงบนหน้าก็ลำบากพอดู แถมเวลาหกเลอะส่วนอื่นที่ไม่ใช่ใบหน้าก็เสียด๊าย~เสียดาย (ก็ราคาแพงโคตรอ่ะ...) แถมทาไปแล้วมันแห้งซึมลงผิวไปในทันทีไม่ทิ้งคราบอะไรให้เป็นทีสังเกตได้เลยแยกไม่ค่อยว่าตรงไหนทาไปแล้วหรือตรงไหนที่ยังไม่ได้ทา วิธีแก้ก็คือเอาไปผสมกับเซรั่มตัวอื่นแล้วค่อยทาลงผิว แต่ความเข้มข้นของวิตามินซีที่ได้ก็จะไม่ใช่ 15% แล้ว

โดยรวมกระผมถือว่านี่ผลิตภัณฑ์ที่ดีนะ เสียอย่างเดียวคือแพงไปหน่อย ถ้าถูกกว่านี้สัก 2 – 3 เท่าจะ work มาก... (หรือไม่ก็ขอให้ได้เงินเดือนสักแสนกว่าขึ้นไปคงซื้อใช้ได้สบาย ๆ )

Ingredients :
Water, Magnesium Ascorbyl Phosphate, Propylene Glycol, Polymethylsilsesquioxane, Silica Dimethyl Silylate, C9-15 Fluoroalcohol Phosphate, Camellia Sinensis Leaf Extract, Glycerin, Urea, Saccharide Hydrolysate, Magnesium Aspartate, Glycine, Alanine, Creatine, Sodium Hyaluronate, Glucosamine Hcl, Algae Extract, Yeast Extract, Saccharide Isomerate, Phospholipids, Hydrogenated Lecithin, Phenoxyethanol

Skincare Basic 9.3

Vitamin B3

Vitamin B3 หรือ Niacinamide เป็นหนึ่งในวิตามินที่ Skin Friendly แบบสุด ๆ ตัวหนึ่งก็ว่าได้ และนี่ Niacinamide ก็เป็นวิตามินตัวโปรดที่ขาดไม่ได้ใน Skincare Regiment ของปูเป้ ซึ่งกระผมจะบอกทุกเหตุผลและรายละเอียดที่กระผมรู้แบบไม่กั๊กเลยล่ะ

"Niacinamide" วิตามินสารพัดประโยชน์


Niacinamide มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ Nicotinamide เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีราคาถูก ประสิทธิภาพหลากหลาย โอกาสระคายเคืองต่ำ ยังไม่พบว่ามีผลเสียหรือผลข้างเคียงใด ๆ (นอกจากจะแพ้ส่วนผสมตัวนี้) แถมยังเสถียรมาก ๆ อีกด้วย สามารถคงทนต่อแสง ความร้อน ความชื้น สภาพกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี

ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Niacinamide หาได้ไม่ยากในท้องตลาดปัจจุบัน แต่จะหาแบบที่ใส่มาเข้มข้นมาก ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นแบรนด์ที่ชู Niacinamide เป็นส่วนผสมหลักอย่าง Olay (รวมถึงแบรนด์ในเครือ P&G อื่น ๆ อย่างเช่น SK-II ด้วย) โดยประโยชน์ที่หลากหลายของ Niacinamide ก็มีตั้งแต่

- เป็นสาร Antioxidant ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

- ช่วยลดการอักเสบของผิว

- เป็นหนึ่งในสาร Cell-Signaling Substance ช่วยสื่อสารกับเซลล์ผิวให้ทำงานได้เป็นปกติ

- ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมความแข็งแรงของชั้น Lipid ที่เคลือบปกป้องผิว (มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

- สามารถช่วยเรื่องสิวอักเสบได้ (มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

- มีแนวโน้มว่าสามารถจะเป็นสาร Whitening และ Anti-Aging ได้ด้วย (มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

- อาจจะช่วยลดการผลิตน้ำมันของผิวได้ แต่ยังไม่มีใครสามารถอธิบายการทำงานของมันได้


Niacinamide ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นของผิวได้อย่างไร?



การวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน Journal of Cosmetic Dermatology เมื่อปี 2004 ระบุไว้ว่า การทา Niacinamide ลงบนผิว สามารถเพิ่มปริมาณ Free Fatty Acid และ Ceramide ในผิว เพื่อเสริมความแข็งแรงของชั้น Lipid ที่เคลือบปกป้องผิว สามารถลดการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิว สิ่งที่สนับสนุนข้อมูลตัวนี้ก็คือผลการทดสอบของชาวญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Dermatology. เมื่อปี 2005 พบว่าการทาครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 2% เป็นเวลา 4 สัปดาห์ – 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นของชั้น stratum corneum ได้ดีกว่า Petrolatum (Petroleum Jelly หรือ วาสลีนนั่นเอง) นอกจากนี้ยังลดการสูญเสียน้ำของผิว (Transepidermal water loss) ได้ด้วย ในขณะที่ Petrolatum ไม่สามารถทำได้

Niacinamide จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า Petrolatum ตรงที่ Niacinamide ไม่อุดตันผิวและไม่มีเนื้อเหนียวเหนอะหนะเหมือนกับ Petrolatum ผู้ใดที่รู้สึกว่าผิวขาดความชุ่มชื้นก็น่าจะหาผลิตภัณฑ์ที่มี Niacinamide มากกว่า 2% มาใช้นะขอรับ


(Source : Nicotinic acid/niacinamide and the skin., Journal of Cosmetic Dermatology, Volume 3, Number 2, April 2004 , pp. 88-93(6), Moisturizing effects of topical nicotinamide on atopic dry skin., International Journal of Dermatology. 44(3):197-202, March 2005 )

 

Niacinamide ช่วยรักษาสิวได้จริงหรือ?



ถ้าเป็นสิวอุดตันคงไม่น่าจะช่วยอะไรได้ แต่ถ้าเป็นสิวอักเสบล่ะก็ไม่แน่ เพราะมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นโดย State University of New York โดยใช้ 4% Niacinamide Gel เปรียบเทียบกับ 1% Clindamycin Gel ว่าตัวใดจะมีประสิทธิภาพในการลดสิวอักเสบ (Inflammatory Acne) ได้ดีกว่ากัน

หลังจากการทดสอบ 8 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า 4% Niacinamide Gel ให้ผลในการรักษาได้ถึง 82% ในขณะที่ 1% Clindamycin Gel ให้ผลการรักษาน้อยกว่าคือ 68%

Niacinamide ไม่ทำให้เชื้อดื้อยาเหมือนยากลุ่ม Antibiotic อย่าง Clindamycin และ Niacinamide ยังมีประโยชน์กับผิวในด้านอื่นๆ อีกด้วย Niacinamide จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า Clindamycin

อย่างไรก็ดี การทดสอบเพียงครั้งเดียวนี้ยังไม่สามารถทำให้เรามั่นใจได้ 100% ว่า Niacinamide จะมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวได้ดีจริง ๆ แต่ Niacinamide ก็ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากอยู่ดี


(Source : Topical nicotinamide compared with clindamycin gel in the treatment of inflammatory acne vulgaris., Department of Dermatology, State University of New York, College of Medicine, Brooklyn, USA)



Niacinamide ช่วยลดจุดด่างดำ ทำให้ผิวขาวขึ้นได้หรือไม่? และช่วยลดเลือนริ้วรอยได้อย่างที่โฆษณารึเปล่า?



ก็มีโอกาสเหมือนกันที่จะเป็นเช่นนั้น... แต่ก็ยังมั่นใจเต็มที่ไม่ได้ เพราะอะไรก็ต้องขออธิบายเพิ่มเติมสักหน่อย

ผลการทดลองที่ระบุว่า Niacinamide มีประสิทธิภาพในการปรับสีผิวลดเลือนจุดด่างดำและลดริ้วรอยนั้น มีบริษัท Procter & Gamble เป็นผู้ให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุน (แถมคนที่นำผลการทดลองมาตีพิมพ์ก็เป็นลูกจ้างของ Procter & Gamble ด้วยอีกต่างหาก) ซึ่งความน่าเชื่อถือของการทดลองนี้จึงยังคลุมเครืออยู่เนื่องจากบริษัท Procter & Gamble เป็นเจ้าของแบรนด์ Olay ที่ชู Niacinamide เป็นจุดขาย


ผลการทดลองที่ออกมาสองชิ้น ชิ้นแรกตีพิมพ์ใน Dermatologic Surgery เมื่อปี 2005 ระบุว่า การทา Niacinamide 5% ลงไปบนผิวเป็นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ให้ผลในการลดเลือนริ้วรอยจากความแห้งกร้าน ริ้วรอยลึกตื้นขึ้น ลดเลือนจุดด่างดำ เสริมความยืดหยุ่นของผิว

จุดบอดของการทดสอบนี้ก็คือการที่บริษัท P&G เป็นผู้ให้เงินทุน ผลที่ออกมาจึงขาดความน่าเชื่อถือไปบ้าง และความเข้มข้นของ Niacinamide ที่ผสมในผลิตภัณฑ์ P&G อย่าง Olay ก็ไมได้ระบุว่ามีความเข้มเท่าไหร่ จึงไม่สามารถแน่ใจว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ Olay จะให้ผลได้เหมือนกับการทดลองรึเปล่า

ผลการทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน British Journal of Dermatology ปี 2005 ทดสอบโดยใช้ครีมที่ผสมสารกันแดด + Niacinamide 2% ผลก็คือสามารถลดเลือนจุดด่างดำได้ นอกจากนี้การทดสอบโดยใช้โมเดลจำลองยังพบว่า Niacinamide ลดเลือนจุดด่างดำด้วยการขัดขวางไม่ให้ melanosome ผ่านไปถึงเซลล์ผิว (ซึ่งต่างจากสารไวท์เทนนิ่งอื่น ๆ เช่น Hydroquinone และ Vitamin C ที่ขัดขวางเอมไซม์ Tyrosinase ไม่ให้สร้างเมลานินขึ้นมาตั้งแต่ต้น)

จุดบอดของการทดสอบนี้ก็คือการที่บริษัท P&G เป็นผู้ให้เงินทุนอีกเช่นกัน และการทาครีมกันแดดเป็นประจำก็สามารถช่วยลดเลือนจุดด่างดำได้อยู่แล้ว Niacinamide 2% อาจจะไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยลดจุดด่างดำก็เป็นไปได้

สรุปคือ Niacinamide ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าจะเป็นสารไวท์เทนนิ่งอีกตัวหนึ่ง แต่คงต้องมีการทดสอบจากหน่วยงานอิสระอื่นมาเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของการทดสอบจาก P&G ส่วนเรื่องที่ Niacinamide จะช่วยลดเลือนริ้วรอยได้อย่างที่โฆษณานั้นยังคงคลุมเครือพอสมควร ต้องรอผลการทดสอบเพื่อยืนยันมากกว่านี้ในอนาคต

(Source : Niacinamide: A B Vitamin that Improves Aging Facial Skin Appearance., Dermatologic Surgery, Volume 31 Issue s1, Pages 860 – 866, The effect of niacinamide on reducing cutaneous pigmentation and suppression of melanosome transfer., British Journal of Dermatology, Volume 147, Number 1, July 2002 , pp. 20-31(12))


 

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ Niacinamide ที่ดีควรเป็นอย่างไร


ถ้าต้องการได้รับประโยชน์จาก Niacinamid อย่างเต็มที่ ควรเลือกชนิดที่ผสม Niacinamide มากกว่า 2 % ขึ้นไป (หรืออยู่อันดับที่ 2 – 4 ใน Ingredient List) ถ้าอยากให้ช่วยเรื่องสิวด้วยก็ต้องหาตัวที่มีความเข้มข้น 4% ขึ้นไป นอกจากนี้ก็ควรจะมีสารแอนติออกซิแดนท์และวิตามินตัวอื่นมาให้ด้วยก็ดี เพราะผิวเราควรได้รับสารบำรุงที่มีความหลากหลาย และต้องปราศจากสารก่อการระคายเคืองหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

บรรจุภัณฑ์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ถึงแม้ว่า Niacinamide จะเป็นวิตามินที่เสถียรมาก แต่สารแอนติออกซิแดนท์และวิตามินตัวอื่น ๆ ที่ใส่มาก็ควรได้รับการปกป้องจากแสงและออกซิเจนเป็นอย่างดี บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมยังช่วยลดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจก่ออันตรายกับผิวได้อีกด้วย





ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ



นี่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์บางส่วนที่กระผมเลือกมาเป็นตัวอย่างเนื่องจากมีคุณลักษณะที่ของผลิตภัณฑ์ที่ดีตรงตามมาตรฐานของปูเป้นั่นก็คือ

- มีปริมาณ Niacinamide ในระดับที่น่าประทับใจ

- บรรจุภัณฑ์เหมาะสม

- มีสารก่อการระคายเคืองต่ำ หรือแทบไม่มีเลย (บางตัวก็มีน้ำหอม บางตัวก็ไม่มีนะขอรับ)

- มีเนื้อค่อนข้างเบา เหมาะที่จะใช้เป็น Treatment และใช้ได้กับเกือบทุกสภาพผิว

ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Niacinamid มีอยู่เยอะแยะมากมาย แต่ตัวที่มีในปริมาณเข้มข้นมากจริง ๆ กลับมีตัวเลือกอยู่ไม่มากนัก แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายที่ไม่ได้อยู่ใน List ที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบ Ingredient List ด้วยตัวเองและเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม






ชื่อผลิตภัณฑ์ รีวิว และส่วนผสม เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา



Olay : Total Effect Anti-Aging Serum

เซรั่มเบสซิลิโคน + น้ำ ที่ลื่นผิวตัวนี้ให้ความชุ่มชื้นบางเบาและไม่ทิ้งความมันเยิ้มบนผิว เหมาะกับทุกสภาพผิว ส่วนผสมหลักคือ Niacinamide ซึ่งเป็นพระเอกของบทนี้ ตามมาด้วย Panthenol ให้ความชุ่มชื้น Tocopheryl Acetate ช่วยต้านอนุมูลอิสระ Camellia Sinensis Leaf Extract เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ลดความเสียหายจากรังสี UV และยังช่วยลดการระคายเคืองได้เหมือนกับ Allantoin

สูตรผสมที่นำมาให้ดูนี้เป็นสูตรของ USA ซึ่งสูตรที่ขายในไทยก็ใกล้เคียงกัน (แต่ทิ้งกล่องไปแล้ว) คงจะเหมาะกับผิว Sensitive กว่านี้ถ้าปราศจากน้ำหอม

ก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีราคาไม่แพงนัก ใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของได้

Ingredients :
Cyclopentasiloxane, Water, Glycerin, Polymethylsilsesquioxane, Niacinamide, Dimethicone, Dimethicone Crosspolymer, Panthenol, Butylene Glycol, Propylene Glycol, Tocopheryl Acetate, Camellia Sinensis Leaf Extract, Allantoin, Cetyl Ricinoleate, Bis-Peg/Ppg-14/14 Dimethicone, Peg-10 Dimethicone, Peg-10 Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Disodium Edta, Ethylparaben, Propylparaben, Methylparaben, Benzyl Alcohol, Fragrance


Olay : Regenerist Daily Regenerating Serum

พูดแบบง่าย ๆ แล้วนี่คือ Olay Total Effect Serum ที่เพิ่ม Peptide มาเป็นของตกแต่ง สูตรที่ขายใน USA นั้นปริมาณ Palmitoyl Pentapeptide-3 รวมถึงสารบำรุงตัวอื่นอย่าง Panthenol และ Camellia Sinensis Leaf Extract เข้มข้นกว่าของที่ขายในไทย ถ้าสามารถหาสูตรที่ขายที่อเมริกาหรืออังกฤษมาใช้ได้ก็จะดีกว่า

ลดเลือนริ้วรอยได้ไหม?... ปูเป้ว่ามันทำไม่ได้หรอกขอรับ แต่ถ้าไม่แพ้ส่วนผสมตัวใดในนี้เป็นพิเศษ...เซรั่มตัวนี้ก็ทำให้ผิวคุณแข็งแรงและดูดีขึ้นได้ เนื้อซิลิโคนนุ่มลื่นผิวดีก็มีโอกาสที่จะอุดตันผิวได้น้อย

โดยรวมแล้วก็เหมาะกับเกือบทุกสภาพผิว (อาจจะเว้นผิวแพ้ง่ายไปหน่อยตรงที่มันมีน้ำหอม)

Note : อันนี้ส่วนผสมของที่ขายในไทย

Ingredients :
Cyclopentasiloxane, Water, Glycerin, Polymethylsilsesquioxane, Niacinamide, PEG-10 Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Dimethicone Crosspolymer, Propylene Glycol, Butylene Glycol, Panthenol, Tocopheryl Acetate, Bis-PEG/PPG-14/14 Dimethicone, Benzyl Alcohol, PEG-10 Dimethicone, Cetyl Ricinoleate, Allantoin, Fragrance, Ethylparaben, Propylparaben, Disodium EDTA, Camellia Sinensis Leaf Extract, Peg-100 Stearate, Sodium Metabisulfite, Methylparaben, Palmitoyl Pentapeptide-3.


Note : อันนี้ส่วนผสมของที่ขายในอเมริกา

Ingredients:
Cyclopentasiloxane, Water, Glycerin, Polymethylsilsesquioxane, Niacinamide, Dimethicone, Dimethicone Crosspolymer, Panthenol, Butylene Glycol, Propylene Glycol, Palmitoyl Pentapeptide-3, Tocopheryl Acetate, Camellia Sinensis Leaf Extract, Allantoin, Cetyl Ricinoleate, Bis-Peg/Ppg-14/14 Dimethicone, Peg-100 Stearate, Peg-10 Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Disodium Edta, Sodium Metabisulfite, Ethylparaben, Propylparaben, Methylparaben, Benzyl Alcohol, Fragrance


Oriental Princess : Natural Intensive C Skin Boosting Serum

นี่คือผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ปูเป้ต้องเหลียวหลังกลับมามองแบรนด์ Oriental Princess เสียใหม่ เพราะมัน “เจ๋ง” จริง ๆ เรียกได้ว่าเป็นร่างแปลงของรุ่นพี่อย่าง Olay Total Effect Serum ก็ไม่ปาน จะบอกว่าก๊อปปี้ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะว่าเซรั่มเนื้อบางเบาตัวนี้นำหน้ารุ่นพี่ไปเสียแล้ว

เซรั่มเบสน้ำซึบซาบไวไม่ทิ้งความมันตัวนี้มีส่วนผสมของ Niacinamide แบบเข้มข้นสะใจ!!! (จนน่าจะเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์เป็น "Natural Intensive B3" แทน) ตามมาด้วยสารแอนติออกซิแดนท์อย่าง Alfalfa Extract ที่ยัดมาเยอะไม่แพ้กัน และแต่งแต้มส่วนที่เหลือด้วย วิตามินซีเสถียร วิตามินอี สารให้ความชุ่มชื้น กับสารลดความระคายเคือง โดยรวมแล้วเหมาะกับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะผิวมัน นี่สามารถใช้เป็นมอยซ์เจอไรเซอร์ไปในตัวได้เลย แต่ส่วนผสมของน้ำหอมอาจะทำให้ผิว sensitive คงต้องคิดให้ดีก่อนทดลองใช้

ของไทยทำใครว่าไม่ดี? ของถูกแล้วดีใครว่าไม่มี? ใครเถียงเอาเซรั่มขวดนี้ตบปากฉีกได้เลยขอรับ :P

Ingredients :
Water, Niacinamide, Isononyl Isononanoate, Medicago Sativa (Alfalfa) Extract, Glycerin, Polyacrylamide C13-14 Isoparaffin Laureth-7, Ammonium Acryloyldimethyl Taurate/ VP Copolymer, Ascorbyl Tetraisopalmitate, Simmondsia Chinensis (Jojoba) Oil, Methylparaben, Tocopheryl Acetate, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Bisabolol, Propylparaben, Disodium EDTA, Phenoxyethanol, BHT, BHA, Fragrance.


Oriental Princess : Natural Intensive C Repairing Night Serum

จากส่วนผสมบอกได้ว่ามันคือ Oriental Princess : Natural Intensive C Skin Boosting Serum ที่มีปริมาณ Niacinamide และ Alfalfa Extract น้อยกว่า แต่ให้ความชุ่มชื้นและมีปริสะทธิภาพในการเคลือบผิวมากกว่า ทางด้าน Retinol ปริมาณเล็กน้อยนี้ไม่น่าจะมีประโยชน์อะไรกับผิวสักเท่าไหร่

จริงๆ แล้วใช้ Natural Intensive C Skin Boosting Serum ตัวเดียวก็พอแล้วล่ะขอรับ เว้นแต่ว่าคุณต้องการความชุ่มชื้นเพิ่มเติมเป็นพิเศษเท่านั้น

เนื้อผลิตภัณฑ์มันกว่า Natural Intensive C Skin Boosting Serum เล็กน้อย ก็เหมาะกับผิวแห้งไปจนถึงผิวธรรมดา ผิวผสมก็พอไหวนะ...

Ingredients :
Water, Glycerin, Niacinamide, Polyacrylamide C13-14 Isoparaffin Laureth-7, Propylene Glycol, Dicaprylyl Carbonate, Ascorbyl Glucoside, Tocopheryl Acetate, Caprylic / Capric Triglyceride, Triethanolamine, Medicago Sativa (Alfalfa) Extract, Methyl Gluceth-10 , Simmondsia Chinensis (Jojoba) Seed Oil, Opuntia Ficus Indica Flower Extract, Ammonium Acryloyldimethyl Taurate/ VP Copolymer, Phenoxyethanol, Methylparaben, Bisabolol, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Retinol, Polysorbate 20, Propylparaben, Disodium EDTA, BHT, BHA, Fragrance.


DDF : Discoloration Reversal-Pod

Price : $70 / 28 Pods


DDF เป็นแบรนด์ในเครือ P&G เช่นเดียวกับ Olay ส่วนผสมหลัก ๆ ก็คล้ายกับ Total Effect หรือ Regenerist นั่นเอง (Niacinamide + Panthenol + Tocopheryl Acetate + Camellia Sinensis Leaf Extract)

ในเวอร์ชั่นของ DDF นี้มี Acetyl Glucosamine + Undecylenoyl Phenylalanine โดยขอมูลใน http://www.pgdermatology.com ที่เป็นเวปไซท์ของ P&G เองบอกไว้ว่าสามารถยับยั้งการผลิตเมลานินได้ แต่การทดสอบนี้ทำในหลอดทดลอง (In-Vitro) ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้แน่นอนว่าจะให้ผลเช่นเดียวกับเมื่อทาลงบนผิวมนุษย์จริง ๆ (แถม P&G ก็เป็นคนทดสอบเองด้วยอีกต่างหาก แล้วใครจะบอกว่าของตัวเองไม่ดีล่ะ)

ถึงเรื่องการลดเลือนจุดด่างดำจะยังเป็นที่กังขา แต่ Acetyl Glucosamine ก็เป็นสารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีสารแอนติออกซิแดนท์ สารต้านการระคายเคืองอีกหลายตัว เนื้อเซรั่มก็เป็นเบสน้ำและซิลิโคนที่ให้ความรู้สึกดี โดยบรรจุแยกเป็น Pod 28 ชิ้น (ใช้ 1 Pod ต่อ 1 ครั้ง) มาพร้อมกับ Exfoliating Pads ทีเหมือนฟองน้ำ

จัดได้ว่าเป็น Treatment ที่เหมาะกับทุกสภาพผิวโดยมี Niacinamide เป็นตัวเด่น แต่ราคาที่แพงโหดก็ทำให้คิดว่า “ใช้ Olay แทนจะดีกว่าไหมถ้าต้องการแค่ Niacinamide”

Ingredients :
Water, Cyclopentasiloxane, Polyethylene, Niacinamide, Glycerin, Dimethicone Crosspolymer, Acetyl Glucosamine, Isopropyl Lauroyl Sarcosinate, Polyacrylamide, Panthenol, Undecylenoyl Phenylalanine, Polysorbate 20, C13-14 Isoparaffin, Tocopheryl Acetate, Laureth-4, Laureth-7, Tocopherol, Caprylic/Capric Triglyceride, Macadamia Ternifolia Seed Oil, Retinyl Palmitate, Zea Mays (Corn) Oil, Beta-Carotene, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil, Ubiquinone, Palmitic Acid, Thioctic Acid, Mannitol, Glutamine, Aminopropyl Ascorbyl Phosphate, Acetyl Cysteine, Propyl Gallate, Ascorbic Acid, Dimethyl Sulfone, Camellia Sinensis Leaf Extract, Pyridoxine Hcl, Cyanocobalamin, Spirulina Platensis Extract, Glycyrrhiza Glabra (Licorice) Root Extract, Triethanolamine, Disodium Edta, Dmdm Hydantoin, Iodopropynyl Butylcarbamate, Butylene Glycol


SK-II : Facial Clear Solution

Price : $100.00 / 100 ml.

ประกอบไปด้วยน้ำยีสต์บูด (Pitera) + Niacinamide + Panthenol + Algae Extract…

นอกจาก Pitera แล้วไม่มีอะไรที่ Olay Total Effect Serum ให้คุณไม่ได้ แต่ถ้าคุณต้องการมอยซ์เจอไรเซอร์ที่มีเนื้องบางเบา ปราศจากน้ำหอม มี Niacinamid เยอะ และคุณรู้สึกว่า Pitera เป็นส่วนผสมสุดวิเศษ นี่ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีราคาแพงโหดใช่ย่อย

อาจจะไม่เหมาะกับผิวมันเท่าไหร่ เพราะมี Plant Oil แทรกมาด้วย

Ingredients :
Water, Saccharomycopsis Ferment Filtrate (Pitera), Butylene Glycol, Glycerin, Niacinamide, Dimethicone, Panthenol, Laminaria Saccharina Extract, Limnanthes Alba (Meadowfoam) Seed Oil, Dimethiconol, Sodium Hyaluronate, Cetyl Ethylhexanoate, Propylene Glycol, Acrylate/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Sodium Polyacrylate, Xanthan Gum, Carbomer, Polyglyceryl-3 Diisostearate, Ceteareth-30, Ceteareth-20, Ceteareth-12, Peg-20 Hydrogenated Castor Oil, Pvm/Ma Copolymer, Aminomethyl Propanol, Benzyl Alcohol, Disodium Edta, Sodium Benzoate, Methylparaben, Propylparaben


Paula’s Choice : Skin Balancing Toner

Price : $14.95 / 177 ml.

โทนเนอร์ตัวนี้มี Niacinamide มาเป็นอันดับสี่ แต่เนื่องจากธรรมชาติของโทนเนอร์จะประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ ความเข้มข้นของ Niacinamide ในนี้ก็ไม่น่าจะเกิน 2 % แต่ก็ยังถือว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มี Niacinamide เยอะในระดับหนึ่งเลยสามารถใช้เป็น Treatment ได้เหมือนกันแหล่ะ นอกจากนี้ยังมีสารต้านการระคายเคือง Water–binding และ Lipid อีกหลายตัว ที่สำคัญคือเนื้อผลิตภัณฑ์ไม่ทำให้หน้าเหนียวเหนอะหนะจึงเหมาะกับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวมันหรือเป็นสิวง่าย

Ingredients :
Water, Glycerin, Butylene Glycol (water-binding agents), Niacinamide (vitamin B3/cell-communcating ingredient), Adenosine Triphosphate (cell-communicating ingredient/skin conditioning agent), Anthemis Nobilis (Chamomile) Flower Extract (anti-irritant), Arctium Lappa (Burdock) Root Extract (antioxidant), Hydrolyzed Jojoba Esters, Hydrolyzed Vegetable Protein (skin conditioning agents), Sodium PCA, Panthenol, Sodium Hyaluronate (water-binding agents), Sodium Chondroitin Sulfate (skin conditioning agent), Ceramide 3, Ceramide 6 II, Ceramide 1, Phytosphingosine, Cholesterol (lipid-based water-binding agents), Tetrahexyldecyl Ascorbate (vitamin C/antioxidant), Oleth-10, DEA-Oleth-10 Phosphate, Sodium Lauroyl Lactylate (emulsifiers), Polysorbate-20 (skin conditioning agent), Caprylyl Glycol, Hexylene Glycol (preservatives), Sodium Citrate (pH adjuster), Carbomer (gel-based thickener), Xanthan Gum (thickener), Trisodium EDTA (chelating agent), Phenoxyethanol (preservative).

Skincare Basic 9.2

Vitamin A
จากที่บอกไปในบทก่อนแล้วว่าสารกลุ่ม Vitamin A นอกจากจะเป็นสารแอนติออกซิแดนท์แล้ว ยังมีประโยชน์ด้านอื่นที่น่าสนใจอีกมากซึ่งต้องมาศึกษาเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องลึกกันต่อไป

Retinol คงเป็นชื่อที่เราได้ยินกันบ่อยมากที่สุด และก็มีความสับสนคลุมเครือมากด้วยเหมือนกัน สับสนมากจนกระทั่งมีคนเข้าใจว่า Retinol เป็นสารกลุ่มวิตามินเอที่มีประสิทธิภาพสูงสุด... ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

กระผมจึงได้ทำการรวบรวมและสรุปข้อมูลสำคัญเพื่อให้ทุกท่านได้อ่านและทำความเข้าใจกันมากขึ้น

Retinoid คืออะไร?


Retinoid เป็นชื่อกว้าง ๆ ของ “สารกลุ่มกรดวิตามินเอ” หรือ “All Trans-Retinoic Acid” สารกลุ่มนี้ได้แก่ Tretinoin (Retin-A, Renova), Isotretinoin (Isotrex), Tazarotene (Tazorac) และ Adapalene (Differin)

สารกลุ่ม Retinoid นี้ทำงานโดยการกระตุ้น Retinoid Receptors ในเซลล์ของเรา เพื่อเสริมกระบวนการ Turnover ของเซลล์ กระตุ้นการสร้างคอลาเจนและอีลาสติน ทำให้เซลล์ผิวทำงานเป็นปกติ ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาสิวและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแสงแดด

สารกลุ่ม Retinoid มีประสิทธิภาพมากก็จริง แต่ในทางกลับกันมันก็ก่อผลข้างเคียงและอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ได้หากใช้อย่างไม่ถูกวิธี นี่เป็นเหตุผลให้สารกลุ่ม Retinoid ถูกขึ้นทะเบียบเป็น “ยา” และต้องจ่ายให้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่สามารถผสมใน “เครื่องสำอาง” ได้




แล้ว Vitamin A ที่ใส่ในเครื่องสำอางมีประสิทธิภาพเทียบเท่า Retinoid รึเปล่า?
 
 





สารกลุ่ม Vitamin A ที่พบบ่อยในเครื่องสำอางมีอยู่สามตัวคือ Retinyl palmitate, Retinol, Retinaldehyde (Retinal) ซึ่งผิวไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง จะต้องผ่านกระบวนการแตกตัวเพื่อกลายเป็น Retinoic Acid (Tretinoin) เสียก่อน ผิวจึงจะนำไปใช้ได้

แต่ไม่ใช่สารในกลุ่มวิตามินเอทั้งสามตัวจะมีประสิทธิภาพเท่ากันหมด เพราะ Retinyl palmitate จะต้องแตกตัวกลายเป็น Retinol ก่อนแล้วค่อยแตกตัวอีกทีเป็น Retinaldehyde และสุดท้ายจึงแตกตัวเป็น Retinoic acid ผิวถึงนำไปใช้ได้ตามผังข้างล่างนี้


Retinyl palmitate --> Retinol --> Retinaldehyde --> Retinoic acid (Retinoid)


ดังนั้นถ้าเราทาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Retinyl palmitate ลงไปบนผิว มันต้องแตกตัวถึง 3 ครั้งกว่าผิวจะนำไปใช้ได้ และไม่มีผลการทดสอบใดสามารถยืนยันได้ว่า Retinyl Palmitate จะมีประโยชน์กับผิวในด้านอื่นนอกจากเป็นสาร Antioxidant

Retinol กับ Retinaldehyde ต้องผ่านการแตกตัวแค่ 2 และ 1 ขั้นตอนตามลำดับ จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า Retinyl palmitate นอกจากนี้ Retinol กับ Retinaldehyde ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถกระตุ้นการสร้างคอลาเจนได้จริง (ทดสอบโดยใช้ Retinol 1% และ Retinaldehyde 0.5%)

แต่การทา “เครื่องสำอาง” ที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde 0.5% ลงไปบนผิว กว่ามันจะแตกตัวจนกลายเป็น Tretinoin ที่ผิวนำไปใช้ได้ ก็คงเหลืออยู่ในปริมาณไม่มากนัก ซึ่งไม่มีทางเทียบกับการทา “ยา” Tretinoin 0.5% ลงไปบนผิวโดยตรงอย่างแน่นอน

สรุปคือ “เครื่องสำอาง” ไม่สามารถมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า “ยา” ได้นั่นเอง

(Reference : Varani J, Warner RL, Gharaee-Kermani M, Phan SH, Kang S, Chung JH, et al. Vitamin A antagonizes decreased cell growth and elevated collagen-degrading matrix metalloproteinase and stimulates collagen accumulation in naturally aged human skin. J Invest Dermatol 2000;114:480-486., Creidi P, Vienne MP, Ochonisky S, Lauze C, Turlier V, Lagarde JM, et al. Profilometric evaluation of photodamage after topical retinaldehyde and retinoic acid treatment. J Am Acad Dermatol 1998;39:960-965.)


ในเมื่อ Vitamin A ในเครื่องสำอางมีประสิทธิภาพน้อยกว่า... ทำไมไม่เลือกใช้ยากลุ่ม Retinoid ไปเลยล่ะ?


ถ้าคุณสามารถใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้โดยไม่มีปัญหาอะไรก็ถือว่าโชคดีไป แต่ไม่ใช่ทุกคนสามารถทนกับการ Treatment ด้วยยากลุ่ม Retinoid ได้ เพราะมีโอกาสแพ้หรือระคายเคืองได้มากพอดู และในต่างประเทศ การซื้อยากลุ่ม Retinoid มาใช้ก็ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น (ไม่เหมือนกับเมืองไทย ที่มีเงินก็ไปซื้อตามร้านขายยาด้วยตนเองได้เลย) เครื่องสำอางที่ผสม Retinol กับ Retinaldehyde จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้

(เครื่องสำอางที่ผสม Retinol และ Retinaldehyde ในความเข้มข้นที่เหมาะสม มักมีราคาแพงกว่ายา Retinoid ใครที่ใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้ก็ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเครื่องสำอางแพง ๆ หรอกนะขอรับ)



Retinol กับ Retinaldehyde ในเครื่องสำอางไม่ก่อการระคายเคืองจริงหรือเปล่า?


ไม่จริงเลย... เพราะทั้ง Retinol และ Retinaldehyde ที่มีความเข้มข้นมากพอจะสามารถก่อให้เกิดการระคายเคือง ผิวลอก แดง แห้ง ได้เหมือนกัน (แต่ก็น้อยกว่ายากรดวิตามินเอ) บริษัทเครื่องสำอางส่วนใหญ่จึง “โกง” โดยการโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของเขามี Retinol เข้มข้น แต่จริงแล้วกลับใส่ไปน้อยนิดเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการระคายเคือง




ลักษณะของผลิตภัณฑ์ Retinol และ Retinaldehyde ที่ดีควรเป็นอย่างไร


บรรจุภัณฑ์เหมาะสม


บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าสารกลุ่มนี้เสื่อสลายได้ง่ายเมื่อโดนแสงและอากาศ ให้เลือกบรรจุภัณฑ์แบบขวดปั้มทึบแสง (แบบปั้มสุญญากาศจะดีมาก) และหลอดบีบทึบแสง (หลอดอลูมิเนียมปลายแคบจะดีที่สุด)

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde ที่บรรจุในกระปุกหรือบรรจุภัณฑ์แบบใส โปร่งแสง จะเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

ความเข้มข้นพอเหมาะ


ความเข้มข้นสูงสุดของ Retinol และ Retinaldehyde ที่สามารถใส่ในเครื่องสำอางได้คือ 1% แต่เครื่องสำอางทั่วไปมักใส่สารกลุ่มวิตามิน A มาในปริมาณน้อยมากซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการเป็นแอนติออกซิแดนท์ ถ้าต้องการได้รับประโยชน์จาก Retinol และ Retinaldehyde อย่างเต็มที่ ควรเลือกแบบที่ระบุความเข้มข้นเอาไว้ด้วย โดยความเข้มข้นของ Retinol ที่แนะนำก็คือ0.5% ส่วน 1% ที่เป็นความเข้มข้นสูงสุดนั้นก็ก่อการระคายเคืองได้ง่าย ผู้ที่เริ่มใช้ควรเริ่มจากความเข้มข้นต่ำก่อน จึงค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผสม Retinaldehyde (Retinal) จะหายากหน่อย แต่จากการหาข้อมูลก็พบผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งบอกความเข้มข้น 0.1% ซึ่งได้แสดงในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านล่างนี้

ปราศจากสารก่อการระคายเคือง


สารกลุ่มวิตามินเอที่มีความเข้มข้นเหมาะสมอาจก่อการระคายเคืองได้อยู่แล้ว เราคงไม่อยากเพิ่มสารก่อการระคายเคืองลงไปเพื่อทำให้ผิวเราย่ำแย่อย่างแน่นอน



ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ


นี่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์บางส่วนที่กระผมเลือกมาเป็นตัวอย่างเนื่องจากมีคุณลักษณะที่ของผลิตภัณฑ์ที่ดีตรงตามมาตรฐานของปูเป้นั่นก็คือ

- มีปริมาณ Retinol หรือ Retinaldehyde ในระดับที่น่าประทับใจ

- บรรจุภัณฑ์เหมาะสม สามารถเก็บรักษา Retinol หรือ Retinaldehyde ให้คงทนได้นาน

- มีสารก่อการระคายเคืองต่ำ หรือแทบไม่มีเลย (บางตัวก็มีน้ำหอม บางตัวก็ไม่มีนะขอรับ)

- ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde ส่วนใหญ่จะมีเนื้อค่อนข้างเข้มข้นเหมาะกับผิวแห้งเสียเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง SkinCeuticals : Retinol 0.5 Refining Night Cream ที่เป็นเบสน้ำ + ซิลิโคน ที่พอจะใช้ได้กับทุกสภาพผิว

ผลิตภัณฑ์ Retinol หรือ Retinaldehyde ที่น่าสนใจหลายตัวไม่มีขายในไทยนะขอรับ กระผมขออภัยที่ไม่สามารถหาผลิตภัณฑ์ที่มีขายในไทยมานำเสนอมากกว่านี้ได้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องฐานข้อมูลส่วนผสมและเวปไซท์เครื่องสำอางในประเทศไทยแทบจะไม่มีการบอกส่วนผสมเอาไว้เลย

แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายที่ไม่ได้อยู่ใน List ที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบ Ingredient List ด้วยตัวเองและเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม






ชื่อผลิตภัณฑ์ รีวิว และส่วนผสม เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา


SkinCeuticals : Retinol 0.5 Refining Night Cream

Price : $ 42 / 30 ml.

SkinCeuticals ถูก L’Oreal ซื้อไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และก็ถือเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาด เพราะแบรนด์นี้มีสินค้าที่น่าสนใจหลายตัวทีเดียว

Retinol 0.5 Refining Night Cream มีส่วนผสมของ Retinol 0.5% มาในเบสครีมเบสน้ำและซิลิโคนที่เหมาะจะเป็น treatment ให้กับทุกสภาพผิว (ผิวมันก็น่าจะใช้ได้เพราะไม่มี Emollients กับ Thickener ที่น่าจะเป็นปัญหา) พ่วงมาด้วย Natural Moisturizing Factors ตัวเด็ด ๆ อย่าง Lecithin และ Ceramide ส่วน Phytosphingosine ทำหน้าที่เป็น Cell-Signaling Substance ให้เซลล์ผิวทำงานเป็นปกติ สารต้านการระคายเคืองที่พอจะมีประโยชน์จริง ๆ คงมีแค่ Bisabolol บรรจุภัณฑ์เป็นขวดปั้มทึบแสงจึงสามารถรักษา Retinol ให้เสถียรพร้อมใช้งานได้ยาวนาน...

ข้อเสียรึขอรับ?

ราคาของผลิตภัณฑ์ตัวนี้แพงกว่ายา Retinoid อยู่หลายเท่า แต่ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยา Retinoid ได้ และถ้าคุณต้องการผลิตภัณฑ์ที่แรงกว่านี้ SkinCeuticals ก็ยังมีแบบ Retinol 1% ให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย

Ingredients :
Water, Cyclomethicone, Cyclopentasiloxane, Dimethicone Crosspolymer, Dimethicone, Dimethiconol, Laureth-4, Laureth-23, Hydrogenated Lecithin, Butyrospermum Parkii (Shea Butter), Caprylic/Capric Triglyceride, Ceramide 2, Ceramide 3, Phytosphingosine, Cholesterol, Hypericum Perforatum Extract, Propylene Glycol, Allyl Methacrylate Crosspolymer, Polysorbate 20, Retinol, BHT, Sodium Polyacrylate, Dimethicone Peg-7 Isostearate, Glycerin, Polyacrylamide, C13-14 Isoparaffin, Laureth-7, Bisabolol, Rosa Canina Leaf Extract, Silybum Marianum Fruit Extract, Passiflora Incarnata Flower Extract, Chamomilla Recutita (Matricaria) Leaf Extract, Citric Acid, Methylisothiazolinone, Tetrasodium Edta

Neutrogena : Healthy Skin Anti-Wrinkle Cream

Price : $13.99 / 50 ml.

ของถูกและดีมีในโลก (แต่ดันไม่มีขายในไทยอีกแล้ว) Healthy Skin Anti-Wrinkle Cream เป็นมีเนื้อครีมเข้มข้นเหมาะกับผิวแห้งถึงผิวธรรมดา ปริมาณ Retinol ก็น่าประทับใจ มีสารสกัดชาเขียวเป็นแอนติออกซิแดนท์และต้านการระคายเคือง Panthenol เพิ่มความชุ่มชื้น Tocopheryl Acetate เป็นแอนติออกซิแดนท์ ปราศจากสีและน้ำหอม ที่เลิศมากคือบรรจุภัณฑ์แบบหลอดอลูมิเนียมทึบแสงที่ไม่คืนรูปซึ่งเก็บรักษา Retinol ได้เป็นอย่างดี

ผลิตภัณฑ์นี้สามารถทำให้ผิว Healthy ได้สมชื่อ แต่ถ้าจะให้ Anti-Wrinkle ยับยั้งการเกิดริ้วรอยได้นี่คงจะเป็นการฝันที่เกินเลยไปหน่อย

Ingredients :
Water, C12-15 Alkyl Benzoate, Glycerin, Cetyl Alcohol, Cetearyl Alcohol, Ethylhexyl Hydroxystearate, Dimethicone, Camellia Oleifera Extract, Retinol, Panthenol, Disodium EDTA, Tocopherol, Cetearyl Glucoside, Tocopheryl Acetate, Polysorbate 20, Triethanolamine, Methylparaben, Propylparaben, Butylene Glycol, Diazolidinyl Urea, BHT, Carbomer

ROC : Retin-Ox Multi-Correxion Day and Night

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่ได้ให้คุณแค่ Retinol เท่านั้น เพราะมีทั้งวิตามินซี (แอนติออกซิแดนท์) สารให้ความชุ่มชื้น (Glycerin + Panthenol) และสารต้านการระคายเคือง (Bisabolol) มาในเบสโลชั่นที่เหมาะกับผิวแห้งถึงผิวธรรมดา (แต่ผิวผสมที่ไม่เป็นสิวง่ายก็น่าจะพอไหวอยู่นะ ตบแป้งฝุ่นก็กลบความมันได้แล้ว) บรรจุภัณฑ์แบบหลอดบีบทึบแสงก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว โดยรวมก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมดีมากตัวหนึ่ง แต่จะดีกว่านี้ปราศจากน้ำหอม

จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่าพอใช้ไปสักประมาณสองเดือนเนื้อโลชั่นมันจะเปลี่ยนสี (คงเพราะวิตามินซีมัน Oxidize) ก็คงต้องใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำทุกวัน เพื่อที่มันจะได้หมดก่อนที่วิตามินจะเสื่อม

Ingredients :
Aqua, Isononyl Isononanoate, Glycerin, Steareth-2, Ascorbic Acid, Dimethicone, Cetyl Palmitate, Peg-8, Sorbitan Stearate, Butylene Glycol, Cetyl Alcohol, Steareth-21, Cyclopentasiloxane, Panthenol, Copper Gluconate, Magnesium Aspartate, Zinc Gluconate, Bisabolol, Retinol, Butyrospermum Parkii, Lactoferrin, Caprylyl Glycol, Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Hydroxyethyl Acrylate/Sodium Acryloyldimethyl Taurate Copolymer, Squalane, Sucrose Cocoate, Xanthan Gum, Polysorbate 60, Polysorbate 20, Sodium Hydroxide, Disodium Edta, Tocopherol, Bht, Bha, Chlorhexidine Digluconate, Phenoxyethanol, Methylparaben, Propylparaben, Potassium Sorbate, Parfum

Prescriptives : Skin Renewal Cream

Price : $ 60 / 30 ml.

อยากให้ Thai ELCA พิจารณาเอา Prescriptives กลับมาทำตลาดในไทยใหม่จริง ๆ เพราะเท่าที่ลองหาข้อมูลดู แบรนด์นี้มีผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมเยี่ยม ๆ หลายตัวเหมือนกัน ซึ่ง Skin Renewal Cream ก็เป็นหนึ่งในนั้น

ถึงราคาอาจจะแพงไปสักหน่อย แต่ครีมเข้มข้นหลอดนี้ก็มีของแถมอื่น ๆ นอกจาก Retinol อยู่มากมายเช่นสารสกัดจากพืชหลายตัวที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์และต้านการระคายเคือง รวมถึง Palmitoyl Oligopeptide ที่เป็น Cell-Signaling Substance สูตรผสมปราศจากสีและน้ำหอม อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

ขอติเล็กน้อยเกี่ยวกับ Clary Extract ที่มีองค์ประกอบของ Sclareolide ซึ่งเป็น Fragrance Component ที่อาจก่อการระคายเคืองได้ถ้าใส่มาเป็นลำดับต้น ๆ ของ Ingredient List แต่ดูแล้วในปริมาณน้อยแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรให้ต้องห่วง ถึงกระนั้น Clary Extract ก็ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าจะมีประโยชน์ในแง่ใดกับผิว

Ingredients :
Water, Cyclopentasiloxane, Polyethylene, Isopentyldiol, Polysilicone-11, Acrylamide/Sodium Acryloyldimethyltaurate Copolymer, Isopropyl Jojobate, Yeast Extract, Palmitoyl Oligopeptide, Glycine Soja (Soybean) Protein, Retinol, Sodium Rna, Triticum Vulgare (Wheat) Flour Lipids, Sigesbeckia Orientalis (St. Paul's Wort) Extract, Salvia Sclarea (Clary) Extract, Triticum Vulgare (Wheat) Germ Extract, Hordeum Vulgare (Barley) Extract, Morus Nigra (Mulberry) Root Extract, Scutellaria Baicalensis Extract, Vitis Vinifera (Grape) Fruit Extract, Sodium Hyaluronate, Pantethine, Tocopheryl Acetate, Glycine, Squalane, Glycerin, Jojoba Alcohol, Glyceryl Polymethacrylate, Propylene Glycol Alginate, Anthemis Nobilis (Chamomile), Propylene Glycol, Chamomilla Recutita (Matricaria), Acacia Senegal, Isohexadecane, Peg/Ppg-20/20 Dimethicone, Disodium Distyrylbiphenyl Disulfonate, Sodium Chloride, Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Peg-8, Polysorbate 40, Polysorbate 80, Polysorbate 20, Tromethamine, Carbomer, Phenoxyethanol, Methylparaben

SkinMedica : Retinol Complex

Price : $50 / 30 ml.

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีวิตามินเอมาให้ถึง 3 รูปแบบ และรูปแบบที่ดีที่สุดในนี้ก็คือ Retinol นอกจากนี้ก็มีวิตามินอีเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ส่วน Willowherb, Green Tea, Bisabolol ช่วยต้านการระคายเคือง อยู่ในเนื้อครีมที่อุดมไปด้วย Emollients จึงน่าจะเหมาะกับผิวแห้งถึงผิวธรรมดา ปราศจากสีและน้ำหอม บรรจุภัณฑ์เหมาะสม

น่าเสียดายที่หาซื้อในไทยไม่ได้ขอรับ :P

Ingredients :
Water, Cetyl Ethylhexanoate, Cetearyl Alcohol, Cetyl Phosphate, Retinyl Palmitate, Retinyl Acetate, Retinol, Oryza Sativa (Rice) Bran Extract (Tocotrienol), Tocopheryl Acetate, Tocopheryl, Epilobium Angustifolium (Canadian Willowherb) Extract, Camellia Oleifera (Green Tea) Extract, Bisabolol, Phytantriol, Sodium Polyaspartate, Glycine Soja (Soybean) Oil, Cyclomethicone, PEG/PPG-18/18 Dimethicone, Steareth-2,Caprylic/Capric Triglyceride, Allyl Methacrylates Crosspolymer, Butylene Glycol, Aminomethyl Propanol, Carbomer, Phenoxyethanol, Isobutylparaben, Butylparaben, Ethylparaben, Methylparaben, Propylparaben, Disodium EDTA

Eau Thermale Avene : Retrinal Cream 0.1%

Price : $63.95 / 30 ml.

ส่วนผสมค่อนข้าง Basic มาก เพราะไม่มีอะไรมากไปกว่าเบสครีม + Retinal (Retinaldehyde) + สี + สารกันเสีย แต่ก็ถือว่าเป็นผลิภัณฑ์ที่น่าสนใจถ้าคุณกำลังตามหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Retinaldehyde

Retrinal Cream 0.1% หาซื้อตามท้องตลาดทั่วไปไม่ได้เนื่องจากเขาทำการตลาดเอาไว้ว่าต้องจ่ายให้โดยแพทย์เท่านั้น (ไร้สาระเนอะ...) และตัวนี้ไม่มีขายในไทยด้วยขอรับ

Ingredients :
Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Mineral Oil (Parafinum Liquidum), Glyceryl Stearate, PEG-100 Stearate, Squalane, Propylene Glycol, Glycol Montanate, PEG-40 Hydrogenated Castor Oil, BHT, Butylparaben, Carbomer, Disodium EDTA, Phenoxyethanol, Prolylparaben, Red 33 (CI 17200), Retinal, Triethanolamine

Philosophy : Help Me

Price : $45 / 30 ml.

นี่เป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่งสำหรับผิวที่แห้งมากกกกกกกกกก เพราะมีส่วนผสมของ wax อยู่เยอะทีเดียว ผิวประเภทอื่นโดยเฉพาะผิวมันหรือเป็นสิวง่ายโปรดอย่าได้แหยม เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน....

บรรจุภัณฑ์แบบหลอดอลูมิเนียมนี้ก็ดีสำหรับการเก็บรักษา Retinol และการที่ไม่ผสมน้ำหอมมาด้วยทำให้มันอ่อนโยนขึ้นในระดับหนึ่ง แต่มันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า Retinol กับสารแอนติออกซิแดนท์อีกนิดหน่อย... กับราคาขนาดนี้คุณสามารถซื้อ Retin-A มาใช้ได้ประมาณชาติเศษ และยังมีประสิทธิภาพกว่าด้วย (แต่ก็ระคายเคืองได้ง่ายด้วยแหล่ะ)

Ingredients :
Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Emulsifying Wax, Glycerin, C10-30 Cholesterol/Lanosterol Esters, Cetyl Ricinoleate, Cetyl Alcohol, Dimethicone, Benzyl Alcohol, Cyclomethicone, Retinol, Tocopherol Acetate, Ascorbyl Palmitate, Acrylates Copolymer, Stearic Acid, Peg-10 Soya Sterol, Phenoxyethanol, Magnesium Aluminum Silicate, Methylparaben, Triethanolamine, Disodium Edta, Bisabolol, Bht

Alpha Hydrox : Retinol Night ResQ

Price : $14.99 / 30 ml.

มันคือร่างโคลนนิ่งของ Philosophy : Help Me เพราะส่วนผสมหลักนั้นเกือบเหมือนกันหมดเลย บรรจุภัณฑ์ก็เป็นหลอดอลูมิเนียมเหมือนกัน ปริมาณเท่ากัน แต่ราคาถูกกว่า 3 เท่า

ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ประหยัดกว่าสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งมากและเป็นสิวได้ยาก

Ingredients :
Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Emulsifying Wax, Glycerin, C10-30 Cholesterol/Lanosterol Esters, Cetyl Ricinoleate, Cetyl Alcohol, Dimethicone, Benzyl Alcohol, Cyclomethicone, Retinol, Tocopherol Acetate (Vitamin E), Ascorbyl Palmitate (Vitamin C), Acrylates Copolymer, Bisabolol, Peg-10 Soya Sterol, Magnesium Aluminum Silicate, Stearic Acid, Methylparaben, Phenoxyethanol, Bht, Disodium Edta, Propyl Gallate, Polysorbate 20, Triethanolamine
 

จากข้อมูลที่ได้นำเสนอมา ทุกท่านคงจะทราบแล้วว่า ถ้าสามารถใช้ยา Retinoid ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินแพงเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Retinol หรือ Retinaldehyde ราคาแพงมาใช้ให้กระเป๋าฉีกเล่น เพราะยากลุ่ม Retinoid มีราคาเริ่มต้นแค่เพียง 200 - 300 บาท แพงสุดก็ไม่เกิน 850 บาท

แต่หากไม่สามารถใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้ เครื่องสำอางที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde ก็เป็นทางเลือกที่ควรเก็บไว้พิจารณา