วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Skincare Basic 6.2

Detergent-Base Cleanser & Hybrid Cleanser

ผลิตภัณฑ์แบบ Detergent Base เป็นผลิตภัณฑ์แบบที่ต้องใช้ร่วมกับน้ำในการทำความสะอาด (Water-Soluble Cleanser) โดย Surfactant รับหน้าที่ในการทำความสะอาด... แล้วเจ้า Surfactant นี่คืออะไร? มันทำงานยังไง? กระผมจะขออธิบายแบบคร่าว ๆ ดีกว่า เพราะถ้าอธิบายแบบละเอียดมันจะชวนให้งงอย่างแรง



What is Surfactant?


Surfactant ย่อมาจากคำว่า SURFace ACTive AgeNT หรือในภาษาไทยเรียกว่า “สารลดแรงตึงผิว” ธรรมชาติของน้ำเป็นสารที่มีความตึง (Surface Tension) สังเกตว่าเมื่อสาดน้ำลงไปบนพื้นผิว มันจะเกาะเป็นหยด ๆ ไม่กระจายตัว เมื่อความตึงผิวของน้ำลดลงจึงทำให้น้ำสามารถแผ่ปกคลุมพื้นผิวได้ดีขึ้น (เพราะความฝืดมันลดลง) จึงทำให้ผิวเปียกได้ดีกว่าปกติ...แล้วการทำให้ผิวเปียกได้มากขึ้นมันดียังไงน่ะหรือ?

Surfactant นั้นเป็น Amphipathic molecule คือมีทั้งส่วนที่ “ไม่ชอบน้ำแต่ชอบน้ำมัน” (Hydrophobic) กับส่วนที่ “ชอบน้ำ”(Hydrophilic)


หลักการทำงานง่าย ๆ ของมันคือส่วนที่ชอบน้ำจะทำการจับน้ำ และส่วนที่ชอบน้ำมันจะทำการจับสิ่งสกปรกที่ไม่สามารถละลายน้ำอย่างพวกไขมัน ธรรมชาติของน้ำมันไม่ชอบน้ำจึงพยายามลอยไปอยู่เหนือน้ำ (อากาศ) ถ้าผิวเราไม่เปียกมันก็ทำความสะอาดได้ไม่ดียังไงล่ะขอรับ และเมื่อเราล้าง Cleanser ออกด้วยน้ำ สิ่งสกปรกและไขมันพวกก็จะลอยหลุดตามไปกับน้ำ กับ Cleanser ไหลลงท่อไป

ส่วนเรื่องประจุของสารทำความสะอาดนี่ขอข้ามไปดีกว่า เดี๋ยวจะงงกันมากไปกว่านี้...




สารทำความสะอาดที่ดี - สารทำความสะอาดที่ไม่ดี


สารทำความสะอาด (Surfactant) มีมากมายหลายตัว มีทั้งตัวที่อ่อนโยนทำความสะอาดได้ดีไม่ทำให้ผิวแห้งตึง และก็มีตัวที่อาจจะทำความสะอาดได้ดีแต่ทำให้ผิวแห้งตึงหรือระคายเคืองได้ง่าย

สารทำความสะอาดที่ใช้จะต้องอ่อนโยนเป็นหลัก เพื่อที่จะได้ไม่ไปทำให้ผิวแห้งตึงหรือระคายเคือง โดยกระผมได้ให้ข้อมูลสารทำความสะอาดแบบอ่อนโยนและแบบที่ควรหลีกเลี่ยงซึ่งพบได้บ่อยมาให้แล้วดังนี้
ตัวอย่างสารทำความสะอาดที่อ่อนโยน

Sodium Laureth Sulfate, Cocamidopropyl Hydroxysultaine, Tea-Cocoyl Glutamate, Lauramidopropyl Betaine, Sodium Cocyl Sarcosinate, Decyl Glucoside, Coco-Betaine, Sodium Cocoyl Glycite, Sodium Cocoyl Isethionate, Sodium Lauroamphoacetate

ตัวอย่างสารทำความสะอาดที่ควรหลีกเลี่ยง

Sodium Lauryl Sulfate, Sodium C14-16 Olefin Sulfonate ,Potassium Myristate, Myristic Acid, Lauric Acid, Soap Base


Moisturizing Agent

นอกจากสารทำความสะอาดจะต้องอ่อนโยนแล้ว สิ่งที่ Detergent-Base Cleanser ดี ๆ ควรจะมีก็คือ Moisturizing Agent เพื่อไม่ทำให้ผิวแห้งตึงหลังล้าง ตัวที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ Glycerin อาจจะมีส่วนผสมของ Emollients หรือ Oil ที่ปลอดภัยผสมมาบ้างก็ได้ (โดยเฉพาะ Detergent-Base Cleanser สำหรับคนผิวแห้ง)

หลักการในการเลือกและวิธีในการใช้ Detergent-Base Cleanser นั้นคล้ายกันจึงขออธิบายรวบในครั้งเดียวเพื่อความไม่เยิ่นเย้อ

ถ้าคุณมี
ผิวแห้งก็ควรใช้ Detergent-Base Cleanser ที่มีสารทำความสะอาดอ่อนโยนและต้องสารให้ความชุ่มชื้นอย่าง Glycerin มาให้เยอะหน่อย (เป็นอันดับที่ 1 – 2 ใน Ingredients List) จะมีส่วนผสมของ Emollient หรือ Oil มาก็ดีไม่น้อย

ถ้าคุณมี
ผิวธรรมดาก็ควรเลือก Detergent-Base Cleansให้มีสารให้ความชุ่มชื้นมาบ้าง (อันดับที่ 2 - 4) จะมี Emollient หรือ Oil ติดมาก็ไม่เป็นไร

ถ้าคุณมี
ผิวมันหรือเป็นสิว ก็ต้องมองหา Detergent-Base Cleans ที่ปราศจาก Emollient หรือ Oil (หรือจะมีบ้างก็ได้แต่ควรจะน้อยมาก ๆ

ถ้าคุณมี
ผิวผสม เป็นไปได้ควรเลือกใช้ Cleanser แยกกันเป็นส่วน ตรงไหนแห้งก็ใช้ Cleanser ที่เหมาะกับผิวแห้ง ตรงไหนมันหน่อยก็ใช้ Cleanser ที่เหมาะกับผิวมัน




How to use


การล้างหน้าด้วย ใช้ Detergent-Base Cleanser ก็มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1. ใช้น้ำอุ่นวักใส่หน้าให้เปียกก่อน

2. ใช้ Cleanser ปริมาณเท่าเหรียญ 5 บาท (หรือตามปริมาณที่ผู้ขายแนะนำ) นวดเป็นวงกลมให้ทั่วใบหน้าอย่างเบามือ เน้นบริเวณซอกจมูกและส่วนที่มันหน่อย อย่าลืมทำความสะอาดบริเวณไรผมและแนวกรามด้วย

3. ถ้าต้องเพิ่มระดับในการทำความสะอาดให้มากขึ้น ก็ใช้ผ้าขนหนูเนื้อนุ่ม ชุบน้ำอุ่นและบิดให้หมาด ๆ เช็ดหน้าเพื่อเอาสิ่งสกปรกที่ละลายหลุดติดมากกับ Cleanser ออกให้หมด

***Tips***
การใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นบิดหมาด ๆ ช่วยเช็ดทำความสะอาดผิวหน้า จะสามารถให้ผลได้เหมือนกับการใช้ Scrub ขัดผิวชนิดอ่อนโยนไปในตัว คุณจึงไม่ต้องซื้อ Scrub มาใช้เพิ่มให้เปลืองเงิน

4. ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น และตบท้ายด้วยน้ำเย็นเพื่อกระชับรูขุมขน (ถ้ากังวลว่าน้ำอุ่นจะทำให้รูขุมขนกว้างขึ้น)







ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Detergent-Base Cleanser (Water-Soluble Cleanser) ที่เห็นส่วนใหญ่จะมีเนื้อหลากหลายแบบดังนี้

- Soap Bar
- Soap-Free Bar Cleanser
- Foam Cleanser
- Gel Cleanser
- Self-Foaming Cleanser / Mousse Cleanser
- Cleansing Powder
- Hybrid



Detergent-Base Cleanser : Soap Bar



Appearance & Characteristic

เห็น Cleanser ที่เป็นก้อนก็อย่าได้ฟันธงว่ามันเป็นสบู่ (Soap) ในทันที เพราะบางทีมันอาจจะไมได้มีส่วนประกอบของสบู่เลยก็ได้ เราต้องมาดูส่วนผสมว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ถ้าคุณอ่าน Ingredients List แล้วเขาบอกว่า “Soap Base” แล้วล่ะก็ มันเป็น “สบู่” แน่นอน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเป็นดีไม่ว่าจะมีราคาเป็นพันเป็นหมื่นหรือก้อนละไม่กี่สิบบาทก็ตาม

ถ้าไม่บอกว่าเป็น Soap Base ก็ต้องมาดูว่ามันส่วนผสมของไขมันพืช (หรือสัตว์) ผสมเข้ากับสารที่เป็น “alkaline” หรือ “ด่าง” รึเปล่า เช่น Coconut Oil (fat) + Sodium Hydroxide (alkaline) หรือบางที Ingredients List ก็จะบอกมาเป็นสารที่ผ่านการผสมระหว่างไขมันกับด่างเรียบร้อยแล้ว เช่น Sodium Palmate, Sodium Cocoate, Sodium Palm Kernelate, Sodium Palmitate, Sodium Palm Kernelate, Sodium Tallowate เป็นต้น...

ค่า pH ของสบู่แบบนี้จะต้องไม่เกิน 10 (เพราะมันจะเป็นด่างแรงไปจนทำให้ผิวไหม้) แต่ก็ไม่ควรจะต่ำกว่านั้นมากเพราะทำให้มันไม่มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดเท่าไหร่ สบู่แบบโบราณนี้ไม่ควรใช้กับผิวทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหน้าหรือลำตัว...

สบู่แบบสมัยใหม่ที่ทำขายกันเป็นจำนวนมากนั้น จะใช้ Base Soap สำเร็จรูปเป็นเม็ด ๆ มาผสมกับหัวน้ำหอมกับส่วนผสมอื่น ๆ ตามชอบใจ ใส่ Titanium Dioxide เพื่อให้ก้อนสบู่ขาว หรือจะใส่สีอื่น ๆ เพื่อความสวยงามก็เห็นกันบ่อยไป

หลังจากนั้นสบู่ที่ผ่านการผสมแล้วจะผ่านเข้าสู่เครื่องบดละเอียดจึงค่อยผ่านเข้าสู่สายพานไปยังเตาหลอมจนออกมาเป็นแท่งยาว ๆ แล้วใบมีดก็จะตัดแท่งยาว ๆ เหล่างนี้เป็นบล็อกเล็ก ๆ เครื่องปั้มก็จะหยิบบล็อกสบู่เข้าไปสู่เครื่องอัด ปั้มมันให้ออกมาเป็นก้อนสบู่ที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เศษที่เหลือของการอัดก็จะนำกลับไปหลอมใหม่เพื่อผลิตสบู่ต่อไป...

สบู่ก้อนสมัยใหม่อย่างพวก Beauty bar ของ Dove นั้นอ่อนโยนกว่าสบู่ยุคหินจริง มีการใส่สารทำความสะอาดเพื่อทำให้สบู่ไม่จำเป็นต้องมีค่า pH เป็นด่างสูง แถมด้วยมอยซ์เจอไรเซอร์พวก Emollients เพื่อไม่ทำให้ผิวแห้งตึงมากเหมือนสบู่แบบเก่า แต่ยังไงมันก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการทำความสะอาดผิวอีกเหมือนกัน เพราะส่วนผสมของไขมันจะยังคงตกค้าง ทำให้ผิวดูหมองและอุดตันได้


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Soap Bar



Bad - Clinique : Facial Soap Mild

มันคือสบู่ยุคหินที่ควรอยู่ในพิพิธภัณฑ์มากกว่าบนเคาเตอร์เครื่องสำอางในยุคศตวรรษที่ 21

Ingredients :
Sodium Palmate/Cocoate Or Palm Kernelate, Water Purified, Petrolatum, Glycerin, Sodium Chloride, Trisodium Hedta, Titanium Dioxide, Iron Oxides, Yellow 5


Bad - Erno Laszlo : Sea Mud Soap, for Normal, Slightly Oily and Oily Skin

สบู่ก้อนธรรมดาที่ราคาไม่สมเหตุผล...

Sodium Tallowate มีโอกาสทำให้ผิวอุดตันและระคายเคือง เพราะมันได้มาจากไขมันสัตว์ + ด่าง

โคลนจากทะเลเดดซีไม่สามารถช่วยทำความสะอาดรูขุมขนหรือให้ความชุ่มชื้นกับเซลล์ผิวได้อย่างที่โฆษณา ส่วน Activated Carbon หรือ Activated Charcoal แบบ Cosmetics Grade นั้นมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความมันได้ดี (แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรถ้าเอามาใส่ในสบู่ก้อนแบบนี้ เอามาทำเป็น Mask พอกหน้ายังดีกว่า)

ที่เหลือก็คือน้ำหอมจำนวนมากกับ Fragrance Component ที่ไม่ดีต่อผิวอย่างเช่น Hexyl Cinnamic Aldehyde, Eugenol, Citronellol, Linalool

ไม่นับรวมพิธีกรรมล้างหน้าสุดพิสดารและยุ่งยากสุด ๆ ไม่รู้จะต้องใช้อะไรให้มันยุ่งยากและเสียเวลาขนาดนี้เพราะหวังว่ามันจะรักษาสิวได้...


Ingredients :
Sodium Tallowate, Sodium Cocoate, Water, Silt, Fragrance, Activated Carbon, Glycerin, Sodium Chloride, Pentasodium Penetate, Tetrasodium Etidronate, Hexyl Cinnamic Aldehyde, Eugenol, Citronellol, Linalool, Iron Oxides, Chromium Hydroxide Green, Titanium Dioxide


Bad - Dove : Beauty Bar

Sodium Cocoyl Isethionate เป็นสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนกับผิวดี แต่ Sodium Tallowate เป็นส่วนประกอบของสบู่ที่ได้จากไขมันสัตว์ + ด่าง ซึ่งอุดตันผิวได้ง่าย

ถึงจะอ่อนโยนกับผิวมากกว่าสบู่ก้อนแบบโบราณแต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้กับผิวหน้าอยู่ดี และกับผิวตัวก็อาจทำให้เกิดสิวได้เหมือนกัน...

Ingredients :
Sodium Cocoyl Isethionate, Stearic Acid, Coconut Acid, Sodium Tallowate, Water, Sodium Isethionate, Sodium Stearate, Cocamidopropyl Betaine, Sodium Cocoate Or Sodium Palm Kernelate, Fragrance, Sodium Chloride, Tetrasodium Edta, Tetrasodium Etidronate, Bht, Titanium Dioxide
Detergent-Base Cleanser : Soap-Free Bar Cleanser



Appearance & Characteristic

ของที่มาเป็นก้อนเหมือนสบู่ แต่จริง ๆ กลับไม่มีส่วนผสมของสบู่เลยก็พอมีให้เห็นกันบ้าง ส่วนใหญ่จะโฆษณาว่าเป็น Soap-Free Cleansing Bar อะไรประมาณนี้

Soap-Free Cleansing Bar พวกนี้ก็ใช้สารทำความสะอาดเหมือนกับพวกโฟมหรือเจลล้างหน้า เพียงแต่จะมีการเติม Thickeners หรือสารจำพวก Wax ลงไปเพื่อทำให้สามารถอัดเป็นก้อนได้

ผลิตภัณฑ์แบบนี้ถึงจะไม่มีส่วนผสมของ “สบู่” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะตะบี้ตะบันซื้อใช้ได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องเลือกก่อน เพราะสารทำความสะอาดก็มีทั้งตัวที่ดีและไม่ดี สารเติมแต่งก็มีทั้งก่อปัญหาและก่อการระคายเคืองได้



ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Soap-Free Bar Cleanser


Bad - Sisley : Soapless Facial Cleansing Bar

ตัวอย่างของ Soap-Free Cleansing Bar ที่ห่วยติดอันดับ... ก็ต้องนี่เลย

แค่เห็นสารทำความสะอาดก็ควรหลีกเลี่ยงแล้ว ไม่ต้องนับรวมสารสกัดจากพืชที่ก่อการระคายเคืองอย่างอื่นเลย แถมราคาก็แพงบรรลัยโลก...

Ingredients :
Potassium Lauryl Sulfate, Sodium Lauryl Sulfate, Zea Mays (Corn) Starch, Cetearyl Alcohol, Hydrogenated Castor Oil, Cocamidopropyl Betaine, Glycerin, Mineral Oil (Paraffinum Liquidum), Water, Calendula Officinalis Flower Extract, Titanium Dioxide, Potassium Phosphate, Styrax Benzoin Resin Extract, Boswellia Carterii Extract, Plantago Major Leaf Extract, Commiphora Myrrha Extract, Arctium Lappa Root Extract, Lactic Acid


Bad - Dermalogica : The Bar

สารทำความสะอาดอ่อนโยนก็จริง แต่ส่วนผสมอื่นที่ตามมามีทั้งสารสกัดจากพืชที่ก่อการระคายเคืองและ Fragrance Oil ที่เป็นฝันร้ายสำหรับผิว

แบบนี้ก็ไม่ Work อีกเช่นกัน...


Ingredients :
Sodium Cocoyl Isethionate, Dextrin, Cetyl Alcohol, Sodium Isostearoyl Lactylate, Lactic Acid, Sodium Lactate, Sucrose Cocoate, Sodium Lauroyl Lactylate, Polysorbate 60, Melaleuca Alternifolia Leaf Oil, Extracts Of: Melaleuca Alternifolia, Lavandula Angustifolia, Santalum Album Wood, Glycyrrhiza Glabra, Valerianna Officinalis, Curcuma Longa Root, Barberis Vulgaris, Citrus Grandis Fruit, Mangifera Indica Fruit; Avena Sativa Kernel Flour, Glycerin, Retinol, Ascorbic Acid, Tocopheryl, Allantoin, Essential Oils Of: Citrus Grandis Peel, Citrus Aurantium Dulcis, Citrus Aurantifolia; Caprylic/Capric Triglyceride, Isopropylparaben, Isobutylparaben Polyacrylamide, Butylparaben


Average - DHC : Pure Soap

Soap-Free Cleansing Bar ตัวนี้ไม่มีสีและน้ำหอม มีสารให้ความหวานอย่าง Sorbitol กับ Sucrose ช่วยให้ความชุ่มชื้น แต่สารทำความสะอาดอย่าง Myristic Acid และ Lauric Acid นั้นทำให้ผิวแห้งตึงจนเกินไปได้ นี่จึงเป็นตัวเลือกที่พอใช้ได้สำหรับผู้ที่มีผิวมันเท่านั้น ผิวชนิดอื่นโดยเฉพาะผิวแห้งคงไม่ค่อย Enjoy นัก

Ingredients :
Water, Sorbitol, Sucrose, Myristic Acid, Lauric Acid, Palmitic Acid, Stearic Acid, Butylene Glycol, Diglycerin, Isostearic Acid, Ricinus Communis (Castor) Seed Oil, Olea Europaea (Olive) Fruit Oil, Sodium Chloride, Aloe Barbadensis Leaf Juice, Polyquaternium-6, Glycerin, Tetrasodium Etidronate, Trisodium Hedta


Detergent-Base Cleanser : Foam Cleanser



Appearance & Characteristic

Foam Cleanser เป็นที่นิยมมากในประเทศแถบเอเชีย เพราะอากาศร้อนชื้นทำให้ผิวรู้สึกเหนอะหนะ ผู้บริโภคจึงมักหา Cleanser ที่ทำให้รู้สึกว่าล้างแล้วรู้สึกสะอาดไม่เหลือความมันตกค้าง สารทำความสะอาดที่นิยมใช้กันคือ Potassium Myristate กับ Myristic Acid ที่ให้ฟองเยอะและละเอียด แต่ทำให้ผิวแห้งตึงและระคายเคืองได้

Foam Cleanser บางตัวนั้นถูกปรุงสูตรขึ้นมาอย่างดีโดยการใส่สารให้ความชุ่มชื้นมาเพิ่มเพื่อลดผลข้างเคียงจากสารทำความสะอาดกลุ่มนี้ลง ทำให้ Foam Cleanser ที่มีส่วนผสมดีเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน สำหรับผิวแห้งก็ต้องมองหา Foam Cleanser ที่มีส่วนผสมของสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนกว่าหน่อยและก็มีสารให้ความชุ่มชื้นมากเป็นพิเศษ


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Foam Cleanser

Good - Vichy : Purete Thermale Detoxifying Rinse-Off Foam Cleanser

ต้องขอบคุณที่สารทำความสะอาดถูก List มาเป็นอันดับสามเป็นต้นไป และมี Glycerin ช่วยให้ความชุ่มชื้นเป็นอันดับที่สอง ทำให้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่ทำให้ผิวแห้งตึงจนเกินไปหลังล้าง แต่อย่างไรก็ดี มันก็เหมาะกับผิวธรรมดาถึงมันมากกว่าจะเหมาะกับผิวแห้ง

ส่วนผสมที่เหลือก็ไม่มีปัญหาอะไร ยกเว้นน้ำหอมที่กระผมคิดว่ามันเหมาะกับผิว Sensitive ตรงไหน ?

Ingredients :
Water, Glycerin, Potassium Myristate, Palmitic Acid, Myristic Acid, Potassium Laurate, Potassium Palmitate, Potassium Stearate, Sodium Cocoyl Glycinate, Lauric Acid, Peg-32 Stearate, Peg-6 Stearate, Butylene Glycol, Stearic Acid, Isobutylparaben, Soybean Oil, Methylparaben, Phenoxyethanol, Disodium Edta, Tocopherol, Propylparaben, Ubiquinone, Ethylparaben, Butylparaben, Fragrance


Good - Pond's: Age Miracle Facial Foam (ไม่มีรูป เพราะหายากจัด...)

มีส่วนผสมของ Glycerin เป็นอันดับแรกและตามมาด้วยสารทำความสะอาดที่อ่อนโยน นี่จึงเป็น Foam Cleanser ที่น่าสนใจมากถ้าคุณมีผิวแห้งถึงผิวธรรมดา

ข้อเสียของมันคือออกจะมีน้ำหอมกับส่วนผสมที่ไร้ประโยชน์เยอะเกินไปหน่อย และสารกันเสียแบบ Formaldehyde-Releasing ในรูป DMDM Hydantoin ก็ไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิว Sensitive เลย แต่ราคาที่ไม่แพงนักทำให้มันเป็นตัวเลือกที่ดีเกินกว่าจะตัดทิ้งไปง่าย ๆ

Ingredients :
Glycerin, Water, Sodium Cocoyl Glycinate, Glycol Distearate, Lauramidopropyl Betaine, Stearic Acid, Sodium Methyl Cocoyl Taurate, Disodium Lauriminodiacetate, Citric Acid, Ceteth-20, Silica, Polyquatermium-39, Perfume, DMDM Hydantoin, Carbomer, Silica/CI 73360, Butylene Glycol, Isomerized Linoleic Acid, Cetyl Alcohol, Acetamide MEA, Iodopropynyl Butylcarbamate, Ammonium Lactate, Retinyl Palmitate, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil, BHT


Average - Estee Lauder : Perfectly Clean Splash Away Foaming Cleanser

เป็นโฟมล้างหน้าที่พรากความชุ่มชื้นและน้ำมันออกไปจากผิวคุณได้ดี (จนเกินไป) เพราะมีสารทำความสะอาดกลุ่ม Potassium มากไปหน่อยและ Glycerin ก็ใส่มาไม่เยอะพอ ถ้าคุณไม่ได้มีผิวมันมากล่ะก็หลีกเลี่ยงเอาไว้จะเหมาะที่สุด...

Ingredients :
Water, Potassium Myristate, Glycerin, Butylene Glycol, Potassium Behenate, Sodium Methyl Cocoyl Taurate, Potassium Palmate, Potassium Laurate, Potassium Stearate, Polygala Senega Root Extract, Nymphaea Alba Root Extract, Berberis Vulgaris Extract, Dipotassium Glycyrrhizate, Caffeine, Sodium Pca, Sodium Hyaluronate, Trehalose, Sucrose, Urea, Cetearyl Alcohol, Peg-3 Distearate, Polyquaternium-51, Fragrance, Disodium Edta, Chlorphenesin, Benzoic Acid, Phenoxyethanol, Methylparaben, Propylparaben


Bad - Shiseido : Pureness Deep Cleansing Foam

Foam Cleanser ตำรับเอเชียส่วนใหญ่มักจะมีส่วนผสมแบบนี้ ทำให้ผิวแห้งตึงจนเกินไปและรบกวนสมดุลผิวมากไปหน่อย

ที่แย่หนักกว่าคือส่วนผสม Menthol ที่ซ้ำเติมผิวที่แห้งหลังการล้างให้ระคายเคืองมากขึ้นไปอีก

Ingredients :
Water, Potassium Stearate, Peg-8, Potassium Myristate, Glycerin, Butylene Glycol, Potassium Laurate, Stearic Acid, Glyceryl Stearate Se, Myristic Acid, Sorbitol, Lauric Acid, Poloxamer 184, Beeswax, Sodium Lauryl Glycol Carboxylate, Sodium Methyl Cocyl Taurate, Polyethylene, Menthol, Trisodium Hedta, Magnesium Aluminum Silicate, Talc, Ethylcellulose, Disodium Edta, Peony Root Extract, Rosemary Extract, Benzoic Acid, Fragrance, Zinc Oxide, Ultramarines, Iron Oxides

Detergent-Base Cleanser : Gel Cleanser



Appearance & Characteristic

Gel Cleanser ไม่จำเป็นต้องใสเสมอไป บางทีมันก็ขุ่นและข้นจนเกือบคล้ายโลชั่นได้เหมือนกัน ปกติแล้ว Gel Cleanser จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า Foam Cleanser เพราะมักใช้สารทำความสะอาดกลุ่มอื่นที่ไม่ใช้ Potassium แต่อย่างไรก็ดี คุณก็ต้องนึกเสมอว่าสารทำความสะอาดอื่น ๆ นอกจากกลุ่ม Potassium ก็ยังมีตัวที่ก่อการระคายเคืองได้เหมือนกัน จึงจำเป็นที่จะต้องอ่าน Ingredients List ก่อนซื้อทุกครั้ง

ผิวธรรมดาถึงผิวมันดูจะเหมาะกับ Cleanser แบบ Gel มากกว่าผิวแห้ง และ Gel Cleanser ที่โฆษณาว่าทำมาเพื่อผิวแห้งก็มักจะไม่เหมาะกับผิวแห้งจริง ๆ สักเท่าไหร่... แต่ Gel Cleanser สำหรับผิวมันก็มักใส่ส่วนที่ก่อการระคายเคืองอย่าง Menthol มาบ่อย ๆ (ทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้ช่วยลดความมันหรือช่วยทำความสะอาดเลย) หรือไม่ก็ใส่สารทำความตัวที่รุนแรงเกินไป


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Gel Cleanser



Good - ROC : Enydrial Anti-Drying Cleansing Gel

มี Glycerin เป็นอันดับสองและสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนอย่าง Sodium Laureth Sulfate แต่สารทำความสะอาดตัวนี้ดูจะเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมันมากกว่า ผิวแห้งมากอาจจะรู้สึกตึง ๆ บ้างหลังล้าง

Panthenol ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นมาให้บ้าง ปราศจากน้ำหอมก็เป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีกว่านี้ถ้าไม่ผสมสี โดยรวมก็ถือว่าเป็นเจลล้างหน้าที่อ่อนโยนตัวหนึ่ง และมีราคาไม่แพงเกินไปนัก

Ingredients :
Aqua, Glycerin, Sodium Laureth Sulfate, Sodium Cocoyl Isethionate, Ammonium Laureth Sulfate, Lauryl Betaine, Lauryl Glucoside, Sodium Chloride, Styrene/Acrylates Copolymer Panthenol, Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Sodium Citrate, Yellow 203, Red 504, Blue 1, Methylparaben, Polyquaternium-39, Citric Acid, Glycol Distearate, Tetrasodium Edta, Sodium Hydroxide, Polyquaternium-7, Cocamide Mea, Laureth-10, Sodium Lauryl Sulfate, Sodium Benzoate


Good - Laura Mercier : Oil-Free Gel Cleanser

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าแบรนด์ที่เน้น Makeup จะทำ Skincare ออกมาได้ดีขนาดนี้ ถึงราคาจะแพงโอเวอร์เกินไปมากแต่ก็ต้องยอมรับว่าส่วนผสมนั้นยอดเยี่ยมจริง ๆ

สารทำความสะอาดทุกตัวนั้นอ่อนโยนและดูจะเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน มีสารให้ความชุ่มชื้นและสารต้านการระคายเคืองมาเป็นเข่ง แถมยังปราศจากน้ำหอมด้วย

แต่กระผมว่าไม่ต้องลงทุนหนาดนี้เพื่อการล้างหน้าหรอกขอรับ เว้นแต่ถ้าป้ายราคาหลักพันสำหรับเจลล้างหน้าขนาด 240 ml.ไม่ทำให้คุณตาเหลือก

Ingredients :
Water, Sodium Laureth Sulfate, Lauramidopropyl Betaine, Cocamidopropyl Hydroxysultaine, Decyl Glucoside, Peg-7 Glyceryl Cocoate, Butylene Glycol, Sodium Lauroyl Oat Amino Acids, Glucosamine Hcl, Algae Extract, Yeast Extract, Urea, Polyquaternium-7, Triclosan, Peg-60 Almond Glycerides, Allantoin, Saccharide Isomerate, Panthenol, Aloe Barbadensis Leaf Juice, Glycerine, Prunus Amygdalus Dulcis (Sweet Almond) Protein, Hydrolyzed Oat Protein, Hydrolyzed Jojoba Protein, Sodium Hyaluronate, Triticum Vulgare (Wheat) Germ Extract, Saccharomyces Cerevisiae Extract, Cola Nitida (Kola) Seed Extract, Paullinia Cupana Seed Extract, Ilex Paraguariensis Leaf Extract, Benzophenone-4, Cucumis Sativus (Cucumber) Fruit Extract, Glycyrrhiza Glabra (Licorice) Root Extract, Copper Gluconate, Zinc Gluconate, Magnesium Gluconate, Manganese Gluconate Octyldodecanol, Retinyl Palmitate, Tocopheryl Acetate, Ethyl Linoleate, Ethyl Linolenate, Arachidyl Propionate, Lecithin, Peg-150 Distearate, Phenoxyethanol, Methylparaben, Disodium Edta, Propylparaben, Green 3


Average - Guerlain : Issima - Pure Dew Cleansing Foaming Gel

ส่วนผสมแบบนี้ถือว่าธรรมดามากขอรับ จริงอยู่ที่สารทำความสะอาดนั้นอ่อนโยนดี แต่มันก็ไม่ได้แตกต่างกับ Gel Cleanser ดี ๆที่ราคาไม่กี่ร้อยบาทสักเท่าไหร่

สิ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่น่าสนใจเท่าไหร่นักก็คือมีน้ำหอมเยอะไปหน่อย และ Water-Binding Agent ก็มีให้น้อยมาก (ทั้ง ๆที่แพงขนาดนี้)

Ingredients :
Water, Cocamidopropyl Betaine, Sodium Laureth Sulfate, Butylene Glycol, Sodium Chloride, Fragrance, Peg-120 Methyl Glucose Dioleate, Polysorbate 20, Tromethamine, Phenoxyethanol, Chlorphenesin, Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Methylparaben, Peg-2m, Tetrasodium Edta, Benzophenone-4, Ethylhexyl Glycerin, Propylene Glycol, Biosaccharide Gum-1, Peg-40 Hydrogenated Castor Oil, Aloe Barbadensis, Iris Florentina, Crataegus Monogina, Hydrolyzed Linseed Extract, Artemisia Capillaris, Yeast Extract, Blue 1, Red 33, Yellow 5


Bad - Dermalogica : AGE Smart Skin Resurfacing Cleanser

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ตัวนี้คือมี Lactic Acid มาเป็นอันดับสาม แถมทดสอบค่า pH ก็ได้ค่าประมาณ 3.5 – 4 ซึ่งเป็นกรดพอที่จะทำให้ AHA มีประสิทธิภาพได้ แถมสารทำความสะอาดก็อ่อนโยนดี... แต่ผลิตภัณฑ์ตัวนี้กระผมไม่ขอแนะนำให้ใช้อย่างแรง...

ถ้ามีคำว่า “อ้าว” ผุดขึ้นในใจเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็มาอ่านกันต่อว่าเพราะอะไร

เพราะว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้มี Fragrance Components กับ Fragrance Oil ที่ก่อการระคายเคืองและกระตุ้นอาการแพ้ได้ตามมาอีก 14 ตัว... (กระผมลองล้างที่หลังมือ ผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงอาการคันและแดงก็โผล่ให้เชยชมแล้ว โชคดีจริงๆที่ไม่ลองกับหน้า... และโชคดีมากที่เพื่อนให้ขนาด Sample มาลองก่อน... )

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ AHA มันไม่มีประโยชน์อะไรมากนักถ้าโผล่มาใน Cleanser เนื่องจากเราต้องทามันไว้นานหลายนาทีเพื่อให้มันออกฤทธิ์ได้ ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ดีเลยในการที่จะทิ้ง Cleanser ที่มีสารก่อการระคายเคืองเยอะแบบนี้ทิ้งเอาไว้บนผิว...

Ingredients :
Water, Sodium Laureth Sulfate, Lactic Acid, PPG-2 Hydroxyethyl Cocamide, Cocamidopropyl Betaine, Glyceryl Stearate Se, Poyacrylate-1, Crosspolymer, Tocopheryl Acetate, Titanium Dioxide, Disodium Edta, Benzyl Pca, Phenoxyethanol, Butylene Glycol, Citral, Citronellol, Eugenol, Farnesol, Geraniol, Hydroxycitronellal, Isoeugenol, Limonene, Linalool, Acorus Calamus, Aniba Rosaeodora (Rosewood) Wood Oil, Eugenia Caryophyllus (Clove) Flower Oil, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil, Pelargonium Graveolens Flower Oil, Rose Flower Oil, Citrus Medica Limonum (Lemon) Peel Oil/Extract, Caprylic/Capric Triglyceride

Bad - Neutrogena : Oil-Free Acne Wash

Sodium C14-16 Olefin Sulfonate เป็นสารทำความสะอาดที่รุนแรงเกินไปไม่ว่าคุณจะมีผิวแบบไหนก็ตาม สำหรับคนเป็นสิว การทำความสะอาดมากไปจะทำให้สิวย่ำแย่ลงได้

Salicylic Acid 2% นั้นคงไม่มีประโยชน์ถ้าคุณไม่ทิ้ง Cleanser เอาไว้บนหน้านานหลายนาที แต่การทิ้ง Cleanser ที่มีสารทำความสะอาดรุนแรงแบบนี้จะทำให้ผิวคุณระคายเคืองหนักกว่าเดิม

การที่ทาง Neutrogena โฆษณาว่านี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่แพทย์ผิวหนังแนะนำเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้กระผมอยากรู้จริง ๆว่าแพทย์ผิวหนังคนไหนบ้างที่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์แย่ ๆ แบบนี้...

Active Ingredients : Salicylic Acid 2%

Other Ingredients : Water, Sodium C14-16 Olefin Sulfonate, Cocamidopropyl Betaine, Sodium C12-15 Pareth-15, Sulfonate, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Anthemis Nobilis Flower Extract, Chamomilla Recutita (Matricaria) Flower Extract, Linoleamidopropyl Pg-Dimonium Chloride Phosphate, Disodium Edta, Propylene Glycol, Yellow 5, Red 40, Sodium Chloride, Fragrance




Detergent-Base Cleanser : Self-Foaming Cleanser


Appearance & Characteristic

ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ก็มาทำนองเดียวกับ Cleansing Gel นี่แหล่ะ เพียงแต่จะมีเนื้อเหลวกว่าเพื่อที่จะได้ปั้มขึ้นมาเป็นฟองได้ (ถ้ามันข้นไปมันจะปั้มเป็นฟองไม่ออก)

ถ้าคุณชื่นชอบ Cleanser แบบมีฟองแต่ขี้เกียจมาตีฟองเอง นี่ก็เป็นตัวเลือกที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้คุณได้อีกทางหนึ่ง การใช้ขวดปั้มก็ทำให้คุณกะปริมาณในการใช้ได้ง่ายขึ้นด้วย (แต่ก็อย่าลืมว่าราคามันก็จะแพงขึ้นเพราะขวดปั้มโฟมมันมีต้นทุนสูงกว่าธรรมดา)

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Self-Foaming Cleanser


Good - Boots : Botanics Complexion Refining Deep Clean Mousse

สารทำความสะอาดที่ใช้นั่นอ่อนโยนมาก จึงเหมาะกับผิวเกือบทุกประเภท เว้นผิว Sensitive เอาไว้หน่อยเพราะมีส่วนผสมของน้ำหอมและ Fragrance Component นิดหน่อย ผิวที่มันจริง ๆ ก็อาจจะต้องการ Cleanser ที่มีสารทำความสะอาดที่แรงกว่านี้อีกนิดนึง

Sodium Lauryl Sulfate ที่ห้อยมาท้าย ๆ ส่วนผสมแปลว่ามันมีน้อยมาก ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรกับผิว

Ingredients :
Water, Cocamidopropyl Betaine, Sodium Cocoamphoacetate, Glycerin, Sodium Chloride, Salix Nigra (Willow) Bark Extract, Sodium Citrate, Peg-120 Methyl Glucose Dioleate, Butylene Glycol, Citric Acid, Phenoxyethanol, Styrene/Acrylates Copolymer, Rosmarinus Officinalis (Rosemary) Leaf Extract, Methylparaben, Sodium Benzoate, Limonene, Fragrance, Tetrasodium Edta, Linalool, Sodium Lauryl Sulfate, Dipropylene Glycol, Sodium Hydroxide


Average - Biotherm : Biosource Foaming Invigorating Cleansing Water

ตัวนี้มีส่วนผสมในระดับพอใช้ สารทำความสะอาดอ่อนโยนดี แต่ดันใส่ Alcohol Denat. มา ถึงจะไม่ก่อปัญหาอะไรมากถ้าอยู่ใน Water-Soluble Cleanser แบบนี้ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรใส่มาอยู่ดี นอกจากนี้ก็ยังมีปริมาณน้ำหอมกับ Fragrance Component มาด้วยเหมือนกัน

Ingredients :
Water, Dipropylene Glycol, Sodium Laureth Sulfate, Alcohol Denat., Peg-200 Hydrogenated Glyceryl Palmate, Peg-30 Glyceryl Cocoate, Disodium Cocoamphodiacetate, Phenoxyethanol, Peg-7 Glyceryl Cocoate, Coco-Betaine, Sodium Chloride, Fragrance, Disodium Edta, Propylene Glycol, Methylparaben, Citric Acid, Magnesium Gluconate, Linalool, Butylparaben, Ethylparaben, Alpha-Isomethyl Ionone, Isobutylparaben, Propylparaben, Butylphenyl Methylpropional, Citronellol, Geraniol, Zinc Gluconate, Hexylene Glycol, Potassium Chloride, Copper Gluconate, Hamamelis Virginiana (Witch Hazel) Extract, Manganese Gluconate


Bad - Clinique : Foaming Mousse Cleanser

สารทำความสะอาดที่ใช้เป็นเบส Potassium ที่ทำให้ผิวแห้งตึงจนเกินไป แถมไม่มีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื้นมาให้อีกต่างหาก ถึงจะพยายามใส่ Chamomilla Recutita ช่วยต้านการระคายเคืองมาให้แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้ Cleanser ตัวนี้ดูดีขึ้นสักเท่าไหร่

Ingredients :
Water, Potassium Cocoyl Glycinate, Potassium Laurate, Hexylene Glycol, Peg-6, Potassium Myristate, Peg-32, Chamomilla Recutita (Matricaria), Bis-Peg-20 Dimethicone, Ppg-5-Ceteth-20, Bht, Disodium Edta, Phenoxyethanol, Methylparaben



Detergent-Base Cleanser : Cleansing Powder



Appearance & Characteristic

มีลักษณะเป็นผงแป้ง (ตอนที่เคยเห็นครั้งแรกนึกว่าผงซักฟอก) การจะนำไปใช้ต้องผสมน้ำสักหน่อยแล้วค่อยขยี้จนเกิดฟอง (หรือจะใช้ฟองน้ำช่วยตีฟองก็ได้) ความสะอาดของมือเป็นสิ่งสำคัญทีเดียว เพราะถ้ามือคุณสกปรกก็จะไม่สามารถตีฟองได้ (หรือได้แต่ก็น้อย) Cleanser ประเภทนี้เหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมันมากกว่าจะเหมาะกับผิวแห้ง (หรือแห้งมาก)

Cleanser แบบผงแป้งนี้มีขายอยู่น้อยแบรนด์เนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่างเช่น ไม่สะดวกในการใช้ ลำบากในการเก็บรักษา ต้องอย่าโดนน้ำหรือความชื้นเพราะจะจับเป็นก้อน ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง Foam Cleanser หรือ Gel Cleanser ที่ใช้สะดวกกว่า (และหาได้ง่ายกว่าด้วย)


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Cleansing Powder



Good - DHC : Washing Powder

ประกอบไปด้วยสารทำความสะอาดผสมเข้ากับผงแป้ง (Microcrystalline Cellulose และ Talc) มีสารปรับสภาพผิวมาให้นิดหน่อย

เอมไซม์จากมะละกอหรือ Papain นั้นมีอยู่น้อยนิด แถมมันก็ไม่เถียรเสียด้วยสิ ใส่มาก็ไม่มีประโยชน์หรอกนะ... แต่โดยรวมแล้วมันก็ไม่มีน้ำหอมหรือสารก่อการระคายเคืองอื่น ๆ ทำให้มันก็เป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่งถ้าคุณมีผิวธรรมดาถึงผิวมัน

Ingredients :
Sodium Cocoyl Isethionate, Microcrystalline Cellulose, Sodium Cocoyl Glutamate, Talc, Glucose, Sodium Myristoyl Glutamate, Hydrolyzed Wheat Flour, Hydrolyzed Soy Protein, Papain, Aloe Barbadensis Leaf Juice


Good - Oriental Princess : Hydra Intense Complex - Hydrating Cleansing Powder

สารทำความสะอาดทั้งสองตัวก็อ่อนโยนดี มีสารแอนติออกซิแดนท์และสารต้านการระคายเคืองมาด้วยนิดหน่อย ถึงมันจะไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่นักเพราะมันต้องถูกล้างออกไปแต่ก็ยังดีกว่าไม่มี ส่วน Imperata Cylindrica Root Extract นั้นยังไม่มีรายงานว่าเป็นมีประโยชน์อย่างไรกับผิว

เหมาะสำหรับคนผิวธรรมดาถึงผิวมัน และจะใช้เป็น Secondary Cleanser หลังจากใช้ Emollient-Base Cleanser ก็ดูเข้าทีไม่ใช่น้อย

Ingredients :
Sodium Cocoyl Glycinate, Sodium Laurylaminodiacetate, Tocophryl Acetate, Imperata Cylindrica Root Extract, Alo Barbadensis Extract, Green tea Extract, Cucumber Fruit Extract, Allantoin, Sodium PCA, Sodium Ascorbyl Phosphate, Fragrance, Methylparaben, Propylparaben


Average - The Body Shop : Moisture White Cleansing Powder

ส่วนผสมหลักเป็นผงแป้งแล้วค่อยตามด้วยสารทำความสะอาด ดูแล้วไม่น่าจะล้างพวก Makeup ได้เลย ใช้เป็น Secondary Cleanser หลัง Makeup Remover จะเหมาะกว่า

ผงแป้งล้างหน้ามักไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างกันเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ทำให้ตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ไม่ค่อยดีมากเท่าไหร่ก็เพราะว่ามีส่วนที่ไร้สาระไปนิด อย่างน้ำหอม ส่วนวิตามินซีเท่าหนวดมดมันจะไปช่วยให้ผิวขาวได้ตรงไหน...

Ingredients :
Talc, Microcrystalline Cellulose, Sodium Lauryl Phosphate, Sodium Cocoyl Glutamate, Sodium Lauroyl Glutamate, Lauramidopropyl Betaine, Sodium Cocoamphoacetate, Bentonite, Water, Dipotassium Glycyrrhizate, Fragrance, Lauryl Betaine, Sodium Lauroyl Methylaminopropionate, Magnesium Ascorbyl Phosphate, Sodium Chloride, Sodium Bicarbonate

 
Hybrid Cleanser



Appearance & Characteristic


Hybrid Cleanser เป็น Cleanser ที่ใช้ทั้งคุณสมบัติของ Emollient และ Detergent ในการทำความสะอาด มีลักษณะเนื้อออกไปทางเจลข้น ๆ กึ่งโลชั่น

ผลิตภัณฑ์แบบ Hybrid Cleanser มักจะอ่อนโยนเพราะจะมี Emollient ในปริมาณที่มากกว่า Detergent แต่นั่นก็หมายความว่ามันมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดไม่มากนัก จึงไม่เหมาะกับการทำความสะอาด Makeup หรือครีมกันแดดแบบกันน้ำ กันเหงื่อ หรือสารกันแดดแบบ Physical เท่าไหร่


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภท Hybrid Cleanser





Good - Cetaphil : Gentle Skin Cleanser

ส่วนผสมนั้นเบสิคมาก มีแค่น้ำ + Emollient + Slip Agent + Surfactant + Emollient + Preservatives

ปริมาณ Emollient ทำให้ผิวคุณไม่แห้งตึงหลังล้าง Surfactant จำนวนไม่มากก็ทำความสะอาดแบบอ่อน ๆ โดยรวมแล้วเหมาะกับผิวทุกประเภท แต่กับผู้ที่มีผิวมันและอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นแบบประเทศไทยก็คงไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นัก

สารทำความสะอาดปริมาณไม่มากทำให้มันมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาด Makeup ได้แย่มาก จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้แต่งหน้าหรือไม่ได้ใช้ครีมกันแดดแบบ Physical

สำหรับผู้ที่กังวลเรื่อง Sodium Lauryl Sulfate ก็ขอบอกว่ามันมีประมาณไม่มากหรอกขอรับ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับผิว แต่ถ้าต้องการเลี่ยงจริง ๆ ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ค้ลาย ๆ กันแต่ใช้สารทำความสะอาดที่ปลอดภัยกว่า เช่น Physiogel : Cleanser

Ingredients :
Water, Cetyl Alcohol, Propylene Glycol, Sodium Lauryl Sulfate, Stearyl Alcohol, Methylparaben, Propylparaben, Butylparaben


Good - Physiogel : Cleanser

นี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่คล้าย ๆ กับ Cetaphil : Gentle Skin Cleanserคือใช้คุณสมบัติการเป็น Emollients (PEG-4000 กับ Cetostearyl Alcohol) และสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนมาก (Sodium Cocoly Isethionate) ในการทำความสะอาด ซึ่งเหมาะกับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะผิวธรรมดาถึงผิวแห้งและผิวที่บอบบางระคายเคืองง่าย ข้อเสียอย่างเดียวขอมันคือมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดไม่มากพอที่จะล้างเครื่องสำอาง ครีมกันแดดแบบ Physical หรือแบบกันน้ำได้หมดจดเป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวอุดตันตามมาได้... จึงเหมาะที่จะเป็นคลีนเซอร์สำหรับล้างหน้าในตอนเช้าดีกว่า...

ใจดีให้มงกุฏไปครอง แต่ขอบอกหน่อยว่าถ้าไม่ผสมน้ำหอมคงจะดีกว่านี้สำหรับคนผิว sensitive

Ingredients :
Purified Water, PEG-4000, Cetostearyl Alcohol, Sodium Cocoly Isethionate, Disodium Hydrogen Phosphate, Citric Acid, Methylparaben, Proplyparaben, Butylparaben, Fragrance


Good - Boots : No 7 Beautifully Balanced Purifying Cleanser, for Oily or Combination Skin

จริงอยู่ว่านี่เป็นคลีนเซอร์ที่ดีตัวหนึ่ง แต่ไม่ได้วิเศษเลิศเลอขนาดที่ช่วยควบคุมการผลิตน้ำมันได้อย่างที่เขาโฆษณา

ดูจากหน้าที่ของส่วนผสมหลัก ๆ แล้วก็ไม่ได้แตกต่างกับ Physiogel : Cleanser หรือ Cetaphil : Gentle Skin Cleanser เท่าไหร่นัก ดังนั้น No 7 Beautifully Balanced Purifying Cleanser, for Oily or Combination Skin จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผิวธรรมดาถึงผิวมันที่ต้องการหา Cleanser ที่อ่อนโยน ไม่ทำให้ผิวแห้งตึง ปราศจากน้ำหอม และมีราคาไม่แพงนัก

แต่ด้วยความที่มันมีสารทำความสะอาดในปริมาณไม่มาก ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดจึงไม่สูงมากนัก (เหมือน Physiogel กับ Cetaphil) นี่จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้แต่งหน้า แต่งหน้าอ่อนมาก ๆ และไม่ใช้เครื่องสำอางแบบกันน้ำ) หรืออาจจะใช้เป็น Cleanser เฉพาะในตอนเช้าก็ดีไม่ใช่น้อย

Ingredients :
Aqua (Water), Polysorbate 20, Butylene glycol, Carbomer, Sodium laureth sulfate, Phenoxyethanol, Tocopheryl acetate, Propylene glycol, Methylparaben, Camelia oleifera leaf extract, Benzophenone-4, Tetrasodium EDTA, Laminaria digitata extract, Retinyl palmitate, Zinc chloride, Disodium phosphate, Propylparaben, Butylparaben, Isobutylparaben, Ethylparaben, Tocopherol, Cl 19140 (Yellow 5), Cl 42090 (Blue 1)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น