วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Skincare Basic 8

All About Exfoliants

Exfoliants ก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการ Exfoliate คำว่า Exfoliate แปลได้ง่าย ๆ ก็คือการ “ผลัดผิว” นั่นเอง... แต่การ Exfoliate ผิวนั้นดียังไง ทำไมถึงจำเป็นต้อง Exfoliate ผิวด้วย ก็ต้องเท้าความย้อนกลับไปใน Skincare Basic #2 : Understanding Skin Anatomy เสียหน่อย



ผิวของเราจะมีการสร้างเซลล์ขึ้นใหม่เพื่อทดแทนของเก่าอยู่ตลอดเวลาและเซลล์ผิวที่ตายแล้วก็จะหลุกลอกออกไปเป็นขี้ไคล กระบวนการนี้เรียกว่า Skin Cell Turnover แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นหรือต้องเผชิญกับมลภาวะ แสงแดด หรือสารก่อการระคายเคือง เซลล์ผิวก็จะทำงานผิดปกติ วงจรการ Turnover ของผิวก็จะช้าลง ส่งผลให้กระบวนการ Exfoliate ตามธรรมชาตินั้นด้อยประสิทธิภาพลงตามไปด้วย เซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือขี้ไคลก็จะสะสมตัวหนาผิดปกติ ทำให้ผิวดูหมองไม่สดใส ชั้นขี้ไคลที่สะสมจนหนาตัวนี้ยังไปบดบังรูขุมขนไม่ให้ไขมันที่ผลิตออกมาสามารถไหลระบายออกได้สะดวก จึงส่งผลต่อเนื่องเป็นสิวอุดตัน (ซึ่งสิวอุดตันก็จะสามารถติดเชื้อและกลายเป็นสิวอักเสบได้เหมือนกัน)

เซลล์ผิวเสื่อสภาพที่พอกพูนสะสมบนผิวนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาผิวอย่างที่ว่ามาแล้ว ยังทำให้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่คุณบรรจงทาลงไปนั้นทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเพราะส่วนใหญ่มันจะไปกองอยู่บนชั้นขี้ไคลและซึมเข้าไปบำรุงผิวได้ไม่เต็มที่

การ Exfoliate ผิวเพื่อให้ชั้นขี้ไคลหนาเป็นปกตินั้นจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญและให้ประโยชน์มากมายหลายด้าน แต่ประโยชน์ที่คุณได้รับจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับวิธีการที่คุณเลือกใช้ในการ Exfoliate ซึ่งแบ่งได้เป็นสองพวกใหญ่ ๆ ก็คือการ Exfoliate แบบ Mechanical และแบบ Chemical


Mechanical Exfoliants ทำงานโดยใช้แรงทางกายภาพในการขัดถูให้ขี้ไคลหลุดออกไป ผลิตภัณฑ์ที่เห็นกันบ่อยก็คือ Scrub ขัดผิวที่ผสม Abrasive Agent อย่าง เม็ดพลาสติก Polyethylene เมล็ดหรือเปลือกผลไม้บดละเอียด หรือ Alumina ที่แพทย์ผิวหนังใช้ในการทำ Micro Dermabration การใช้ใยบวบ ใยสังเคราะห์ขัดผิว หรือแม้แต่ผ้าขนหนู ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน

การขัดผิวแบบ Mechanical นี้สามารถขัดขี้ไคลให้หลุดออกไปได้จริง แต่ก็มีผลเสียและทำให้ผิวระคายเคืองหรือบาดเจ็บได้ถ้าเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Abrasive Agent ที่คมหรือหยาบเกินไป หรือใช้แรงในการขัดมากเกินไป การขัดผิวยังมีปัญหาเรื่องการ Exfoliate ไม่ทั่วถึงหรือไม่เท่ากัน Mechanical Exfoliants ไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้งหรือ Sensitive เพราะมันก่อการระคายเคืองได้มากจนเกินไป

Chemical Exfoliants แบ่งออกไป 2 พวกใหญ่ ๆ ก็คือ AHAs และ BHA ทำงานโดยทำให้สารลักษณะคล้ายกาวที่ยึดเซลล์ผิวเสื่อสภาพให้ติดกันแน่นนั้นคลายตัวออก ส่งผลให้ขี้ไคลหลุดลอกออกได้ง่ายขึ้น Chemical Exfoliants ยังปลอดภัย อ่อนโยน และสามารถ Exfoliate ได้ทั่วถึงและสม่ำเสมอมากกว่า Mechanical Exfoliants และผลของการใช้ Chemical Exfoliants ยังไม่หมดแค่เพียงการผลัดเซลล์ผิวภายนอกเท่านั้น มันยังมีประโยชน์กับผิวด้านอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตาม Chemical Exfoliants ที่ใช้


AHAs และ BHA คืออะไร? ต่างกันอย่างไร? เหมาะกับผิวประเภทใด


AHAs (Alpha Hydroxy Acids) : สารที่อยู่ในกลุ่มของ AHAs นั้นมีมากมายหลายตัว แต่ตัวที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ Glycolic Acid และ Lactic Acid โดยที่ Glycolic Acid เป็นรูปแบบของ AHAs ที่มีประสิทธิสูงสุดเนื่องจากมันมีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด

นอกจากช่วยผลัดเซลล์ผิวเสื่อมสภาพแล้ว AHAs ยังช่วยให้กระบวนการ Skin Cell Turnover ดีขึ้นและยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนในผิวชั้นกลางได้อีกด้วย (ถ้าใช้ในความเข้มข้นที่เหมาะสม) นอกจากนี้ AHAs ยังมีคุณสมบัติเป็น Water-binding Agent ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นได้อีกด้วย


BHA (Beta Hydroxy Acids) : สารที่อยู่ในกลุ่มมีเพียง Salicylic Acid เท่านั้น โดย Salicylic Acid นั้นเป็นสารกลุ่ม Salicylates เช่นเดียวกับ Aspirin ดังนั้นถ้าคุณแพ้ Aspirin ก็ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี BHA

BHA มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่เหมาะกับคนผิวมันหรือเป็นสิวมาก อย่างแรกคือ BHA สามารถละลายในน้ำมันได้ จึงซึมลงไปในรูขุมขนเพื่อ Exfoliate ปรับสภาพรูขุมขนและลดการอุดตันได้เป็นอย่างดี อย่างที่สองคือ BHA มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้ออ่อน ๆ จึงช่วยลดสิวอักเสบได้บ้าง อย่างที่สามคือ Salicylic Acid มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและต้านระคายเคืองได้ดี นอกจากนี้ BHA ยังช่วยทำให้สารอื่น ๆ ซึมลงผิวได้ดีขึ้นอีกด้วย


ความแตกต่างหลัก ๆ ก็คือ AHAs เป็นสารที่ละลายในน้ำ ส่วน BHA เป็นสารที่ละลายในน้ำมัน

AHAs และ BHA สามารถใช้ได้กับผิวทุกประเภท แต่หลัก ๆ แล้ว AHAs จะเหมาะกับผิวแห้งหรือผิวธรรมดา หรือผิวที่ได้รับความเสียหายจากแสงแดด มีจุดด่างดำ ส่วนBHA จะเหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน ผิวเป็นสิว หรือมีผิว Sensitive


ผลิตภัณฑ์ AHAs หรือ BHA ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร?


การจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA หรือ BHA ให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดนั้นต้องคำนึงถึงสามปัจจัยหลัก ๆ คือ “ค่า pH” “ความเข้มข้น” และ “เนื้อของผลิตภัณฑ์” นอกจากนี้ก็ยังต้องปราศจากสารก่อการระคายเคืองหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากการ Exfoliate ผิวจะทำให้ผิวไวต่อปัจจัยลบมากเป็นพิเศษ

“ค่า pH” และ “ความเข้มข้น”สำคัญต่อ AHAs และ BHAอย่างไร?


ค่า pH หรือค่าความเป็นกรด-ด่าง นั้นสำคัญมากถ้าคุณคิดจะใช้ AHAs หรือ BHA เพราะสารทั้งสองกลุ่มนี้จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นมีค่า pH ประมาณ 3 – 4 โ ดยค่า pH ที่ทาง FDA กำหนดว่าเหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางก็คือ 3.5

ค่า pH ที่ต่ำกว่า 3 จะมีความเป็นกรดมากเกินไปจนทำให้ผิวคุณระคายเคืองได้มากซึ่งจะก่ออันตรายกับผิว

ค่า pH ที่มากกว่า 4.5 ทำให้ AHAs หรือ BHA มีประสิทธิภาพน้อยหรือไม่มีประสิทธิภาพในการผลัดเซลล์ผิว (แต่ AHAs ก็ยังคงมีประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้น และ BHA ก็ยังมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและระคายเคืองอยู่ โดยอยู่ในเงื่อนไขว่ามันต้องมีในความเข้มข้นที่เหมาะสม)

ความเข้มข้นของ AHA ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ประจำวันก็คือ 5 – 15 % โดยทาง FDA ระบุว่าผลิตภัณฑืที่ใช้กับผิวหน้าไม่ควรมี AHAs เข้มข้นเกิน 10 % และสำหรับผิวกายไม่ควรมี AHAs เกิน 15 % หากคุณพึ่งเริ่มต้นใช้ AHAs เป็นครั้งแรกหรือมีผิว Sensitive ก็ควรเลือกความเข้มข้นที่ต่ำหน่อย เพราะความเข้มข้นที่สูงขึ้นก็หมายถึงโอกาสที่จะเกิดการระคายเคืองหรือผลข้างเคียงก็เพิ่มขึ้นด้วย

AHAs ที่มีความเข้มข้น 15 – 30 % หรือ Mini Peel ที่ทำตามร้านเสริมสวยนั้นต้องกระทำโดยผู้ที่ได้รับการอบรมมาเท่านั้นและจะต้องมีค่า pH ไม่ต่ำกว่า 3

AHAs ที่มีความเข้มข้นสูงมาก (50 – 70 %) หรือ Chemical Peel จะต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะมีผลค้างเคียงมาก การนำมาใช้เองโดยขาดความรู้อาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงกับผิว


ความเข้มข้นของ BHA ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ประจำวันก็คือ 1 – 2 % ความเข้มข้นที่มากกว่านี้จะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น





จะรู้ค่า pH ของผลิตภัณฑ์ AHAs / BHA ได้อย่างไร?


ถ้าผู้ผลิตเขาระบุค่า pH มาให้ด้วยก็โชคดีไป แต่ถ้าเขาไม่ได้ระบุมาก็ต้องทดสอบด้วยการดาษทดสอบค่า pH ซึ่งหาซื้อได้ที่ศึกษาภัณฑ์ ร้านขายอุปกรเคมี หรือร้ายขายยาบางแห่งก็มีเหมือนกัน


วิธีใช้กระดาษทดสอบค่า pH ก็คือจุ่มกระดาษทดสอบลงไปในผลิตภัณฑ์ หรือหยดผลิตภัณฑ์ลงไปบนกระดาษทดสอบ รอจนกว่ากระดาษทดสอบจะหยุดเปลี่ยนสีแล้วค่อยนำไปเทียบเพื่อดูค่า pH โดยระยะเวลาในการรอก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของน้ำในผลิตภัณฑ์ ถ้าเนื้อผลิตภัณฑ์เหลวมากหรือมีน้ำมากก็จะได้ผลแทบในทันที แต่ถ้าเนื้อผลิตภัณฑ์ข้นหรือมีปริมาณน้ำน้อยก็ต้องใช้เวลานานขึ้นในการรอผล

ถ้าหาซื้อกระดาษทดสอบค่า pH ไม่ได้หรือไม่อยากจะเสียเงินซื้อ ก็ให้ลองทาผลิตภัณฑ์ลงบนผิวดู ถ้ามีอาการแสบยิบ ๆ เล็กน้อยก็แปลว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีค่า pH ต่ำพอที่จะ Exfoliate ผิวได้ แต่ถ้าแสบมากเหมือนถูกเผาก็อาจเป็นไปได้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีค่า pH ต่ำเกินไป หรืออาจมีความเข้มข้นมากเกินไป หรือผิวคุณอาจ sensitive เกินไป

ผลิตภัณฑ์ AHAs ที่ทาลงไปแล้วไม่ทำให้คุณรู้สึกอะไร (ทั้ง ๆที่คุณพึ่งใช้เป็นครั้งแรก) แปลว่ามันอาจมีค่า pH สูงเกินไป หรือมีความเข้มข้นไม่มากพอ

ผลิตภัณฑ์ที่ผสม BHA เป็นหลักอาจจะลำบากหน่อยในการทดสอบ เพราะ BHA มักไม่ทำให้ผิวเกิดอาการแสบยิบ ๆ เมื่อทา ถึงแม้ว่าจะมีความเข้มข้นเหมาะสมและมีค่า pH ถูกต้องก็ตาม

***Note***

ถ้าจะทดสอบค่า pH ด้วยการทาลงบนผิว ก็ต้องอ่าน Ingredients List ให้ละเอียดก่อนว่ามีสารก่อการระคายเคืองหรือไม่





จะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมี AHAs หรือ BHA เข้มข้นเหมาะสม


ผลิตภัณฑ์ AHAs และ BHA ที่ดีควรจะระบุความเข้มข้นมาอย่างชัดเจน แต่ถ้าไม่ได้ระบุมา ก็ต้องดู (เดา) จาก Ingredients List ว่ามีส่วนผสมของ AHAs หรือ BHA มาเป็นลำดับที่เท่าไหร่

สารกลุ่ม AHAs อย่าง Glycolic Acid หรือ Lactic Acid ควรจะมาเป็นอันดับที่ 1- 4 ถึงจะมีปริมาณมากพอที่จะ Exfoliate ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สารกลุ่ม BHA หรือ Salicylic Acid นั้นก็ควรมาเป็นลำดับที่ 2 – 8 (ถ้าผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้มาจากอเมริกา ส่วนใหญ่จะแยก Salicylic Acid มาเป็น Active Ingredients ซึ่งจะบอก % มาให้ด้วย)

แต่เพื่อตัดปัญหา คุณจึงควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุความเข้มข้นของ AHA มาเลยจะดีกว่า



“เนื้อผลิตภัณฑ์” สำคัญต่อการเลือกใช้ AHAs หรือ BHA ยังไง

ผลิตภัณฑ์ AHAs หรือ BHA ที่ดีนอกจากจะมีความเข้มข้นที่เหมาะสม และมีค่า pH ที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ Texture หรือเนื้อของผลิตภัณฑ์

AHAs ควรจะอยู่ในรูปของน้ำ เจล หรือเซรั่มจะดีที่สุดเนื่องจากสารกลุ่มนี้ละลายในน้ำ เบสโลชั่นหรืออีมัลชั่นก็ยังพอไหว แต่การใช้ AHAs ในเบสครีมที่เข้มข้นนั่นจะทำให้ AHAs ซึมลงผิวได้ไม่ดีเท่าที่ควร

BHA ก็ควรจะอยู่ในเบสน้ำ เจล เพราะผู้มีผิวมันไม่เหมาะจะใช้เบสโลชั่นหรือครีมเนื่องจาก Emollients และ Oil จะไปอุดตันผิวเพิ่มได้


จะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมี AHAs หรือ BHA เข้มข้นเหมาะสม


ผลิตภัณฑ์ AHAs และ BHA ที่ดีควรจะระบุความเข้มข้นมาอย่างชัดเจน แต่ถ้าไม่ได้ระบุมา ก็ต้องดู (เดา) จาก Ingredients List ว่ามีส่วนผสมของ AHAs หรือ BHA มาเป็นลำดับที่เท่าไหร่

สารกลุ่ม AHAs อย่าง Glycolic Acid หรือ Lactic Acid ควรจะมาเป็นอันดับที่ 1- 4 ถึงจะมีปริมาณมากพอที่จะ Exfoliate ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สารกลุ่ม BHA หรือ Salicylic Acid นั้นก็ควรมาเป็นลำดับที่ 2 – 8 (ถ้าผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้มาจากอเมริกา ส่วนใหญ่จะแยก Salicylic Acid มาเป็น Active Ingredients ซึ่งจะบอก % มาให้ด้วย)

แต่เพื่อตัดปัญหา คุณจึงควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุความเข้มข้นของ AHA มาเลยจะดีกว่า





ให้เวลา AHAs/BHA ได้ทำงานบ้าง


เนื่องจากค่า pH มีผลมากต่อประสิทธิภาพของ AHAs/BHA เราจึงควรทา AHAs/BHA และปล่อยให้มันทำงานก่อนสัก 10 - 20 นาทีแล้วค่อยทาเซรั่มหรือครีมบำรุงทับลงไป เพราะปกติแล้วครีมบำรุงผิวจะมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 5 - 6 หากทาทับ AHAs/BHA ทันทีก็จะไปทำให้ค่า pH สูงขึ้นจนลดประสิทธิภาพของ AHAs/BHA ลงไป

ฟังดูเป็นการเสียเวลา แต่ในระหว่างที่รอเราก็สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยได้อย่างเช่น ทาครีมที่ตัว จัดของใส่กระเป๋า แต่งตัวไปได้ก็ได้เหมือนกัน





Cleanser ที่ผสม AHAs กับ BHA ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในการ Exfoliate ผิว


AHAs กับ BHA จะแสดงประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อถูกทาทิ้งเอาไว้บนผิวเป็นระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น (อย่างต่ำก็หลายนาทีเลยแหล่ะ) แต่การทิ้ง Cleanser เอาไว้บนผิวหน้าเป็นเวลานานนั้นอาจทำให้ผิวคุณเสี่ยงที่จะระคายเคืองจากสารทำความสะอาดใน Cleanser ได้

นอกจากนี้ AHAs กับ BHA ก็ทำให้แสบตาได้ถ้าเกิดเข้าตา ซึ่ง Cleanser ที่ดีควรจะอ่อนโยนจนทำความสะอาดรอบดวงตาได้โดยไม่ก่อการระคายเคือง

ที่สำคัญ ค่า pH ของ Cleanser ส่วนใหญ่จะไม่ต่ำพอที่ AHAs หรือ BHA จะแสดงประสิทธิภาพได้ และน้ำก็ยังทำให้ค่า pH ของผลิตภัณฑ์สูงขึ้นไปอีก

การใช้ Cleanser ที่มี AHAs กับ BHA จึงไม่สามารถ Exfoliate ผิวได้ดีเหมือนกับการทามอยซ์เจอไรเซอร์หรือโทนเนอร์ที่ผสม AHAs / BHA ทิ้งเอาไว้





การใช้ AHAs / BHA เพื่อ Exfoliate ผิวเป็นประจำ "ไม่ได้ทำให้หน้าบางลง" อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด


ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับเรื่อง การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วย Exfoliate ผลัดเซลล์ผิวอย่าง AHAs หรือ BHA ว่าจะทำให้ “หน้าบาง” ลงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย

สารอย่าง AHAs และ BHA จะไป Exfoliate เฉพาะเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพหรือขี้ไคลออกไปเท่านั้น ไม่ได้ไปลอกเอาผิวหนังในชั้นที่ลึกกว่านี้ออกไป ในทางกลับกัน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHAs เข้มข้นเหมาะสม จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนในผิวชั้นกลางได้ (ซึ่งดูแล้วจะทำให้ผิวหนาและแน่นขึ้นซะมากกว่า)

แน่นอนว่าผิวชั้นขี้ไคลที่สะสมจนหนาตัวนั้นก็มีประโยชน์ในการปกป้องผิวจากปัจจัยภายนอกและแสงแดดได้เหมือนกัน การไปลอกเอาขี้ไคลออกก็ทำให้ผิวไวต่อแสงแดดและปัจจัยลบภายนอกมากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ Exfoliate ผิว ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกว่าโดนแดดมากเหมือนเดิมไม่ได้ รู้สึกแสบผิว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผิวคุณบางลง...

คุณก็ต้องมาเลือกเอาเองว่าอย่างไหนจะให้ประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน ถ้าคุณคิดว่าการ Exfoliate ไม่ดีกับผิว ทำให้ผิวไวแสงมากขึ้น คุณก็ไม่ต้องมาบ่นว่าทำไมผิวหมองคล้ำไม่สดใสหรือเป็นสิวอุดตันง่าย

ความจริงในข้อนี้ก็สามารถอธิบายความเชื่อที่ว่า “ไปหาหมอ ใช่ยาหมอแล้วหน้าบาง” ได้เหมือนกัน เพราะว่ายารักษาสิวที่มีประสิทธิภาพส่วนใหญ่จะเป็น Keratolytic Agent อย่าง Benzoyl Peroxide, Tretinoin (Retin-A, Renova) Tazarotene (Tazorac) และ Adapalene (Differin)





Exfoliants และ Sunscreen เป็นของคู่กัน


อย่างที่ได้ทราบกันแล้วว่าการ Exfoliate ผิวจะทำให้ผิวไวต่อแสงมากขึ้น (เนื่องจากชั้นขี้ไคลที่เคยช่วยกันแดดให้มันถูกลอกออกไป) การปกป้องผิวด้วย Sunscreen (ครีมกันแดด) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด (แต่ถึงไม่ได้ Exfoliate ผิวก็ต้องทา Sunscreen เป็นประจำทุกวันอยู่ดี)

การ Exfoliate ผิวโดยไม่ใช้ Sunscreen ในตอนกลางวันจะเปิดโอกาสให้ผิวของคุณถูกทำร้ายจากแสงแดดได้ง่ายกว่าปกติ

Sunscreen ที่เลือกใช้ควรมีค่า SPF15 ขึ้นไป (SPF 30 กำลังดีสำหรับแดดแรง ๆ ในประเทศไทย) ที่สำคัญควรเลือกชนิดที่สามารถกันรังสี UVA ได้ด้วย โดยดูใน Ingredients List ว่ามีส่วนผสมของ Zinc Oxide, Titanium Dioxide, Avobenzone (หรือใช้ชื่อว่า Parsol 1789, Butyl Methoxydibenzoylmethane,BMDM, Eusolex 9020, Escalol 517) Mexoryl SX (หรือใช้ชื่อว่า Ecamsule, Terephthalylidene dicamphor sulfonic acid), TINOSORB® M (Methylene Bis-Benzotriazolyl etramethylbutylphenol) หรือ TINOSORB® S (Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine) อยู่เป็น Active Ingredients หรือเป็นลำดับต้น ๆ ของส่วนผสมรึเปล่า





AHAs เก๊?


มีเครื่องสำอางจำนวนมากที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมของ AHAs จากธรรมชาติที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวได้ แต่กลับใส่สารสกัดจากพืชที่ฟังดูเหมือน AHAs แทน สารพวกนี้จะมาในชื่อ Sugarcane Extract, Sugar Maple Extract, Lemon Extract, Mix Fruit Acid เป็นต้น

จริงอยู่ที่ Glycolic Acid นั้นพบได้ในอ้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Sugarcane Extract จะให้ผลเหมือน Glycolic Acid และถึง Lactic Acid จะพบได้ในนม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Milk Extract จะให้ผลเหมือน Lactic Acid เช่นกัน

ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรใส่ AHAs ในรูปของGlycolic Acid, Lactic Acid, Ammonium Glycolate, Ammonium Lactate, Calcium Lactate, Potassium Lactate, Sodium Lactate มาเลยจะดีกว่า อย่าไปหลงเชื่อคำโฆษณาและเสียเงินเปล่าประโยชน์กับ AHAs ปลอม ๆ พวกนี้





BHA เก๊?


กระแสคลั่งธรรมชาติกำลังบูมในปัจจุบัน Salicylic Acid อาจฟังดูเป็น “สารเคมี” มากเกินไปในความรู้สึกของผู้บริโภคบางคน (ที่มีความคิดผิด ๆ ว่าสารสกัดจากธรรมชาติไม่ใช่สารเคมี) บริษัทเครื่องสำอางจึงนำเสนอทางเลือกขึ้นมา ซึ่งก็คือสารสกัดจากพืชที่มีองประกอบของ Salicin อย่าง Willow Bark Extract

Salicin เป็นสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนเป็น Salicylic Acid ได้เมื่อรับประทานและผ่านกระบวนการย่อยในร่างกาย แต่การทา Salicin ลงบนผิวนั้นไม่สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็น Salicylic Acid ได้ ดังนั้น Willow Bark Extract จึงไม่สามารถ Exfoliate ผิวได้เหมือนกับ Salicylic Acid แต่อย่างไรก็ดี สาร Salicin ใน Willow Bark Extract ก็สามารถช่วยต้านการระคายเคืองและลดการอักเสบของผิวได้เป็นอย่างดี





PHA คืออะไร? ดีกว่า AHAs จริงหรือไม่ อย่างไร?


PHA คือ Polyhydroxy Acid สารกลุ่มนี้เช่น Gluconolactone ทำหน้าที่ได้คล้ายกับ AHA แต่ว่า PHA มีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่กว่า AHA จึงซึมลงผิวได้ไม่ดีเท่า ผลคือ PHA ก่อการระคายเคืองได้น้อยกว่า AHA แน่นอนว่าการดูดซึมที่ลดลงก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ลดลงด้วยเหมือนกัน

ในความเข้มข้นที่เท่ากัน... AHA จะมีประสิทธิภาพในการผลัดเซลล์และเปลี่ยนแปลงสภาพผิวโดยรวมได้ดีกว่า PHA แต่ PHA ก็ก่อการระคายเคืองได้น้อยกว่า AHA

PHA จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีผิว Sensitive





ยากลุ่ม “กรดวิตามินเอ” อย่าง Retin-A, Differin ไม่จัดเป็น Exfoliants


มีหลายคนที่เข้าใจผิดว่ายากลุ่มกรดวิตามินเอเป็น Exfoliants เหมือนกับ AHAs หรือ BHA ก็ไม่แปลกที่จะมีการสับสนเกิดขึ้นเพราะผลที่มองเห็นภายนอกนั้นดูคล้ายคลึงกัน แต่แท้จริงแล้ว ยากลุ่มกรดวิตามินเอ นั้นมีหลักการทำงานที่ต่างกับ AHAs, BHA หรือ Exfoliants แบบอื่น ๆ มาก

Exfoliants อย่าง AHAs และ BHA ทำงานที่ผิวชั้นนอกสุดโดยทำให้สารลักษณะคล้ายกาวที่ยึดเซลล์ผิวเสื่อสภาพให้ติดกันแน่นนั้นคลายตัวออก ส่งผลให้ขี้ไคลหลุดลอกออกได้ง่ายขึ้น กระตุ้นกระบวนการ Turnover ของผิว

ในทางกลับกัน

ยากลุ่มกรดวิตามินเอ อย่าง Retin-A หรือ Differin จะทำงานในระดับที่ลึกลงไปถึงผิวชั้นกลาง (Dermis) โดยส่งสัญญาญให้เซลล์ผิวแบ่งตัวและทำงานเป็นปกติ กระบวนการ Turnover จึงสมบูรณ์จากภายใน รูปทรงของรูขุมขนและความหนาตัวของชั้นขี้ไคลจึงเป็นปกติ

ถ้าคุณมีผิวลอกขณะใช้ AHAs หรือ BHA นั่นถือเป็นอาการปกติ เมื่อใช้ต่อไปสักพักจนชั้นขี้ไคลหนาเป็นปกติแล้วอาการผิวลอกก็จะหายไปเอง

แต่ถ้าคุณมีผิวลอก แห้งตึง ขณะใช้ยากลุ่มกรดวิตามินเอ นั่นหมายความว่าผิวกำลังระคายเคืองจากตัวยา ควรลดปริมาณหรือความถี่ในการใช้ลง หรือจะหยุดใช้ตัวยาสักระยะจนผิวกลับมาเป็นปกติแล้วค่อยเริ่มใช้ใหม่อีกครั้ง



ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ AHAs / BHA


ผลิตภัณฑ์ AHAs และ BHA สามารถหาซื้อได้ตามคลินิกรักษาสิวด้วนะขอรับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีราคาไม่ค่อยแพงเท่าไหร่ กระผมไม่ขอแนะนำว่าของคลินิกไหนดีหรือไม่ดียังไงเพราะไม่มีข้อมูลเรื่องส่วนผสม ยังไงก็รบกวนท่านผู้อ่านไปสอบถามและทดลองใช้กันตามสะดวกนะขอรับ




Good - Paula’s Choice : 8% Alpha Hydroxy Acid Gel

Glycolic Acid เข้มข้น 8% ในเนื้อเจลบางเบาซึมไว มีค่า pH ประมาณ 3.5 มาพร้อมกับสารต้านการระคายเคือง สารแอนติออกซิแดนท์ และสารให้ความชุ่มชื้น ขนาด 118 ml. ราคาเพียง 17.95 $ (ราคาตามเวปไซท์ของไทยที่หิ้วมาขายก็ประมาณ 900 บาท)

ของดีราคาไม่แพงแบบนี้จะอดใจยังไงไหว?

Ingredients :
Water, Glycolic Acid (alpha hydroxy acid/exfoliant), Sodium Hydroxide (pH adjuster), Chamomilla Recutita (Matricaria) Extract (chamomile/soothing agent), Aloe Barbadnesis Leaf Juice (water-binding agent), Camellia Oleifera (Green Tea) Leaf Extract (antioxidant), Sodium Hyaluronate, Panthenol, Sodium PCA (water-binding agents), Propylene Glycol, Butylene Glycol (slip agents/penetration enhancers), Hydroxyethylcellulose, Polyquaternium-10 (thickeners), Phenoxyethanol, Methylparaben, Ethylparaben, Propylparaben, Butylparaben, Isobutylparaben (all preservatives).


Good - Alpha Hydrox : 10% AHA Oil-Free Formula

Glycolic Acid 10% ในเบสเจล มีสารแอนติออกซิแดนท์และต้านการระคายเคืองมาให้นิดหน่อย ค่า pH ประมาณ 4 ปราศจากสีและน้ำหอม ราคาไม่แพงเท่าไหร่ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียว

Ingredients :
Water, Glycolic Acid, Ammonium Hydroxide, Sodium Lactate, Green Tea Extract, Carrageenan (Sea Kelp Extract), Panthenol (Vitamin B5), Propylene Glycol, Diazolidinyl Urea, Methylparaben, Propylparaben, PVM/MA Decadene Crosspolymer


Good - Dermalogica : Skin Renewal Booster

AHA ในรูป Lactic Acid (ใน MUA เขาบอกว่ามีประมาณ 10%) กับ BHA หรือ Salicylic Acid น่าจะประมาณ 1 % หรือน้อยกว่า แต่ที่แน่ ๆ มีค่า pH ประมาณ 3.5 (เพราะเคยได้ Sample แถมมา)

ตัวนี้มี Retinol สารให้ความชุ่มชื้น และสารต้านการระคายเคืองมาให้ด้วยแถมบรรจุภัณฑ์ก็เหมาะสม ข้อเสียเล็ก ๆ น้อยก็คือสารสกัดจากพืชบางตัวนั้นใช้เป็นน้ำหอม แต่ปริมาณที่ใส่ก็ไม่มากนักจึงไม่น่าจะเป็นปัยหาอะไร แต่ที่แย่ที่สุดคือราคาแพ๊งแพงแต่ให้มาแค่ 30 ml. เอง...

Ingredients :
Aloe Barbadensis Leaf Extract, Lactic Acid, Butylene Glycol, Caprylic/Capric Triglyceride, Isodecyl Salicylate, Salicylic Acid, Retinol, Sodium Pca, Extracts Of: Hibiscus Rosa Sinensis (Hibiscus), Centaurea Cyanus Flower, Citrus Medica Limonum (Lemon) Fruit, Citrus Aurantium Amara (Bitter Orange) Flower, Chamomilla Recutita (Matricaria) Flower, Lecithin, Peg-12, Dimethicone, Pentylene Glycol, Polysorbate 20, Peg-100 Stearate, Glyceryl Stearate, Polyquaternium-37, Sclerotium Gum, Phenoxyethanol, Methylparaben, Ethylparaben, Butylparaben, Propylparaben, Isobutylparaben


Good - MD Formulations : Vit-A-Plus Illuminating Serum

จากข้อมูลของ www.mdformulations.com ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มี Ammonium Glycolate + Glycolic Acid รวมกันเป็น 15% โดยมีค่า pH 4 ซึ่งการันตีประสิทธิภาพในการ Exfoliate ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมีสารแอนติออกซิแดนท์อย่างวิตามินอี ซี สาร Cell-Signaling Substance อย่าง Retinol และสารต้านการระคายเคืองอื่น ๆ มาให้ด้วย บรรจุภัณฑ์แบบขวดปั้มทึบแสงก็สามารถเก็บรักษาสารบำรุงเหล่าให้เสถียรได้เป็นอย่างดี

ข้อเสียเล็กน้อยคือผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่เหมาะกับผิวทุกประเภท เนื่องจาก Soybean Oil และ Carnauba Wax คงไม่ทำให้คนที่มีผิวมันหรือเป็นสิวง่ายปลาบปลื้มสักเท่าไหร่ และผิว Sensitive ก็อาจรับ AHA 15% ไม่ไหว ราคาก็แพงโหดร้ายเหลือเกิน แต่ถ้าคุณมีเงินเหลือเฟือที่จะใช้ นี่ก็เป็นผลิตภัณฑืที่ไม่ทำให้คุณเสียเงินเปล่า

Ingredients :
Purified Water, Ammonium Glycolate, Glycolic Acid, Glycine Soja (Soybean)Oil, Copernicia Cerifera (Carnauba) Wax, Tocopheryl Acetate, Retinol, Ceteareth-20, Butylene Glycol, Palmitoyl Hydroxypropyltrimonium Amylopectin/Glycerin Crosspolymer, Ascorbic Acid, Lecithin, Palmitoyl Hydroxypropyltrimonium Amylopectin/Glycerin Crosspolymer, Lecithin, Vitis Vinifera (Grape) Seed Extract, Glycerin, Glyceryl Stearate, Peg-100 Stearate, Sucrose Cocoate, Morus Bombycis (Mulberry) Extract, Glycyrrhiza Glabra (Licorice) Extract, Ceresin, Microcrystalline Cellulose, Cellulose Gum, Tocopheryl Acetate, Sorbitan Stearate, Allantoin Glycyrrhetinic Acid, Bisabolol, Dimethicone, Isododecane, Isohexadecane, Steareth-2, Bht, Methylparaben, Propylparaben, Cetyl Hydroxyethylcellulose, Disodium Edta, Diazolidinyl Urea, Iodopropynyl Butylcarbamate


Average - NeoStrata : Lotion Plus, AHA 15

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ถือเป็นระดับมาตรฐานเพราะไม่มีอะไรมากไปกว่า Glycolic Acid 15% ในเบสโลชั่น ปราศจากสี น้ำหอม และมีค่า pH ก็เหมาะสม

แต่ผลิตภัณฑ์ AHAs ที่ดีควรใส่สารต้านการระคายเคืองมาให้บ้าง หรือจะแถมสารแอนติออกซิแดนท์มาเพิ่มสักหน่อยก็คงจะน่าใช้กว่านี้

Ingredients :
Water, Glycolic Acid, Propylene Glycol, Stearic Acid, Ammonium Hydroxide, Hydroxyethylcellulose, Glyceryl Stearate, Peg-100 Stearate, Peg-40 Stearate, Isopropyl Palmitate, Cetyl Alcohol, Sorbitan Stearate, Magnesium Aluminum Silicate, Cholesterol, Stearamidopropyl Dimethylamine, Isostearic Acid, Dimethicone, Petrolatum, Tetrasodium Edta


Average - La Prairie : 3-Minute Peel

แพง + โม้เกินจริง + ประสิทธิภาพไม่สมราคา

ทาง La Prairie โฆษณาไว้ว่า 3-Minute Peel สามารถให้ผลลัพธ์ได้ในระดับเดียวกับการ Chemical Peeling จากผู้เชี่ยวชาญ ลดปัญหารูขุมขนกว้าง ปราศจากการระคายเคือง... อะไรจะโม้แหลกขนาดนี้

ดูจากส่วนผสมแล้วผลิตภัณฑ์ตัวนี้มี Lactic Acid + Glycolic Acid กับ Salicylic Acid รวมกันไม่น่าจะถึง 10 % เสียด้วยซ้ำ แล้วจะไปเทียบกับการทำ Chemical Peeling จากผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ AHA + BHA มากกว่า 20 % ได้ยังไง?

แล้วการใช้ AHAs / BHA ที่มีค่า pH เป็นกรด (pH 3 – 4) ย่อมมีโอกาสระคายเคืองผิวได้ทั้งนั้น และการทาผลิตภัณฑ์ที่มี AHA + BHA ไม่ถึง 10% ก็ควรทิ้งเอาไว้เกิน 3 นาทีจึงจะมีประสิทธิภาพในการ Exfoliate เต็มที่ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยังมีน้ำหอมและ Fragrance Componet ที่ก่อการระคายเคืองได้แถมราคาก็แพงกระเป๋าฉีกอีกต่างหาก เป็นการลงทุนที่มองไม่เห็นความคุ้มค่าเลยแม้แต่นิดเดียว....

Ingredients :
Water, Hydroxyethyl Acrylate/Sodium Acryloyldimethyl Taurate Copolymer, Lactic Acid, Polysorbate 40, Glycolic Acid, Tetrahydroxypropyl Ethylenediamine, Polyglyceryl-3 Laurate, Peg-8/Smdi Copolymer, Hexylene Glycol, Salicylic Acid, Malic Acid, Glycoproteins, Panax Ginseng Root Extract, Equisetum Arvense (Horsetail) Extract, Sucrose, Glutamic Acid, Aspartic Acid, Hydroxyethylcellulose, Glucose, Fructose, Disodium Edta, Tocopheryl Acetate, Disodium Lauriminodipropionate Tocopheryl Phosphates, Butylene Glycol, Dextrin, Urea, Polyquaternium-7, Alanine, Fragrance, Hydroxyisohexyl 3-Cyclohexene Carboxaldehyde, Butylphenyl Methylpropional, Alpha-Isomethyl Ionone, Linalool, Citronellol, Hydroxycitronellal, Phenoxyethanol, Chlorphenesin, Benzoic Acid, Sorbic Acid, Methylparaben, Titanium Dioxide


Average - Mario Badescu : Glycolic Acid Toner

Toner ตัวนี้มี Glycolic Acid มาเป็นอันดับสุดท้าย จึงไม่เข้มข้นพอที่จะ Exfoliate ผิวได้ ส่วน Grapefruit Fruit Extract ใช้ประโยชน์ในการเป็นสารกันเสียให้ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้หวังได้แค่ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นจาก Aloe Vera เท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้

Ingredients :
Deionized Water, Aloe Vera (Aloe Barbadensis Leaf Juice) Gel, Citrus Grandis (Grapefruit) Fruit Extract, Glycolic Acid


Bad - La Prairie : Cellular Retexturizing Booster

เซรั่มตัวนี้มีปริมาณ AHA และ BHA ในระดับความเข้มข้นที่สามารถคาดหวังประสิทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิวได้เป็นอย่างดี และค่า pH ก็เป็นกรดอ่อนด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมมอยซ์เจอไรเซอร์ วิตามิน และสารแอนติออกซิแดนท์หลายตัว แถมมีวิตามินเอในรูป Retinyl Palmitate ที่ทำให้ผิวทำงานได้อย่างเป็นปกติ

แต่อนิจจา

มันไม่ได้อ่อนโย๊น~อ่อนโยนอย่างที่ทาง La Prairie คุยฟุ้งไว้สักนิด Sd Alcohol ที่เป็นส่วนผสมอันดับสามนั้นไม่เหมาะที่จะเอามาใส่ในผลิตภัณฑ์ AHA / BHA เนื่องจากมันจะทำให้ผิวที่ใช้ AHA / BHA อยู่จะระคายเคืองได้มากขึ้น ซ้ำร้ายยังมี Volatile Fragrant Oil อย่าง Lavender และ Geranium มาซ้ำเติมผิวให้ย่ำแย่ลงไปอีก

ถ้าไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และน้ำมันหอมระเหยนี่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ AHA / BHA ที่ดีตัวหนึ่ง แต่ก็ไม่สมควรจะมีราคาแพงขนาดนี้อยู่ดี

Ingredients :
Water, Aloe Barbadensis Leaf Juice, Sd Alcohol 40-B, Lactic Acid, Glycolic Acid, Propylene Glycol, Butylene Glycol, Ethoxydiglycol, Sodium Hydroxide, Hydroxyethylcellulose, Glycoproteins, Panax Ginseng Root Extract, Equisetum Arvense (Horsetail) Extract, Sorbitol, Sodium Pca, Pyrus Malus (Apple) Fruit Extract, Tocopheryl Acetate, Ascorbyl Palmitate, Retinyl Palmitate, Arginine, Lysine, Glycine, Proline, Salicylic Acid, Lavandula Angustifolia (Lavender) Oil, Anthemis Nobilis (Chamomile) Flower Oil, Pelargonium Graveolens Flower Oil, Camellia Sinensis Leaf Extract, Cucumis Sativus (Cucumber) Fruit Extract, Scutellaria Baicalensis Root Extract, Sodium Hyaluronate, Xanthan Gum, Phospholipids, Linalool, Citronellol, Geraniol, Disodium Edta, Sodium Metabisulfite, Sodium Sulfite, Phenoxyethanol, Methylparaben, Butylparaben, Ethylparaben, Propylparaben, Isobutylparaben


Bad - DDF : Glycolic 10% Toning Complex

เป็น Toner ที่เกือบจะดีแต่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะ SD Alcohol 40 ที่มาเป็นอันดับ 3 และ Menthol ที่เป็นสารก่อการระคายเคืองทำให้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ดับอนาถ

ถ้าตัดส่วนผสมสองตัวนี้ไปได้นี่จะเป็น Toner ผสม AHA ที่น่าใช้มากทีเดียว

Ingredients :
Water, Glycolic Acid, SD Alcohol 40, Aloe Barbadensis (Aloe Vera) Leaf Extract, Sodium Pca, Lactic Acid, Disodium Edta, Menthol, Potassium Hydroxide, Propylene Glycol, Methyl Gluceth-20, Allantoin, Chamomilla Recutita (Matricaria) Extract (Chamomile), Hamamelis Virginiana (Witch Hazel) Extract, Methylparaben, Phenoxyethanol, Propylparaben


Bad - NeoStrata : AHA 8% Oily Skin Solution

Glycolic Acid 8% แบบน้ำที่มี Alcohol Denat มาเป็นอันดับที่สอง

การใช้ AHAs หรือ BHA นั้นทำให้ผิวระคายเคืองได้อยู่แล้ว ทำไมต้องไปทำให้มันระคายเคืองหนักกว่าเดิมด้วยแอลกอฮอล์อีกด้วยล่ะ?

Ingredients :
Water, Alcohol Denat., Glycolic Acid, Propylene Glycol, Ammonium Hydroxide, Polyquaternium-10, Chlorhexidine Digluconate, Polysorbate 20, Tetrasodium Edta


Good - Paula’s Choice : 2% Beta Hydroxy Acid Liquid

Salicylic Acid 2% มีค่า pH ประมาณ 3.5 เนื้อผลิตภัณฑ์เหลวเป็นน้ำเหมือนโทนเนอร์ ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน wax หรือ Thickener เลย จึงทำให้มันมีโอกาสอุดตันผิวต่ำ เหมาะกับทุกสภาพผิวโดยเฉพาะผู้ที่มีผิวมันหรือกำลังประสบปัญหาสิว นอกจากนี้ก็ยังพ่วงสารต้านการระคายเคืองและสารแอนติออกซิแดนท์มาให้ด้วย ราคาก็ไม่แพงเท่าไหร่นัก

พูดมากกว่านี้เดี๋ยวจะหาว่าเชียร์... พอแค่นี้ดีกว่า...

Ingredients :
Water, Methylpropanediol (slip agent/penetration enhancer), Salicylic Acid(beta hydroxy acid/exfoliant), Camellia Oleifera (Green Tea) Extract (anti-irritant/antioxidant), Butylene Glycol, Polysorbate-20 (water-binding agents), Sodium Hydroxide (pH balancer), Disodium EDTA (preservative).


Average - Darphin : Skin Mat Balancing Serum

เซรั่มตัวนี้มี Salicylic Acid มาเป็นอันดับที่ 4 ซึ่งก็น่าจะพอประมาณได้ว่ามีความเข้มข้นประมาณ 1 – 2 % มีสารต้านการระคายเคืองอย่าง Dipotassium Glycyrrhizate มาให้ด้วย

แต่อย่างไรก็ดี ค่า pH ของผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่ที่ 4.7 (ตามที่หนังสือ Don’t Go To The Cosmetic Counter Without Me ได้บอกเอาไว้) จึงไม่สามารถคาดหวังประสิทธิภาพในการ Exfoliate ได้ นอกจากนี้ยังไม่มีสารดูดซับความมันที่จะทำให้ผิว Matte สมชื่อ แบบนี้ถือว่าธรรมดาเกินไปหน่อย

Ingredients :
Water, Butylene Glycol, Pentylene Glycol, Salicylic Acid, Dipotassium Glycyrrhizate, Copper Pca, Laminaria Saccharina Extract, Phellodendron Amurense Bark Extract, Tocopherol, Alcohol, Caprylyl Glycol, 1,2-Hexanediol, Cellulose Gum, Xanthan Gum, Tris (Tetramethylhydroxypiperidinol) Citrate, Peg-40 Hydrogenated Castor Oil, Ethylhexylglycerin, Sodium Citrate, Disodium Edta, Tetrasodium Edta, Citric Acid, Fragrance, Linalool, Butylphenyl Methylpropional, Limonene, Benzyl Salicylate


Bad - Dermalogica : Medicated Clearing Gel

ห่วยแบบเกินคำบรรยาย เพราะผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นแหล่งรวมของสารก่อการระคายเคืองนานาชนิด แถม Salicylic Acid 2% ที่ใส่มาก็ไม่มีประโยชน์เพราะค่า pH ที่วัดได้สูงกว่า 5 ซะอีก...

Active Ingredients : Salicylic Acid 2%

Other Ingredients : Water, Peg-32, Pvm/Ma Decadiene Crosspolymer, Extracts Of: Rosmarinus Officinalis (Rosemary) Leaf, Thymus Vulgaris (Thyme), Camellia Oleifera Leaf; Essential Oils Of: Melaleuca Alternifolia (Tea Tree) Leaf, Rosmarinus Officinalis (Rosemary) Leaf, Salvia Officinalis (Sage), Citrus Aurantium Dulcis (Orange), Geranium Maculatum, Zingiber Officinale (Ginger) Root, Cymbopogon Martini, Cymbopogon Nardus (Citronella); Citric Acid, Retinyl Palmitate, Phenoxyethanol, Sodium Hydroxide, Xanthan Gum, Zinc Acetate, Dipotassium Glycyrrhizate, Zinc Sulfate, Polysorbate 20, Cyclodextrin, Butylene Glycol, Peg-40 Hydrogenated Castor Oil, Hydrolyzed Algin, Sodium Hyaluronate, Propylparaben, Methylparaben, Limonene, Geraniol, Linalool, Citronellol


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น