วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Skincare Basic 9.3

Vitamin B3

Vitamin B3 หรือ Niacinamide เป็นหนึ่งในวิตามินที่ Skin Friendly แบบสุด ๆ ตัวหนึ่งก็ว่าได้ และนี่ Niacinamide ก็เป็นวิตามินตัวโปรดที่ขาดไม่ได้ใน Skincare Regiment ของปูเป้ ซึ่งกระผมจะบอกทุกเหตุผลและรายละเอียดที่กระผมรู้แบบไม่กั๊กเลยล่ะ

"Niacinamide" วิตามินสารพัดประโยชน์


Niacinamide มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ Nicotinamide เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีราคาถูก ประสิทธิภาพหลากหลาย โอกาสระคายเคืองต่ำ ยังไม่พบว่ามีผลเสียหรือผลข้างเคียงใด ๆ (นอกจากจะแพ้ส่วนผสมตัวนี้) แถมยังเสถียรมาก ๆ อีกด้วย สามารถคงทนต่อแสง ความร้อน ความชื้น สภาพกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี

ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Niacinamide หาได้ไม่ยากในท้องตลาดปัจจุบัน แต่จะหาแบบที่ใส่มาเข้มข้นมาก ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นแบรนด์ที่ชู Niacinamide เป็นส่วนผสมหลักอย่าง Olay (รวมถึงแบรนด์ในเครือ P&G อื่น ๆ อย่างเช่น SK-II ด้วย) โดยประโยชน์ที่หลากหลายของ Niacinamide ก็มีตั้งแต่

- เป็นสาร Antioxidant ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

- ช่วยลดการอักเสบของผิว

- เป็นหนึ่งในสาร Cell-Signaling Substance ช่วยสื่อสารกับเซลล์ผิวให้ทำงานได้เป็นปกติ

- ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมความแข็งแรงของชั้น Lipid ที่เคลือบปกป้องผิว (มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

- สามารถช่วยเรื่องสิวอักเสบได้ (มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

- มีแนวโน้มว่าสามารถจะเป็นสาร Whitening และ Anti-Aging ได้ด้วย (มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

- อาจจะช่วยลดการผลิตน้ำมันของผิวได้ แต่ยังไม่มีใครสามารถอธิบายการทำงานของมันได้


Niacinamide ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นของผิวได้อย่างไร?



การวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน Journal of Cosmetic Dermatology เมื่อปี 2004 ระบุไว้ว่า การทา Niacinamide ลงบนผิว สามารถเพิ่มปริมาณ Free Fatty Acid และ Ceramide ในผิว เพื่อเสริมความแข็งแรงของชั้น Lipid ที่เคลือบปกป้องผิว สามารถลดการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิว สิ่งที่สนับสนุนข้อมูลตัวนี้ก็คือผลการทดสอบของชาวญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Dermatology. เมื่อปี 2005 พบว่าการทาครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 2% เป็นเวลา 4 สัปดาห์ – 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นของชั้น stratum corneum ได้ดีกว่า Petrolatum (Petroleum Jelly หรือ วาสลีนนั่นเอง) นอกจากนี้ยังลดการสูญเสียน้ำของผิว (Transepidermal water loss) ได้ด้วย ในขณะที่ Petrolatum ไม่สามารถทำได้

Niacinamide จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า Petrolatum ตรงที่ Niacinamide ไม่อุดตันผิวและไม่มีเนื้อเหนียวเหนอะหนะเหมือนกับ Petrolatum ผู้ใดที่รู้สึกว่าผิวขาดความชุ่มชื้นก็น่าจะหาผลิตภัณฑ์ที่มี Niacinamide มากกว่า 2% มาใช้นะขอรับ


(Source : Nicotinic acid/niacinamide and the skin., Journal of Cosmetic Dermatology, Volume 3, Number 2, April 2004 , pp. 88-93(6), Moisturizing effects of topical nicotinamide on atopic dry skin., International Journal of Dermatology. 44(3):197-202, March 2005 )

 

Niacinamide ช่วยรักษาสิวได้จริงหรือ?



ถ้าเป็นสิวอุดตันคงไม่น่าจะช่วยอะไรได้ แต่ถ้าเป็นสิวอักเสบล่ะก็ไม่แน่ เพราะมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นโดย State University of New York โดยใช้ 4% Niacinamide Gel เปรียบเทียบกับ 1% Clindamycin Gel ว่าตัวใดจะมีประสิทธิภาพในการลดสิวอักเสบ (Inflammatory Acne) ได้ดีกว่ากัน

หลังจากการทดสอบ 8 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า 4% Niacinamide Gel ให้ผลในการรักษาได้ถึง 82% ในขณะที่ 1% Clindamycin Gel ให้ผลการรักษาน้อยกว่าคือ 68%

Niacinamide ไม่ทำให้เชื้อดื้อยาเหมือนยากลุ่ม Antibiotic อย่าง Clindamycin และ Niacinamide ยังมีประโยชน์กับผิวในด้านอื่นๆ อีกด้วย Niacinamide จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า Clindamycin

อย่างไรก็ดี การทดสอบเพียงครั้งเดียวนี้ยังไม่สามารถทำให้เรามั่นใจได้ 100% ว่า Niacinamide จะมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวได้ดีจริง ๆ แต่ Niacinamide ก็ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากอยู่ดี


(Source : Topical nicotinamide compared with clindamycin gel in the treatment of inflammatory acne vulgaris., Department of Dermatology, State University of New York, College of Medicine, Brooklyn, USA)



Niacinamide ช่วยลดจุดด่างดำ ทำให้ผิวขาวขึ้นได้หรือไม่? และช่วยลดเลือนริ้วรอยได้อย่างที่โฆษณารึเปล่า?



ก็มีโอกาสเหมือนกันที่จะเป็นเช่นนั้น... แต่ก็ยังมั่นใจเต็มที่ไม่ได้ เพราะอะไรก็ต้องขออธิบายเพิ่มเติมสักหน่อย

ผลการทดลองที่ระบุว่า Niacinamide มีประสิทธิภาพในการปรับสีผิวลดเลือนจุดด่างดำและลดริ้วรอยนั้น มีบริษัท Procter & Gamble เป็นผู้ให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุน (แถมคนที่นำผลการทดลองมาตีพิมพ์ก็เป็นลูกจ้างของ Procter & Gamble ด้วยอีกต่างหาก) ซึ่งความน่าเชื่อถือของการทดลองนี้จึงยังคลุมเครืออยู่เนื่องจากบริษัท Procter & Gamble เป็นเจ้าของแบรนด์ Olay ที่ชู Niacinamide เป็นจุดขาย


ผลการทดลองที่ออกมาสองชิ้น ชิ้นแรกตีพิมพ์ใน Dermatologic Surgery เมื่อปี 2005 ระบุว่า การทา Niacinamide 5% ลงไปบนผิวเป็นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ให้ผลในการลดเลือนริ้วรอยจากความแห้งกร้าน ริ้วรอยลึกตื้นขึ้น ลดเลือนจุดด่างดำ เสริมความยืดหยุ่นของผิว

จุดบอดของการทดสอบนี้ก็คือการที่บริษัท P&G เป็นผู้ให้เงินทุน ผลที่ออกมาจึงขาดความน่าเชื่อถือไปบ้าง และความเข้มข้นของ Niacinamide ที่ผสมในผลิตภัณฑ์ P&G อย่าง Olay ก็ไมได้ระบุว่ามีความเข้มเท่าไหร่ จึงไม่สามารถแน่ใจว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ Olay จะให้ผลได้เหมือนกับการทดลองรึเปล่า

ผลการทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน British Journal of Dermatology ปี 2005 ทดสอบโดยใช้ครีมที่ผสมสารกันแดด + Niacinamide 2% ผลก็คือสามารถลดเลือนจุดด่างดำได้ นอกจากนี้การทดสอบโดยใช้โมเดลจำลองยังพบว่า Niacinamide ลดเลือนจุดด่างดำด้วยการขัดขวางไม่ให้ melanosome ผ่านไปถึงเซลล์ผิว (ซึ่งต่างจากสารไวท์เทนนิ่งอื่น ๆ เช่น Hydroquinone และ Vitamin C ที่ขัดขวางเอมไซม์ Tyrosinase ไม่ให้สร้างเมลานินขึ้นมาตั้งแต่ต้น)

จุดบอดของการทดสอบนี้ก็คือการที่บริษัท P&G เป็นผู้ให้เงินทุนอีกเช่นกัน และการทาครีมกันแดดเป็นประจำก็สามารถช่วยลดเลือนจุดด่างดำได้อยู่แล้ว Niacinamide 2% อาจจะไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยลดจุดด่างดำก็เป็นไปได้

สรุปคือ Niacinamide ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าจะเป็นสารไวท์เทนนิ่งอีกตัวหนึ่ง แต่คงต้องมีการทดสอบจากหน่วยงานอิสระอื่นมาเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของการทดสอบจาก P&G ส่วนเรื่องที่ Niacinamide จะช่วยลดเลือนริ้วรอยได้อย่างที่โฆษณานั้นยังคงคลุมเครือพอสมควร ต้องรอผลการทดสอบเพื่อยืนยันมากกว่านี้ในอนาคต

(Source : Niacinamide: A B Vitamin that Improves Aging Facial Skin Appearance., Dermatologic Surgery, Volume 31 Issue s1, Pages 860 – 866, The effect of niacinamide on reducing cutaneous pigmentation and suppression of melanosome transfer., British Journal of Dermatology, Volume 147, Number 1, July 2002 , pp. 20-31(12))


 

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ Niacinamide ที่ดีควรเป็นอย่างไร


ถ้าต้องการได้รับประโยชน์จาก Niacinamid อย่างเต็มที่ ควรเลือกชนิดที่ผสม Niacinamide มากกว่า 2 % ขึ้นไป (หรืออยู่อันดับที่ 2 – 4 ใน Ingredient List) ถ้าอยากให้ช่วยเรื่องสิวด้วยก็ต้องหาตัวที่มีความเข้มข้น 4% ขึ้นไป นอกจากนี้ก็ควรจะมีสารแอนติออกซิแดนท์และวิตามินตัวอื่นมาให้ด้วยก็ดี เพราะผิวเราควรได้รับสารบำรุงที่มีความหลากหลาย และต้องปราศจากสารก่อการระคายเคืองหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

บรรจุภัณฑ์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ถึงแม้ว่า Niacinamide จะเป็นวิตามินที่เสถียรมาก แต่สารแอนติออกซิแดนท์และวิตามินตัวอื่น ๆ ที่ใส่มาก็ควรได้รับการปกป้องจากแสงและออกซิเจนเป็นอย่างดี บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมยังช่วยลดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจก่ออันตรายกับผิวได้อีกด้วย





ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ



นี่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์บางส่วนที่กระผมเลือกมาเป็นตัวอย่างเนื่องจากมีคุณลักษณะที่ของผลิตภัณฑ์ที่ดีตรงตามมาตรฐานของปูเป้นั่นก็คือ

- มีปริมาณ Niacinamide ในระดับที่น่าประทับใจ

- บรรจุภัณฑ์เหมาะสม

- มีสารก่อการระคายเคืองต่ำ หรือแทบไม่มีเลย (บางตัวก็มีน้ำหอม บางตัวก็ไม่มีนะขอรับ)

- มีเนื้อค่อนข้างเบา เหมาะที่จะใช้เป็น Treatment และใช้ได้กับเกือบทุกสภาพผิว

ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Niacinamid มีอยู่เยอะแยะมากมาย แต่ตัวที่มีในปริมาณเข้มข้นมากจริง ๆ กลับมีตัวเลือกอยู่ไม่มากนัก แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายที่ไม่ได้อยู่ใน List ที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบ Ingredient List ด้วยตัวเองและเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม






ชื่อผลิตภัณฑ์ รีวิว และส่วนผสม เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา



Olay : Total Effect Anti-Aging Serum

เซรั่มเบสซิลิโคน + น้ำ ที่ลื่นผิวตัวนี้ให้ความชุ่มชื้นบางเบาและไม่ทิ้งความมันเยิ้มบนผิว เหมาะกับทุกสภาพผิว ส่วนผสมหลักคือ Niacinamide ซึ่งเป็นพระเอกของบทนี้ ตามมาด้วย Panthenol ให้ความชุ่มชื้น Tocopheryl Acetate ช่วยต้านอนุมูลอิสระ Camellia Sinensis Leaf Extract เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ลดความเสียหายจากรังสี UV และยังช่วยลดการระคายเคืองได้เหมือนกับ Allantoin

สูตรผสมที่นำมาให้ดูนี้เป็นสูตรของ USA ซึ่งสูตรที่ขายในไทยก็ใกล้เคียงกัน (แต่ทิ้งกล่องไปแล้ว) คงจะเหมาะกับผิว Sensitive กว่านี้ถ้าปราศจากน้ำหอม

ก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีราคาไม่แพงนัก ใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของได้

Ingredients :
Cyclopentasiloxane, Water, Glycerin, Polymethylsilsesquioxane, Niacinamide, Dimethicone, Dimethicone Crosspolymer, Panthenol, Butylene Glycol, Propylene Glycol, Tocopheryl Acetate, Camellia Sinensis Leaf Extract, Allantoin, Cetyl Ricinoleate, Bis-Peg/Ppg-14/14 Dimethicone, Peg-10 Dimethicone, Peg-10 Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Disodium Edta, Ethylparaben, Propylparaben, Methylparaben, Benzyl Alcohol, Fragrance


Olay : Regenerist Daily Regenerating Serum

พูดแบบง่าย ๆ แล้วนี่คือ Olay Total Effect Serum ที่เพิ่ม Peptide มาเป็นของตกแต่ง สูตรที่ขายใน USA นั้นปริมาณ Palmitoyl Pentapeptide-3 รวมถึงสารบำรุงตัวอื่นอย่าง Panthenol และ Camellia Sinensis Leaf Extract เข้มข้นกว่าของที่ขายในไทย ถ้าสามารถหาสูตรที่ขายที่อเมริกาหรืออังกฤษมาใช้ได้ก็จะดีกว่า

ลดเลือนริ้วรอยได้ไหม?... ปูเป้ว่ามันทำไม่ได้หรอกขอรับ แต่ถ้าไม่แพ้ส่วนผสมตัวใดในนี้เป็นพิเศษ...เซรั่มตัวนี้ก็ทำให้ผิวคุณแข็งแรงและดูดีขึ้นได้ เนื้อซิลิโคนนุ่มลื่นผิวดีก็มีโอกาสที่จะอุดตันผิวได้น้อย

โดยรวมแล้วก็เหมาะกับเกือบทุกสภาพผิว (อาจจะเว้นผิวแพ้ง่ายไปหน่อยตรงที่มันมีน้ำหอม)

Note : อันนี้ส่วนผสมของที่ขายในไทย

Ingredients :
Cyclopentasiloxane, Water, Glycerin, Polymethylsilsesquioxane, Niacinamide, PEG-10 Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Dimethicone Crosspolymer, Propylene Glycol, Butylene Glycol, Panthenol, Tocopheryl Acetate, Bis-PEG/PPG-14/14 Dimethicone, Benzyl Alcohol, PEG-10 Dimethicone, Cetyl Ricinoleate, Allantoin, Fragrance, Ethylparaben, Propylparaben, Disodium EDTA, Camellia Sinensis Leaf Extract, Peg-100 Stearate, Sodium Metabisulfite, Methylparaben, Palmitoyl Pentapeptide-3.


Note : อันนี้ส่วนผสมของที่ขายในอเมริกา

Ingredients:
Cyclopentasiloxane, Water, Glycerin, Polymethylsilsesquioxane, Niacinamide, Dimethicone, Dimethicone Crosspolymer, Panthenol, Butylene Glycol, Propylene Glycol, Palmitoyl Pentapeptide-3, Tocopheryl Acetate, Camellia Sinensis Leaf Extract, Allantoin, Cetyl Ricinoleate, Bis-Peg/Ppg-14/14 Dimethicone, Peg-100 Stearate, Peg-10 Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Disodium Edta, Sodium Metabisulfite, Ethylparaben, Propylparaben, Methylparaben, Benzyl Alcohol, Fragrance


Oriental Princess : Natural Intensive C Skin Boosting Serum

นี่คือผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ปูเป้ต้องเหลียวหลังกลับมามองแบรนด์ Oriental Princess เสียใหม่ เพราะมัน “เจ๋ง” จริง ๆ เรียกได้ว่าเป็นร่างแปลงของรุ่นพี่อย่าง Olay Total Effect Serum ก็ไม่ปาน จะบอกว่าก๊อปปี้ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะว่าเซรั่มเนื้อบางเบาตัวนี้นำหน้ารุ่นพี่ไปเสียแล้ว

เซรั่มเบสน้ำซึบซาบไวไม่ทิ้งความมันตัวนี้มีส่วนผสมของ Niacinamide แบบเข้มข้นสะใจ!!! (จนน่าจะเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์เป็น "Natural Intensive B3" แทน) ตามมาด้วยสารแอนติออกซิแดนท์อย่าง Alfalfa Extract ที่ยัดมาเยอะไม่แพ้กัน และแต่งแต้มส่วนที่เหลือด้วย วิตามินซีเสถียร วิตามินอี สารให้ความชุ่มชื้น กับสารลดความระคายเคือง โดยรวมแล้วเหมาะกับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะผิวมัน นี่สามารถใช้เป็นมอยซ์เจอไรเซอร์ไปในตัวได้เลย แต่ส่วนผสมของน้ำหอมอาจะทำให้ผิว sensitive คงต้องคิดให้ดีก่อนทดลองใช้

ของไทยทำใครว่าไม่ดี? ของถูกแล้วดีใครว่าไม่มี? ใครเถียงเอาเซรั่มขวดนี้ตบปากฉีกได้เลยขอรับ :P

Ingredients :
Water, Niacinamide, Isononyl Isononanoate, Medicago Sativa (Alfalfa) Extract, Glycerin, Polyacrylamide C13-14 Isoparaffin Laureth-7, Ammonium Acryloyldimethyl Taurate/ VP Copolymer, Ascorbyl Tetraisopalmitate, Simmondsia Chinensis (Jojoba) Oil, Methylparaben, Tocopheryl Acetate, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Bisabolol, Propylparaben, Disodium EDTA, Phenoxyethanol, BHT, BHA, Fragrance.


Oriental Princess : Natural Intensive C Repairing Night Serum

จากส่วนผสมบอกได้ว่ามันคือ Oriental Princess : Natural Intensive C Skin Boosting Serum ที่มีปริมาณ Niacinamide และ Alfalfa Extract น้อยกว่า แต่ให้ความชุ่มชื้นและมีปริสะทธิภาพในการเคลือบผิวมากกว่า ทางด้าน Retinol ปริมาณเล็กน้อยนี้ไม่น่าจะมีประโยชน์อะไรกับผิวสักเท่าไหร่

จริงๆ แล้วใช้ Natural Intensive C Skin Boosting Serum ตัวเดียวก็พอแล้วล่ะขอรับ เว้นแต่ว่าคุณต้องการความชุ่มชื้นเพิ่มเติมเป็นพิเศษเท่านั้น

เนื้อผลิตภัณฑ์มันกว่า Natural Intensive C Skin Boosting Serum เล็กน้อย ก็เหมาะกับผิวแห้งไปจนถึงผิวธรรมดา ผิวผสมก็พอไหวนะ...

Ingredients :
Water, Glycerin, Niacinamide, Polyacrylamide C13-14 Isoparaffin Laureth-7, Propylene Glycol, Dicaprylyl Carbonate, Ascorbyl Glucoside, Tocopheryl Acetate, Caprylic / Capric Triglyceride, Triethanolamine, Medicago Sativa (Alfalfa) Extract, Methyl Gluceth-10 , Simmondsia Chinensis (Jojoba) Seed Oil, Opuntia Ficus Indica Flower Extract, Ammonium Acryloyldimethyl Taurate/ VP Copolymer, Phenoxyethanol, Methylparaben, Bisabolol, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Retinol, Polysorbate 20, Propylparaben, Disodium EDTA, BHT, BHA, Fragrance.


DDF : Discoloration Reversal-Pod

Price : $70 / 28 Pods


DDF เป็นแบรนด์ในเครือ P&G เช่นเดียวกับ Olay ส่วนผสมหลัก ๆ ก็คล้ายกับ Total Effect หรือ Regenerist นั่นเอง (Niacinamide + Panthenol + Tocopheryl Acetate + Camellia Sinensis Leaf Extract)

ในเวอร์ชั่นของ DDF นี้มี Acetyl Glucosamine + Undecylenoyl Phenylalanine โดยขอมูลใน http://www.pgdermatology.com ที่เป็นเวปไซท์ของ P&G เองบอกไว้ว่าสามารถยับยั้งการผลิตเมลานินได้ แต่การทดสอบนี้ทำในหลอดทดลอง (In-Vitro) ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้แน่นอนว่าจะให้ผลเช่นเดียวกับเมื่อทาลงบนผิวมนุษย์จริง ๆ (แถม P&G ก็เป็นคนทดสอบเองด้วยอีกต่างหาก แล้วใครจะบอกว่าของตัวเองไม่ดีล่ะ)

ถึงเรื่องการลดเลือนจุดด่างดำจะยังเป็นที่กังขา แต่ Acetyl Glucosamine ก็เป็นสารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีสารแอนติออกซิแดนท์ สารต้านการระคายเคืองอีกหลายตัว เนื้อเซรั่มก็เป็นเบสน้ำและซิลิโคนที่ให้ความรู้สึกดี โดยบรรจุแยกเป็น Pod 28 ชิ้น (ใช้ 1 Pod ต่อ 1 ครั้ง) มาพร้อมกับ Exfoliating Pads ทีเหมือนฟองน้ำ

จัดได้ว่าเป็น Treatment ที่เหมาะกับทุกสภาพผิวโดยมี Niacinamide เป็นตัวเด่น แต่ราคาที่แพงโหดก็ทำให้คิดว่า “ใช้ Olay แทนจะดีกว่าไหมถ้าต้องการแค่ Niacinamide”

Ingredients :
Water, Cyclopentasiloxane, Polyethylene, Niacinamide, Glycerin, Dimethicone Crosspolymer, Acetyl Glucosamine, Isopropyl Lauroyl Sarcosinate, Polyacrylamide, Panthenol, Undecylenoyl Phenylalanine, Polysorbate 20, C13-14 Isoparaffin, Tocopheryl Acetate, Laureth-4, Laureth-7, Tocopherol, Caprylic/Capric Triglyceride, Macadamia Ternifolia Seed Oil, Retinyl Palmitate, Zea Mays (Corn) Oil, Beta-Carotene, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil, Ubiquinone, Palmitic Acid, Thioctic Acid, Mannitol, Glutamine, Aminopropyl Ascorbyl Phosphate, Acetyl Cysteine, Propyl Gallate, Ascorbic Acid, Dimethyl Sulfone, Camellia Sinensis Leaf Extract, Pyridoxine Hcl, Cyanocobalamin, Spirulina Platensis Extract, Glycyrrhiza Glabra (Licorice) Root Extract, Triethanolamine, Disodium Edta, Dmdm Hydantoin, Iodopropynyl Butylcarbamate, Butylene Glycol


SK-II : Facial Clear Solution

Price : $100.00 / 100 ml.

ประกอบไปด้วยน้ำยีสต์บูด (Pitera) + Niacinamide + Panthenol + Algae Extract…

นอกจาก Pitera แล้วไม่มีอะไรที่ Olay Total Effect Serum ให้คุณไม่ได้ แต่ถ้าคุณต้องการมอยซ์เจอไรเซอร์ที่มีเนื้องบางเบา ปราศจากน้ำหอม มี Niacinamid เยอะ และคุณรู้สึกว่า Pitera เป็นส่วนผสมสุดวิเศษ นี่ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีราคาแพงโหดใช่ย่อย

อาจจะไม่เหมาะกับผิวมันเท่าไหร่ เพราะมี Plant Oil แทรกมาด้วย

Ingredients :
Water, Saccharomycopsis Ferment Filtrate (Pitera), Butylene Glycol, Glycerin, Niacinamide, Dimethicone, Panthenol, Laminaria Saccharina Extract, Limnanthes Alba (Meadowfoam) Seed Oil, Dimethiconol, Sodium Hyaluronate, Cetyl Ethylhexanoate, Propylene Glycol, Acrylate/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Sodium Polyacrylate, Xanthan Gum, Carbomer, Polyglyceryl-3 Diisostearate, Ceteareth-30, Ceteareth-20, Ceteareth-12, Peg-20 Hydrogenated Castor Oil, Pvm/Ma Copolymer, Aminomethyl Propanol, Benzyl Alcohol, Disodium Edta, Sodium Benzoate, Methylparaben, Propylparaben


Paula’s Choice : Skin Balancing Toner

Price : $14.95 / 177 ml.

โทนเนอร์ตัวนี้มี Niacinamide มาเป็นอันดับสี่ แต่เนื่องจากธรรมชาติของโทนเนอร์จะประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ ความเข้มข้นของ Niacinamide ในนี้ก็ไม่น่าจะเกิน 2 % แต่ก็ยังถือว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มี Niacinamide เยอะในระดับหนึ่งเลยสามารถใช้เป็น Treatment ได้เหมือนกันแหล่ะ นอกจากนี้ยังมีสารต้านการระคายเคือง Water–binding และ Lipid อีกหลายตัว ที่สำคัญคือเนื้อผลิตภัณฑ์ไม่ทำให้หน้าเหนียวเหนอะหนะจึงเหมาะกับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวมันหรือเป็นสิวง่าย

Ingredients :
Water, Glycerin, Butylene Glycol (water-binding agents), Niacinamide (vitamin B3/cell-communcating ingredient), Adenosine Triphosphate (cell-communicating ingredient/skin conditioning agent), Anthemis Nobilis (Chamomile) Flower Extract (anti-irritant), Arctium Lappa (Burdock) Root Extract (antioxidant), Hydrolyzed Jojoba Esters, Hydrolyzed Vegetable Protein (skin conditioning agents), Sodium PCA, Panthenol, Sodium Hyaluronate (water-binding agents), Sodium Chondroitin Sulfate (skin conditioning agent), Ceramide 3, Ceramide 6 II, Ceramide 1, Phytosphingosine, Cholesterol (lipid-based water-binding agents), Tetrahexyldecyl Ascorbate (vitamin C/antioxidant), Oleth-10, DEA-Oleth-10 Phosphate, Sodium Lauroyl Lactylate (emulsifiers), Polysorbate-20 (skin conditioning agent), Caprylyl Glycol, Hexylene Glycol (preservatives), Sodium Citrate (pH adjuster), Carbomer (gel-based thickener), Xanthan Gum (thickener), Trisodium EDTA (chelating agent), Phenoxyethanol (preservative).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น