วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Skincare Basic 9.2

Vitamin A
จากที่บอกไปในบทก่อนแล้วว่าสารกลุ่ม Vitamin A นอกจากจะเป็นสารแอนติออกซิแดนท์แล้ว ยังมีประโยชน์ด้านอื่นที่น่าสนใจอีกมากซึ่งต้องมาศึกษาเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องลึกกันต่อไป

Retinol คงเป็นชื่อที่เราได้ยินกันบ่อยมากที่สุด และก็มีความสับสนคลุมเครือมากด้วยเหมือนกัน สับสนมากจนกระทั่งมีคนเข้าใจว่า Retinol เป็นสารกลุ่มวิตามินเอที่มีประสิทธิภาพสูงสุด... ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

กระผมจึงได้ทำการรวบรวมและสรุปข้อมูลสำคัญเพื่อให้ทุกท่านได้อ่านและทำความเข้าใจกันมากขึ้น

Retinoid คืออะไร?


Retinoid เป็นชื่อกว้าง ๆ ของ “สารกลุ่มกรดวิตามินเอ” หรือ “All Trans-Retinoic Acid” สารกลุ่มนี้ได้แก่ Tretinoin (Retin-A, Renova), Isotretinoin (Isotrex), Tazarotene (Tazorac) และ Adapalene (Differin)

สารกลุ่ม Retinoid นี้ทำงานโดยการกระตุ้น Retinoid Receptors ในเซลล์ของเรา เพื่อเสริมกระบวนการ Turnover ของเซลล์ กระตุ้นการสร้างคอลาเจนและอีลาสติน ทำให้เซลล์ผิวทำงานเป็นปกติ ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาสิวและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแสงแดด

สารกลุ่ม Retinoid มีประสิทธิภาพมากก็จริง แต่ในทางกลับกันมันก็ก่อผลข้างเคียงและอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ได้หากใช้อย่างไม่ถูกวิธี นี่เป็นเหตุผลให้สารกลุ่ม Retinoid ถูกขึ้นทะเบียบเป็น “ยา” และต้องจ่ายให้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่สามารถผสมใน “เครื่องสำอาง” ได้




แล้ว Vitamin A ที่ใส่ในเครื่องสำอางมีประสิทธิภาพเทียบเท่า Retinoid รึเปล่า?
 
 





สารกลุ่ม Vitamin A ที่พบบ่อยในเครื่องสำอางมีอยู่สามตัวคือ Retinyl palmitate, Retinol, Retinaldehyde (Retinal) ซึ่งผิวไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง จะต้องผ่านกระบวนการแตกตัวเพื่อกลายเป็น Retinoic Acid (Tretinoin) เสียก่อน ผิวจึงจะนำไปใช้ได้

แต่ไม่ใช่สารในกลุ่มวิตามินเอทั้งสามตัวจะมีประสิทธิภาพเท่ากันหมด เพราะ Retinyl palmitate จะต้องแตกตัวกลายเป็น Retinol ก่อนแล้วค่อยแตกตัวอีกทีเป็น Retinaldehyde และสุดท้ายจึงแตกตัวเป็น Retinoic acid ผิวถึงนำไปใช้ได้ตามผังข้างล่างนี้


Retinyl palmitate --> Retinol --> Retinaldehyde --> Retinoic acid (Retinoid)


ดังนั้นถ้าเราทาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Retinyl palmitate ลงไปบนผิว มันต้องแตกตัวถึง 3 ครั้งกว่าผิวจะนำไปใช้ได้ และไม่มีผลการทดสอบใดสามารถยืนยันได้ว่า Retinyl Palmitate จะมีประโยชน์กับผิวในด้านอื่นนอกจากเป็นสาร Antioxidant

Retinol กับ Retinaldehyde ต้องผ่านการแตกตัวแค่ 2 และ 1 ขั้นตอนตามลำดับ จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า Retinyl palmitate นอกจากนี้ Retinol กับ Retinaldehyde ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถกระตุ้นการสร้างคอลาเจนได้จริง (ทดสอบโดยใช้ Retinol 1% และ Retinaldehyde 0.5%)

แต่การทา “เครื่องสำอาง” ที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde 0.5% ลงไปบนผิว กว่ามันจะแตกตัวจนกลายเป็น Tretinoin ที่ผิวนำไปใช้ได้ ก็คงเหลืออยู่ในปริมาณไม่มากนัก ซึ่งไม่มีทางเทียบกับการทา “ยา” Tretinoin 0.5% ลงไปบนผิวโดยตรงอย่างแน่นอน

สรุปคือ “เครื่องสำอาง” ไม่สามารถมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า “ยา” ได้นั่นเอง

(Reference : Varani J, Warner RL, Gharaee-Kermani M, Phan SH, Kang S, Chung JH, et al. Vitamin A antagonizes decreased cell growth and elevated collagen-degrading matrix metalloproteinase and stimulates collagen accumulation in naturally aged human skin. J Invest Dermatol 2000;114:480-486., Creidi P, Vienne MP, Ochonisky S, Lauze C, Turlier V, Lagarde JM, et al. Profilometric evaluation of photodamage after topical retinaldehyde and retinoic acid treatment. J Am Acad Dermatol 1998;39:960-965.)


ในเมื่อ Vitamin A ในเครื่องสำอางมีประสิทธิภาพน้อยกว่า... ทำไมไม่เลือกใช้ยากลุ่ม Retinoid ไปเลยล่ะ?


ถ้าคุณสามารถใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้โดยไม่มีปัญหาอะไรก็ถือว่าโชคดีไป แต่ไม่ใช่ทุกคนสามารถทนกับการ Treatment ด้วยยากลุ่ม Retinoid ได้ เพราะมีโอกาสแพ้หรือระคายเคืองได้มากพอดู และในต่างประเทศ การซื้อยากลุ่ม Retinoid มาใช้ก็ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น (ไม่เหมือนกับเมืองไทย ที่มีเงินก็ไปซื้อตามร้านขายยาด้วยตนเองได้เลย) เครื่องสำอางที่ผสม Retinol กับ Retinaldehyde จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้

(เครื่องสำอางที่ผสม Retinol และ Retinaldehyde ในความเข้มข้นที่เหมาะสม มักมีราคาแพงกว่ายา Retinoid ใครที่ใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้ก็ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเครื่องสำอางแพง ๆ หรอกนะขอรับ)



Retinol กับ Retinaldehyde ในเครื่องสำอางไม่ก่อการระคายเคืองจริงหรือเปล่า?


ไม่จริงเลย... เพราะทั้ง Retinol และ Retinaldehyde ที่มีความเข้มข้นมากพอจะสามารถก่อให้เกิดการระคายเคือง ผิวลอก แดง แห้ง ได้เหมือนกัน (แต่ก็น้อยกว่ายากรดวิตามินเอ) บริษัทเครื่องสำอางส่วนใหญ่จึง “โกง” โดยการโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของเขามี Retinol เข้มข้น แต่จริงแล้วกลับใส่ไปน้อยนิดเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการระคายเคือง




ลักษณะของผลิตภัณฑ์ Retinol และ Retinaldehyde ที่ดีควรเป็นอย่างไร


บรรจุภัณฑ์เหมาะสม


บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าสารกลุ่มนี้เสื่อสลายได้ง่ายเมื่อโดนแสงและอากาศ ให้เลือกบรรจุภัณฑ์แบบขวดปั้มทึบแสง (แบบปั้มสุญญากาศจะดีมาก) และหลอดบีบทึบแสง (หลอดอลูมิเนียมปลายแคบจะดีที่สุด)

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde ที่บรรจุในกระปุกหรือบรรจุภัณฑ์แบบใส โปร่งแสง จะเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

ความเข้มข้นพอเหมาะ


ความเข้มข้นสูงสุดของ Retinol และ Retinaldehyde ที่สามารถใส่ในเครื่องสำอางได้คือ 1% แต่เครื่องสำอางทั่วไปมักใส่สารกลุ่มวิตามิน A มาในปริมาณน้อยมากซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการเป็นแอนติออกซิแดนท์ ถ้าต้องการได้รับประโยชน์จาก Retinol และ Retinaldehyde อย่างเต็มที่ ควรเลือกแบบที่ระบุความเข้มข้นเอาไว้ด้วย โดยความเข้มข้นของ Retinol ที่แนะนำก็คือ0.5% ส่วน 1% ที่เป็นความเข้มข้นสูงสุดนั้นก็ก่อการระคายเคืองได้ง่าย ผู้ที่เริ่มใช้ควรเริ่มจากความเข้มข้นต่ำก่อน จึงค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผสม Retinaldehyde (Retinal) จะหายากหน่อย แต่จากการหาข้อมูลก็พบผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งบอกความเข้มข้น 0.1% ซึ่งได้แสดงในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านล่างนี้

ปราศจากสารก่อการระคายเคือง


สารกลุ่มวิตามินเอที่มีความเข้มข้นเหมาะสมอาจก่อการระคายเคืองได้อยู่แล้ว เราคงไม่อยากเพิ่มสารก่อการระคายเคืองลงไปเพื่อทำให้ผิวเราย่ำแย่อย่างแน่นอน



ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ


นี่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์บางส่วนที่กระผมเลือกมาเป็นตัวอย่างเนื่องจากมีคุณลักษณะที่ของผลิตภัณฑ์ที่ดีตรงตามมาตรฐานของปูเป้นั่นก็คือ

- มีปริมาณ Retinol หรือ Retinaldehyde ในระดับที่น่าประทับใจ

- บรรจุภัณฑ์เหมาะสม สามารถเก็บรักษา Retinol หรือ Retinaldehyde ให้คงทนได้นาน

- มีสารก่อการระคายเคืองต่ำ หรือแทบไม่มีเลย (บางตัวก็มีน้ำหอม บางตัวก็ไม่มีนะขอรับ)

- ผลิตภัณฑ์ที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde ส่วนใหญ่จะมีเนื้อค่อนข้างเข้มข้นเหมาะกับผิวแห้งเสียเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง SkinCeuticals : Retinol 0.5 Refining Night Cream ที่เป็นเบสน้ำ + ซิลิโคน ที่พอจะใช้ได้กับทุกสภาพผิว

ผลิตภัณฑ์ Retinol หรือ Retinaldehyde ที่น่าสนใจหลายตัวไม่มีขายในไทยนะขอรับ กระผมขออภัยที่ไม่สามารถหาผลิตภัณฑ์ที่มีขายในไทยมานำเสนอมากกว่านี้ได้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องฐานข้อมูลส่วนผสมและเวปไซท์เครื่องสำอางในประเทศไทยแทบจะไม่มีการบอกส่วนผสมเอาไว้เลย

แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายที่ไม่ได้อยู่ใน List ที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบ Ingredient List ด้วยตัวเองและเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม






ชื่อผลิตภัณฑ์ รีวิว และส่วนผสม เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา


SkinCeuticals : Retinol 0.5 Refining Night Cream

Price : $ 42 / 30 ml.

SkinCeuticals ถูก L’Oreal ซื้อไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และก็ถือเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาด เพราะแบรนด์นี้มีสินค้าที่น่าสนใจหลายตัวทีเดียว

Retinol 0.5 Refining Night Cream มีส่วนผสมของ Retinol 0.5% มาในเบสครีมเบสน้ำและซิลิโคนที่เหมาะจะเป็น treatment ให้กับทุกสภาพผิว (ผิวมันก็น่าจะใช้ได้เพราะไม่มี Emollients กับ Thickener ที่น่าจะเป็นปัญหา) พ่วงมาด้วย Natural Moisturizing Factors ตัวเด็ด ๆ อย่าง Lecithin และ Ceramide ส่วน Phytosphingosine ทำหน้าที่เป็น Cell-Signaling Substance ให้เซลล์ผิวทำงานเป็นปกติ สารต้านการระคายเคืองที่พอจะมีประโยชน์จริง ๆ คงมีแค่ Bisabolol บรรจุภัณฑ์เป็นขวดปั้มทึบแสงจึงสามารถรักษา Retinol ให้เสถียรพร้อมใช้งานได้ยาวนาน...

ข้อเสียรึขอรับ?

ราคาของผลิตภัณฑ์ตัวนี้แพงกว่ายา Retinoid อยู่หลายเท่า แต่ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยา Retinoid ได้ และถ้าคุณต้องการผลิตภัณฑ์ที่แรงกว่านี้ SkinCeuticals ก็ยังมีแบบ Retinol 1% ให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย

Ingredients :
Water, Cyclomethicone, Cyclopentasiloxane, Dimethicone Crosspolymer, Dimethicone, Dimethiconol, Laureth-4, Laureth-23, Hydrogenated Lecithin, Butyrospermum Parkii (Shea Butter), Caprylic/Capric Triglyceride, Ceramide 2, Ceramide 3, Phytosphingosine, Cholesterol, Hypericum Perforatum Extract, Propylene Glycol, Allyl Methacrylate Crosspolymer, Polysorbate 20, Retinol, BHT, Sodium Polyacrylate, Dimethicone Peg-7 Isostearate, Glycerin, Polyacrylamide, C13-14 Isoparaffin, Laureth-7, Bisabolol, Rosa Canina Leaf Extract, Silybum Marianum Fruit Extract, Passiflora Incarnata Flower Extract, Chamomilla Recutita (Matricaria) Leaf Extract, Citric Acid, Methylisothiazolinone, Tetrasodium Edta

Neutrogena : Healthy Skin Anti-Wrinkle Cream

Price : $13.99 / 50 ml.

ของถูกและดีมีในโลก (แต่ดันไม่มีขายในไทยอีกแล้ว) Healthy Skin Anti-Wrinkle Cream เป็นมีเนื้อครีมเข้มข้นเหมาะกับผิวแห้งถึงผิวธรรมดา ปริมาณ Retinol ก็น่าประทับใจ มีสารสกัดชาเขียวเป็นแอนติออกซิแดนท์และต้านการระคายเคือง Panthenol เพิ่มความชุ่มชื้น Tocopheryl Acetate เป็นแอนติออกซิแดนท์ ปราศจากสีและน้ำหอม ที่เลิศมากคือบรรจุภัณฑ์แบบหลอดอลูมิเนียมทึบแสงที่ไม่คืนรูปซึ่งเก็บรักษา Retinol ได้เป็นอย่างดี

ผลิตภัณฑ์นี้สามารถทำให้ผิว Healthy ได้สมชื่อ แต่ถ้าจะให้ Anti-Wrinkle ยับยั้งการเกิดริ้วรอยได้นี่คงจะเป็นการฝันที่เกินเลยไปหน่อย

Ingredients :
Water, C12-15 Alkyl Benzoate, Glycerin, Cetyl Alcohol, Cetearyl Alcohol, Ethylhexyl Hydroxystearate, Dimethicone, Camellia Oleifera Extract, Retinol, Panthenol, Disodium EDTA, Tocopherol, Cetearyl Glucoside, Tocopheryl Acetate, Polysorbate 20, Triethanolamine, Methylparaben, Propylparaben, Butylene Glycol, Diazolidinyl Urea, BHT, Carbomer

ROC : Retin-Ox Multi-Correxion Day and Night

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่ได้ให้คุณแค่ Retinol เท่านั้น เพราะมีทั้งวิตามินซี (แอนติออกซิแดนท์) สารให้ความชุ่มชื้น (Glycerin + Panthenol) และสารต้านการระคายเคือง (Bisabolol) มาในเบสโลชั่นที่เหมาะกับผิวแห้งถึงผิวธรรมดา (แต่ผิวผสมที่ไม่เป็นสิวง่ายก็น่าจะพอไหวอยู่นะ ตบแป้งฝุ่นก็กลบความมันได้แล้ว) บรรจุภัณฑ์แบบหลอดบีบทึบแสงก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว โดยรวมก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมดีมากตัวหนึ่ง แต่จะดีกว่านี้ปราศจากน้ำหอม

จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่าพอใช้ไปสักประมาณสองเดือนเนื้อโลชั่นมันจะเปลี่ยนสี (คงเพราะวิตามินซีมัน Oxidize) ก็คงต้องใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำทุกวัน เพื่อที่มันจะได้หมดก่อนที่วิตามินจะเสื่อม

Ingredients :
Aqua, Isononyl Isononanoate, Glycerin, Steareth-2, Ascorbic Acid, Dimethicone, Cetyl Palmitate, Peg-8, Sorbitan Stearate, Butylene Glycol, Cetyl Alcohol, Steareth-21, Cyclopentasiloxane, Panthenol, Copper Gluconate, Magnesium Aspartate, Zinc Gluconate, Bisabolol, Retinol, Butyrospermum Parkii, Lactoferrin, Caprylyl Glycol, Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Hydroxyethyl Acrylate/Sodium Acryloyldimethyl Taurate Copolymer, Squalane, Sucrose Cocoate, Xanthan Gum, Polysorbate 60, Polysorbate 20, Sodium Hydroxide, Disodium Edta, Tocopherol, Bht, Bha, Chlorhexidine Digluconate, Phenoxyethanol, Methylparaben, Propylparaben, Potassium Sorbate, Parfum

Prescriptives : Skin Renewal Cream

Price : $ 60 / 30 ml.

อยากให้ Thai ELCA พิจารณาเอา Prescriptives กลับมาทำตลาดในไทยใหม่จริง ๆ เพราะเท่าที่ลองหาข้อมูลดู แบรนด์นี้มีผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมเยี่ยม ๆ หลายตัวเหมือนกัน ซึ่ง Skin Renewal Cream ก็เป็นหนึ่งในนั้น

ถึงราคาอาจจะแพงไปสักหน่อย แต่ครีมเข้มข้นหลอดนี้ก็มีของแถมอื่น ๆ นอกจาก Retinol อยู่มากมายเช่นสารสกัดจากพืชหลายตัวที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์และต้านการระคายเคือง รวมถึง Palmitoyl Oligopeptide ที่เป็น Cell-Signaling Substance สูตรผสมปราศจากสีและน้ำหอม อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

ขอติเล็กน้อยเกี่ยวกับ Clary Extract ที่มีองค์ประกอบของ Sclareolide ซึ่งเป็น Fragrance Component ที่อาจก่อการระคายเคืองได้ถ้าใส่มาเป็นลำดับต้น ๆ ของ Ingredient List แต่ดูแล้วในปริมาณน้อยแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรให้ต้องห่วง ถึงกระนั้น Clary Extract ก็ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าจะมีประโยชน์ในแง่ใดกับผิว

Ingredients :
Water, Cyclopentasiloxane, Polyethylene, Isopentyldiol, Polysilicone-11, Acrylamide/Sodium Acryloyldimethyltaurate Copolymer, Isopropyl Jojobate, Yeast Extract, Palmitoyl Oligopeptide, Glycine Soja (Soybean) Protein, Retinol, Sodium Rna, Triticum Vulgare (Wheat) Flour Lipids, Sigesbeckia Orientalis (St. Paul's Wort) Extract, Salvia Sclarea (Clary) Extract, Triticum Vulgare (Wheat) Germ Extract, Hordeum Vulgare (Barley) Extract, Morus Nigra (Mulberry) Root Extract, Scutellaria Baicalensis Extract, Vitis Vinifera (Grape) Fruit Extract, Sodium Hyaluronate, Pantethine, Tocopheryl Acetate, Glycine, Squalane, Glycerin, Jojoba Alcohol, Glyceryl Polymethacrylate, Propylene Glycol Alginate, Anthemis Nobilis (Chamomile), Propylene Glycol, Chamomilla Recutita (Matricaria), Acacia Senegal, Isohexadecane, Peg/Ppg-20/20 Dimethicone, Disodium Distyrylbiphenyl Disulfonate, Sodium Chloride, Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Peg-8, Polysorbate 40, Polysorbate 80, Polysorbate 20, Tromethamine, Carbomer, Phenoxyethanol, Methylparaben

SkinMedica : Retinol Complex

Price : $50 / 30 ml.

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีวิตามินเอมาให้ถึง 3 รูปแบบ และรูปแบบที่ดีที่สุดในนี้ก็คือ Retinol นอกจากนี้ก็มีวิตามินอีเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ส่วน Willowherb, Green Tea, Bisabolol ช่วยต้านการระคายเคือง อยู่ในเนื้อครีมที่อุดมไปด้วย Emollients จึงน่าจะเหมาะกับผิวแห้งถึงผิวธรรมดา ปราศจากสีและน้ำหอม บรรจุภัณฑ์เหมาะสม

น่าเสียดายที่หาซื้อในไทยไม่ได้ขอรับ :P

Ingredients :
Water, Cetyl Ethylhexanoate, Cetearyl Alcohol, Cetyl Phosphate, Retinyl Palmitate, Retinyl Acetate, Retinol, Oryza Sativa (Rice) Bran Extract (Tocotrienol), Tocopheryl Acetate, Tocopheryl, Epilobium Angustifolium (Canadian Willowherb) Extract, Camellia Oleifera (Green Tea) Extract, Bisabolol, Phytantriol, Sodium Polyaspartate, Glycine Soja (Soybean) Oil, Cyclomethicone, PEG/PPG-18/18 Dimethicone, Steareth-2,Caprylic/Capric Triglyceride, Allyl Methacrylates Crosspolymer, Butylene Glycol, Aminomethyl Propanol, Carbomer, Phenoxyethanol, Isobutylparaben, Butylparaben, Ethylparaben, Methylparaben, Propylparaben, Disodium EDTA

Eau Thermale Avene : Retrinal Cream 0.1%

Price : $63.95 / 30 ml.

ส่วนผสมค่อนข้าง Basic มาก เพราะไม่มีอะไรมากไปกว่าเบสครีม + Retinal (Retinaldehyde) + สี + สารกันเสีย แต่ก็ถือว่าเป็นผลิภัณฑ์ที่น่าสนใจถ้าคุณกำลังตามหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Retinaldehyde

Retrinal Cream 0.1% หาซื้อตามท้องตลาดทั่วไปไม่ได้เนื่องจากเขาทำการตลาดเอาไว้ว่าต้องจ่ายให้โดยแพทย์เท่านั้น (ไร้สาระเนอะ...) และตัวนี้ไม่มีขายในไทยด้วยขอรับ

Ingredients :
Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Mineral Oil (Parafinum Liquidum), Glyceryl Stearate, PEG-100 Stearate, Squalane, Propylene Glycol, Glycol Montanate, PEG-40 Hydrogenated Castor Oil, BHT, Butylparaben, Carbomer, Disodium EDTA, Phenoxyethanol, Prolylparaben, Red 33 (CI 17200), Retinal, Triethanolamine

Philosophy : Help Me

Price : $45 / 30 ml.

นี่เป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่งสำหรับผิวที่แห้งมากกกกกกกกกก เพราะมีส่วนผสมของ wax อยู่เยอะทีเดียว ผิวประเภทอื่นโดยเฉพาะผิวมันหรือเป็นสิวง่ายโปรดอย่าได้แหยม เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน....

บรรจุภัณฑ์แบบหลอดอลูมิเนียมนี้ก็ดีสำหรับการเก็บรักษา Retinol และการที่ไม่ผสมน้ำหอมมาด้วยทำให้มันอ่อนโยนขึ้นในระดับหนึ่ง แต่มันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า Retinol กับสารแอนติออกซิแดนท์อีกนิดหน่อย... กับราคาขนาดนี้คุณสามารถซื้อ Retin-A มาใช้ได้ประมาณชาติเศษ และยังมีประสิทธิภาพกว่าด้วย (แต่ก็ระคายเคืองได้ง่ายด้วยแหล่ะ)

Ingredients :
Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Emulsifying Wax, Glycerin, C10-30 Cholesterol/Lanosterol Esters, Cetyl Ricinoleate, Cetyl Alcohol, Dimethicone, Benzyl Alcohol, Cyclomethicone, Retinol, Tocopherol Acetate, Ascorbyl Palmitate, Acrylates Copolymer, Stearic Acid, Peg-10 Soya Sterol, Phenoxyethanol, Magnesium Aluminum Silicate, Methylparaben, Triethanolamine, Disodium Edta, Bisabolol, Bht

Alpha Hydrox : Retinol Night ResQ

Price : $14.99 / 30 ml.

มันคือร่างโคลนนิ่งของ Philosophy : Help Me เพราะส่วนผสมหลักนั้นเกือบเหมือนกันหมดเลย บรรจุภัณฑ์ก็เป็นหลอดอลูมิเนียมเหมือนกัน ปริมาณเท่ากัน แต่ราคาถูกกว่า 3 เท่า

ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ประหยัดกว่าสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งมากและเป็นสิวได้ยาก

Ingredients :
Water, Caprylic/Capric Triglyceride, Emulsifying Wax, Glycerin, C10-30 Cholesterol/Lanosterol Esters, Cetyl Ricinoleate, Cetyl Alcohol, Dimethicone, Benzyl Alcohol, Cyclomethicone, Retinol, Tocopherol Acetate (Vitamin E), Ascorbyl Palmitate (Vitamin C), Acrylates Copolymer, Bisabolol, Peg-10 Soya Sterol, Magnesium Aluminum Silicate, Stearic Acid, Methylparaben, Phenoxyethanol, Bht, Disodium Edta, Propyl Gallate, Polysorbate 20, Triethanolamine
 

จากข้อมูลที่ได้นำเสนอมา ทุกท่านคงจะทราบแล้วว่า ถ้าสามารถใช้ยา Retinoid ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินแพงเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Retinol หรือ Retinaldehyde ราคาแพงมาใช้ให้กระเป๋าฉีกเล่น เพราะยากลุ่ม Retinoid มีราคาเริ่มต้นแค่เพียง 200 - 300 บาท แพงสุดก็ไม่เกิน 850 บาท

แต่หากไม่สามารถใช้ยากลุ่ม Retinoid ได้ เครื่องสำอางที่ผสม Retinol หรือ Retinaldehyde ก็เป็นทางเลือกที่ควรเก็บไว้พิจารณา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น